Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"แท็กซี่ (มิเตอร์) "ป้าย"ไม่มีราคา" แต่ทำไมต้นทุนถึงได้แพงนัก ?!!?             
โดย ไชยยันต์ ปรัตถพงศ์
 

   
related stories

"แท็กซี่ยุคเสรีวัดกันที่สายป่าน"
"หลายแง่หลายมุม ลูกเล่น "แท็กซี่มิเตอร์"

   
search resources

Transportation




แท็กซี่มิเตอร์หลากสีสันบนท้องถนนของกรุงเทพวันนี้ ทำให้หลาย ๆ คนนึกถึง "รถของเล่นเด็ก" ตามห้างสรรพสินค้าที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเน้นความสวยงานสะดุดตาเพื่อล่อใจเด็ก ๆ

แต่สีสันของแท็กซี่มิเตอร์ที่เหมือน "รถของเล่นเด็ก" กำลังล่อตาล่อใจให้มีนายทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามาลงทุนกันมากขึ้น เขาเหล่านั้น ทำอะไรกันบ้างกับโอกาสที่เปิดกว้างในครั้งนี้

รัฐบาลเปิดโอกาสให้กับทุกคนเข้ามาลงทุนในธุรกิจแท็กซี่ได้อย่างเสรีมีทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่เดินสู่ธุรกิจแท็กซี่มิเตอร์ ทั้งในนามบุคคลธรรมดาเป็นทะเบียน "5ท" และในนามนิติบุคคล ทะเบียน "6ท"

ซึ่งจุดประสงค์สำคัญของนโยบายเสรีครั้งนี้ คือ 1 รัฐบาลต้องการให้ราคาค่าโดยสารถูกลง และ 2 ต้องการให้คนขับมีเครื่องมือหากินคือรถเป็นของตนเอง และ3 ยกระดับการบริการที่ดีขึ้น ด้วยรถใหม่ ๆ

ในประเด็นที่ 1 ถือว่าประสบความสำเร็จเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนประเด็นที่ 2 และ 3 ยังถือว่าไม่เป็นไปตามความคาดหมาย

การลงทุนในแท็กซี่มิเตอร์ทะเบียน "5ท" ที่บังคับว่าต้องเป็นรถสีเขียวเหลืองนั้น จากตัวเลขล่าสุดกรมการขนส่ง มีการนับจำนวนประมาณ เกือบ 2 พันคัน (มีการขอเพิ่มทุกวัน ๆ ละกว่า 30 คัน) มีลักษณะของการลงทุนที่แตกต่างกันไป 3 ลักษณะด้วยกัน การลงทุนในลักษณะที่ 1 คือ ผู้ขับลงทุนซื้อรถเอง จดทะเบียนเอง ขับบริการผู้โดยสารเอง ผู้คร่ำหวอดในวงการแท็กซี่รายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า..

"การเปิดโอกาสให้ผู้ขับมีรถเป็นของตนเองคือทะเบียน 5 ท ในที่สุดแล้วคงต้องออกมาในรูปเดิม เหมือนกับสมัย 2 ท เพราะมีหลายคนไปกู้หนี้ยืมสินหรือนำที่นาไปจำนองเพื่อเอาเงินมาซื้อรถ มีเพียงไม่กี่คนที่ซื้อเงินสด ผ่อนไประยะหนึ่งไม่นานรถต้องโดนยึด ที่นาต้องหลุดจำนอง เพราะมีรายได้ไม่พอจ่ายจะเห็นว่าแท็กซี่มิเตอร์วิ่งกันเกลื่อนอีกหน่อยคงต้องแย่งผู้โดยสารกันจำนวนเที่ยวก็ต้องลดลง"

ส่วนในลักษณะที่ 2 คือมีนายทุนแฝงเข้าไปจดทะเบียน แล้วเอารถมาปล่อยให้เช่า จริง ๆ แล้วถือว่าผิดกฎหมายเพราะหลักเกณฑ์ที่วางไว้นั้นเจ้าของรถต้องเป็นผู้ขับเองให้เช่าไม่ได้แต่การควบคุมของรัฐไปไม่ถึง

"วิธีการจดทะเบียนเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่เขามาให้เช่านี่สิผิด" แหล่งข่าวกล่าว ซึ่งวิธีการนี้ บรรดานายทุนจะรวบรวมใบขับขี่สาธารณะในกลุ่มญาติพี่น้องไปขอจดทะเบียนแท็กซี่บุคคลมา แล้วหารถมาสวมนำมาปล่อยให้เช่าคิดค่าเช่ากะละ 450-500 บาท "ค่าเช่าแพงกว่าเดิมเสียอีก" แหล่งข่าวเน้น

แท็กซี่ "5ท" มีไม่ต่ำกว่า 30% ที่เป็นของนายทุนประเภทนี้ อย่างเช่นแถวหัวลำโพง บางอู่มีถึง 7-8 คัน ส่วนใหญ่จะเป็นเถ้าแก่อู่เล็ก ๆ ที่ประกอบการแท็กซี่เก่าอยู่แล้ว 10-20 คัน

การทำเช่นนี้ยังสามารถหลบเลี่ยงภาษีได้อีก เพราะรัฐบาลจะไม่เก็บภาษีจากผู้ขับรถทะเบียน "5ท" หากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

วิธีการที่ 3 คือ มีนายทุนจากอีสานกลุ่มหนึ่ง อยู่เบื้องหลังคนขับรถที่เป็นคนอีสานด้วยกัน ซึ่งมีลักษณะที่คล้าย ๆ แบบที่ 2 คือรถเป็นทะเบียน "5ท" แต่เป็นของนายทุนคนเดียว คือ จะหาคนขับที่เป็นคนอีสานด้วยกันและเชื่อถือได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยึดอาชีพขับแท็กซี่อยู่เดิม

โดยเขาจะให้คนขับเหล่านั้นไปขอจดทะเบียนแท็กซี่ "5ท"มาแล้วจะลงทุน ซื้อรถมาให้ขับ แต่จะให้นำหลักทรัพย์มาค้ำประกันและยึดทะเบียนรถแท็กซี่ไว้

ให้คนขับผ่อนเป็นงวดตามแต่จะตกลง หากใครไม่มีเงินมาดาวน์ ผ่อนหนักหน่อยรวมระยะเวลาประมาณ 5 ปี ตกแล้วเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 7-8 แสนบาทหรืออาจจะถึง 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

สำหรับลักษณะของการลงทุนในแท็กซี่มิเตอร์ "6ท" ซึ่งเป็นในรูปนิติบุคคล จะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ 1 ให้เช่าปกติ และ 2 ให้เช่าซื้อ

บริษัทที่มีรถออกมาบริการเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัทนครหลวงแท็กซี่ จำกัด สีของตัวรถเป็นสีน้ำเงินหลังคาสีขาว บริษัทรวมไทยแท็กซี่ จำกัด ตัวรถสีเขียวอ่อนหลังคาสีขาวหรือเป็นบริษัท ไซแรม สีแดงเลือดหมูทั้งคัน

การให้เช่ามีลักษณะเช่นเดียวกับแท็กซี่รุ่นเก่า "1ท" "2ท" มีการกำหนดราคาค่าเช่าไว้ตั้งแต่ 400-500 บาท ส่วนใหญ่นายทุนเหล่านี้จะเป็นนายทุนเก่าที่ยึดอาชีพทำแท็กซี่เป็นหลักแล้วหันมาลงทุนในรถรุ่นใหม่

แต่สำหรับการให้เช่าซื้อ เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับการเปิดเสรี ในครั้งนี้

