Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"ชาติชาย เย็นบำรุง ผู้พลิกการขาดทุนให้เป็นกำไร"             
โดย สุพัตรา แสนประเสริฐ
 

   
related stories

"สัมปทานสมุดโทรศัพท์เดิมพัน 9,000ล้านบาท"

   
search resources

ชินวัตร
เอทีแอนด์ที
ชาติชาย เย็นบำรุง




ในที่สุด "ชาติชาย เย็นบำรุง" ก็ได้ตัดสินใจหันหลังให้กับวงการธุรกิจสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ที่เขาคลุกคลีมาเป็นเวลา 5 ปีเต็มชาติชายได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ของบริษัท ชินวัตรไดเร็คทอรี่ส์ จำกัดอย่างเป็นทางการแล้วและมีผลบังคับเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา

หากจะกล่าวว่าชาติชายเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสูง ในเหตุการณ์การโอนกิจการสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ระหว่างเอทีแอนด์ที บริษัทจากอเมริกาผู้ที่ได้รับสัมปทานในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) กับชินวัตรซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชินวัตรไดเร็คทอรี่ส์ จำกัดก็คงไม่ผิดนัก

ชาติชายเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ในช่วงปีแรกที่เอทีแอนด์ทีเข้ามาดำเนินกิจการเมื่อประมาณปี 30 และปี 31 นั้น เอทีแอนด์ทีประสบภาวะการขาดทุนอย่างสูง อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ที่ทศท. ไม่สามารถระงับการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ของบริษัทจีทีอี ไดเร็คทอรี่ส์ เจ้าเก่าที่ผูกขาดสัมปทานการพิมพ์จาก ทศท. มาเป็นเวลานานกว่า 17 ปีก่อนที่จะแพ้การประมูลให้กับ เอทีแอนด์ทีไปในที่สุด

"ผมเข้ามาทำงานให้เอทีแอนด์ทีในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์เมื่อปี 2531 ปีนั้นจีทีอีเพิ่งจะยอมเลิกล้มการพิมพ์สมุดโทรศัพท์แข่งกับเอทีแอนด์ที แต่กว่าจะเลิกได้เอทีแอนด์ทีก็ประสบภาวะการขาดทุนสะสมมา 2 ปี เต็มเราต้องเข้ามาแก้ปัญหาและเร่งสร้างภาพลักษณ์ให้กับเอที แอนด์ทีจนตลาดมีความเข้าใจและยอมลงโฆษณากับบริษัทใหม่"

บทบาทของชาติชายไม่ได้หยุดอยู่ที่การเป็นประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรเท่านั้น อีกหน้าที่หนึ่งของชาติชายที่นับว่าเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของวงการเลยทีเดียวก็ว่าได้คือ การโอนกิจการจากเอทีแอนด์ทีสุ่มือบริษัทใหม่ที่มีแนวโน้มว่าให้ความสนใจและมีความสามารถที่จะดำเนินกิจการต่อจากเอทีแอนด์ทีได้

ขั้นแรกชาติชายได้หาทางออกให้กับ เอทีแอนด์ทีนายของเขาด้วยการเป็นตัวเชื่อมโยงหาผู้รับโอนสัมปทานโดยการติดต่อกับบริษัทถึง 4 บริษัทด้วยกันมี เดลินิวส์ ซึ่งเป็นผู้พิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้ โทรศัพท์เอทีแอนด์ที หนังสือพิมพ์เนชั่น บริษัทไอทีที และบริษัทอเมริเทคเป็นบริษัทที่จัดพิมพ์ไดเร็คทอรี่ส์อยู่ในอเมริกา

บริษัททั้ง 4 ต่างให้ความสนใจต่อกิจการนี้ ช่วงนั้นมีการพูดคุยกันหลายครั้งแต่ในที่สุดล้มเหลว ทั้งนี้เพราะแนวโน้มการขาดทุนเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึง 1,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ตัวเลขการขาดทุนเช่นนี้จึงไม่มีใครกล้าเสี่ยงที่จะรับโอนกิจการมาทำต่อ ทั้ง ๆ ที่หลักการของเอทีแอนด์ทีที่จะตอบสนองผู้รับโอนกิจการจะว่าไปแล้ว ก็อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างยุติธรรมพอสมควร

กล่าวคือเอทีแอนด์ทียินดีที่จะยกสัญญาที่เหลืออยู่ พร้อมทั้งชดเชยเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่คาดว่าจะขาดทุนสะสมต่อปีในช่วงเวลาที่เหลืออยู่อีก 3 ปีให้กับบริษัทที่รับโอนกิจการไป

เมื่อการเจรจาล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ชาติชายก็ได้ใช้ความพยายามใหม่อีกครั้งในราว ๆ ปี 2533 คราวนี้ชาติชายได้ "เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์" ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของ AT&T เป็นคู่คิดและแนะนำให้ชักชวน ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเชิดศักดิ์มองเห็นศักยภาพและความเป็นไปได้ของบริษัทชินวัตร (ชินวัตรขายคอมพิวเตอร์ของเอทีแอนด์ทีอยู่) ให้เข้ามารับทอดกิจการเพื่อไปดำเนินการต่อจนจบสัญญา

ท่าทีของ ดร. ทักษิณให้ความสนใจในกิจการนี้พอ ๆ กับให้ความสนใจในตัวผู้บริหารของที่นี่ด้วย เป้าหมายคือเชิดศักดิ์นั่นเอง