แหล่งข่าวในวงการคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่ามีหลายบริษัทที่หวังประโยชน์กำไรจากดอกเบี้ย โดยยื่นจดทะเบียนขอรถไว้หลาย ๆ คัน ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทไฟแนนซ์บริษัทเช่าซื้อ หรือบริษัทที่ทำกิจการเกี่ยวกับรถยนต์อยู่แล้ว เช่น บริษัท แท็กซี่มิเตอร์ทรานสปอร์ต บริษัท ไซแรม บริษัทพูลทวี บริษัทรวมแท็กซี่ ฯลฯ

โดยวิธีการดังกล่าว มีลักษณะคล้าย ๆ การจัดไฟแนนซ์รถ เพียงแต่เงินงวดที่ผ่อนส่งจะจ่ายให้กับบริษัทเป็นแต่ละวัน ๆ ไป

ขั้นตอนของวิธีการคือ เมื่อผู้ที่ประสงค์ต้องการจะมีแท็กซี่มิเตอร์ ไม่ต้องมีเงินดาวน์จะมีเพียงเงินค่ามัดจำประมาณ 5 หมื่นบาทและเงินสำหรับค่าทำประกันอีกคนละ 2-3 หมื่นบาท (แล้วแต่ประเภทวงเงิน) มีการทำสัญญาเป็นแบบเช่าซื้อระหว่างผู้ขับกับบริษัทไว้ 5 ปี หลังจากนั้นจึงนำรถออกมาขับได้ ซึ่งตกแล้วราคารถเมื่อครบ 5 ปีจะมีประมาณ 1 ล้าน 8 หมื่นเศษ แต่ ป้ายจะยังคงเป็นของบริษัทอยู่

ลักษณะดังที่กล่าวมาคือภาพของการลงทุนในธุรกิจแท็กซี่มิเตอร์ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจแท็กซี่มิเตอร์ขณะนี้ ปรากฏว่าต่างคนต่างกำลังแข่งขันแย่งกันเข้ามา และทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา

ส่งผลทำให้รถยนต์ที่จะนำเข้ามาทำแท็กซี่ขาดตลาด แค่เพียง 7-8 เดือนมีรถที่ซื้อมาทำแท็กซี่ถึง 7 พันกว่าคันแต่ความต้องการยังมีอีกมาก ราคาจึงขยับตัวเพิ่มขึ้นไป เซลส์ขายรถถือโอกาสสร้างราคาในตลาดมืด เหมือนกับสมัย ที่มีการซื้อขายใบจองรถกันในอดีต

เพราะทุกคนถือคติที่ว่า ใครสามารถนำรถออกมาวิ่งได้ก่อน ในช่วงที่แท็กซี่มิเตอร์กำลังบูมและมีจำนวนน้อยอยู่ ความเสี่ยงของการลงทุนก็จะลดลง กำไรจะคืนกลับมาเร็ว

ผู้ขับแท็กซี่มิเตอร์รายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า อย่างรถโตโยต้า โคโรน่า XL 1600 ราคาจริงในโชว์รูม 450,000 บาทแต่ราคาในตลาดมืด ขยับสูงขึ้นไปเป็น 500,000 บาทหรือรุ่น GL 1600 เช่นกัน ราคาโชว์รูม 510,000 บาทในตลาดมืดขึ้นไปเป็น 600,000 บาท ซึ่งราคาที่ขยับขึ้นไปนั้น ประมาณ 5-6 หมื่นบาท

ลูกค้าที่จองซื้อรถทำแท็กซี่หลายคนกำลังปั่นป่วนมาก...วันนี้ลงทุนแท็กซี่ ป้ายไม่มีราคา เพียงแต่ว่าราคารถได้ขยับสูงขึ้นไป แถมยังเป็นราคาที่ผิดปกติ แล้วยังต้องมารับภาระดอกเบี้ยในการผ่อนอีก จึงทำให้การลงทุนในแท็กซี่มิเตอร์คันหนึ่ง มีราคาที่แพงไม่ต่างจากอดีตเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us