ปลายปี 33 เชิดศักดิ์ลาออกจากเอทีแอนด์ทีเพื่อทำงานในชินวัตร ทั้งเชิดศักดิ์และชาติชายก็ ยังมีการพูดคุยเชื่อมโยงให้เกิดการเทคโอเวอร์กันจนได้ จนวันที่ 1 เมษายน 2534 ดร. ทักษิณตัดสินใจรับโอนกิจการรับช่วงดำเนินการต่อภายในระยะเวลาที่เหลืออีก 3 ปี

การโอนกิจการครั้งนี้ชินวัตรได้อะไรบ้าง

ประการแรก ทางชินวัตรได้รับเงินชดเชยจำนวน 360 ล้านบาทซึ่งเป็นจำนวนที่เอที แอนด์ทีคาดว่าจะขาดทุน โดย ในปี 2534 เอทีแอนด์ทีคาดว่าจะขาดทุน 166 ล้านบาทปี 2535 คาดว่าจะขาดทุน 259 ล้านบาทและปี 36 คาดว่าจะขาดทุน 359 ล้านบาท ประการต่อมาลูกหนี้ที่ยังคงค้างชำระในช่วง 2 ปีที่ดำเนินการและยังไม่ได้เรียกเก็บและสุดท้าย ได้พนักงานทั้งหมดของเอทีแอนด์ทีไดเร็คตอรี่ส์ไป รวมทั้งตัวชาติชายเองด้วย

บทบาทแรกของชาติชายประสบความสำเร็จพลิกประวัติศาสตร์ของวงการ เมื่อมีการเซ็นสัญญารับโอนกิจการเกิดขึ้น บทบาทที่สองของชาติชายภายใต้การเป็นพนักงานของบริษัท ชินวัตรไดเร็คทอรี่ส์คือต้องลดภาวะการขาดทุนลงให้ได้

ชาติชายเล่าว่าเขาสามารถลดการขาดทุนลงได้เหลือ 22 ล้านบาทจากที่คาดว่าจะขาดทุนในปี 34 ถึง 166 ล้านบาท ปี 35 สามารถลดการขาดทุนลงได้เหลือ 115 ล้านบาทจากที่คาดว่าจะขาดทุน 259 ล้านบาท

ในขณะที่ปี 36 เริ่มทำกำไรได้คาดว่าประมาณ 100 ล้านบาทจากที่เอทีแอนด์ทีคาดว่าจะขาดทุนประมาณ 359 ล้านบาท

เขาทำได้อย่างไร?

สิ่งแรกที่เขาทำก็คือการลดต้นทุนการผลิตซึ่ง 70% ของต้นทุนการผลิตมาจากค่ากระดาษ แต่เดิมเอทีแอนด์ทีซื้อกระดาษจากแคนาดาและเซาท์อัฟริกาในราคา 650 เหรียญสหรัฐต่อตันและ 750 เหรียญสหรัฐต่อตัน แต่ชาติชายเปลี่ยนที่สั่งซื้อเสียใหม่โดยสั่งซื้อจากฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และอเมริกาในราคา 450-550 เหรียญต่อตัน

อีก 25% ของต้นทุนการผลิตมาจากค่าพิมพ์ โรงพิมพ์ที่เอทีแอนด์ทีใช้อยู่ประจำมีการตกลงกันล่วงหน้าในการขอขึ้นค่าพิมพ์ทุกปี ๆ ละ 6% ชาติชายแก้ปัญหาด้วยการจ้างโรงพิมพ์เพิ่มจากเดิมที่ใช้อยู่ 2 โรงคือเดลินิวส์และไทยวัฒนาเพิ่มอีก 3 โรงคือ โรงพิมพ์ตะวันออก โรงพิมพ์ฉลองรัตน์ และโรงพิมพ์คุรุสภา

ผลจากการจ้างโรงพิมพ์เพิ่มทำให้ชาติชายสร้างเงื่อนไขต่อรองราคากับโรงพิมพ์เก่าซึ่ง นอกจากจะยกเลิกสัญญาขึ้นราคาค่าพิมพ์ 6% ทุกปีแล้วยังยอมที่จะลดราคาค่าพิมพ์ลงอีก 15% ด้วย

นอกจากนั้นยังปรับปรุงรูปแบบการวางหน้าใหม่โดยเปลี่ยนจากพิมพ์ 2 คอลัมน์เป็น 4 คอลัมน์ทำ ให้ใช้กระดาษน้อยลง จำนวนหน้าและความหนาลดลงประหยัดต้นทุนลงได้อีก 30% ซึ่งการพิมพ์ 4 คอลัมน์ได้เริ่มในปี 35 ที่ผ่านไปนี้

ชาติชายลดต้นทุนการผลิตลงได้ถึง 53% ประกอบด้วยตลาดโฆษณาโตขึ้นประมาณ 30-50% เมื่อเหตุผลทั้ง 2 ผนวกเข้าด้วยกันเขาจึงมั่นใจว่าในปี 36 ชินวัตรไดเร็คทอรี่ส์จะมีกำไรอยู่ที่จำนวน 100 ล้านบาทแทนที่จะขาดทุนตามที่เอทีแอนด์ทีคาดหมายไว้ว่าจะเป็น 359 ล้านบาท

"ผมว่ามันเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่สุดของผม ที่ผมลาออกในเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาที่ ทุกอย่างลงตัว การขาดทุนก็หมดไป และได้ต่อสัญญาอีก 2 ปี หากผมลาออกในช่วงเวลาที่ชินวัตร เกิดประมูลไม่ได้ช่วงนั้นผมจะทำอย่างไร"

น่าจะเป็นเหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุดสำหรับการลาออกจากชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ของชาติชาย เย็นบำรุง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us