Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"ขบวนการล้อแม็กบราบัสปลอม"             
 

   
related stories

"เอนไก VS สยามอัลลอยวีลศึกเจ้ายุทธจักรล้อแม็ก"

   
search resources

ไทยฟิวเจอร์คอนเซพท์
เอ ออโตโมทีฟ
พิยุชน์ เจียมประเสริฐ
Auto-parts




คดีความข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้าบนล้อแม็กที่ค้างคาอยู่ในศาลขณะนี้มีอยู่ด้วยกันสองเรื่อง เรื่องแรกเป็นดดีปลอมล้อแม็ก "BRABUS" เรื่องที่สองคือคดีปลอมล้อแม็ก "เอนไก"

กลางปี 2535 บริษัทไทยฟิวเจอร์คอนเซพท์ผู้แทนจำหน่ายสินค้าประดับยนต์ BRABUS ได้นำกำลังตำรวจบุกทลายโรงงาน "เอ ออ โตโมทีฟ (ประเทศไทย)" (A. AUTO MOTIVE) หลักฐานชิ้นสำคัญที่ยึดได้ในวันนั้นคือแม่พิมพ์ 2 ชุดที่เลียนแบบล้อแม็ก 3 แฉก ขอบ 15 และ 16 นิ้ว (ของแท้จะต้องเป็นขอบ 17 นิ้วใส่กับรถเมอร์ซิเดส-เบนซ์เท่านั้น) ซึ่งใช้ชื่อยี่ห้อว่า "BRABAS" ต่างจากของจริงเพียงแค่เปลี่ยนตัว U เป็นตัวA และยี่ห้อ "BRABA" โดยขายส่ง วงละ 4,000 บาทและราคาขายปลีกตามร้านค้ายางและล้อวงละ 6,000-6,500 บาท ปรากฏว่าก่อนจะถูกจับได้ขายออกไปแล้ว 5,000 วงมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท

"วันนั้นที่ผมบุกเข้าไปจับล้อแม็กบราบัสปลอม ถ้าผมสามารถจับล้อแม็กเลียนแบบของ AC SCHNITZER ได้ตอนนั้นผมจะได้ของปลอมเกือบ 12,000 วง มากกว่าบราบัสเสียอีกเพราะตอนนี้เราเป็นตัวแทน SCHNTZER แล้ว ขายดีมากเดือนหนึ่ง ประมาณ 2,000 วง" พิยุชน์ เจียมประเสริฐ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยฟิวเจอร์คอนเซพท์เล่าให้ฟัง

ขณะนี้บริษัทแม่ ACSCHNITZER ได้ยื่นฟ้องตั้งแต่ต้นปีขอให้บริษัทเอ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมาย AC SCHNITER เนื่องจากไม่มีสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย

เอ ออโตโมทีฟเป็นสาขาหนึ่งของบริษัทแม่ที่ตั้งอยู่ที่มาเลเซีย โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวมาเลย์ถือหุ้นอยู่ 49% ของทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาทเครือข่ายของโรงงานเอ ออโตโมทีฟมีอยู่ทั้งสิ้น 4 แห่ง อยู่ในมาเลเซีย 2 แห่งและในไทย 2 แห่งที่สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาสและที่สมุทรสาครทั้ง 4 โรงงานนี้เป็นแหล่งผลิตล้อแม็กปลอมขนาดใหญ่ที่สุด ในเอเชียเพราะมีกำลังการผลิตโดยรวมทุกยี่ห้อประมาณไม่ต่ำกว่า 780,000 วงต่อปี คิดเป็นมูลค่า 3,072 ล้านบาท

ขบวนการผลิตล้อแม็กปลอมของ เอ ออโตโมทีฟในไทย เริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเข้าล้อแม็กปลอมจากไต้หวันเข้ามาระบายในไทย หลังจากที่ทดสอบตลาดจากจำนวนไม่มากนัก จนมองเห็นลู่ทางสดใสเนื่องจากความนิยมล้อแม็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ปี 2530 ทำให้เริ่มการขอจดทะเบียนตั้งโรงงานแห่งนี้ขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายในปี 2531 แต่ผลิตล้อแม็กเลียนแบบหรือปลอมยี่ห้อดัง ๆ ที่ขายดี

ในระยะหลังได้มีการสั่งแม่พิมพ์หล่อล้อแม็กเข้ามาผลิตในไทย ซึ่งราคาตกตัวละประมาณ 200,000 บาท แต่ให้ผลผลิตที่เกินคุ้ม แถมกำไรมหาศาล ทำการส่งออกล้อแม็กไปขายที่สิงค์โปร์และมาเลเซีย

วัตถุดิบที่โรงงานแห่งนี้นำมาใช้พบว่าเป็นอะลูมินั่มเกรดต่ำสุด ซึ่งมีต้นทุนต่ำมากเพียงตันละ 40,000 บาทเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่เกรดเอของอะลูมินั่มที่ใช้ทำล้อแม็กจะตกประมาณ 80,000-100,000 บาทขึ้นไปทำให้ต้นทุนต่ำสามารถให้กำไรร้านค้ามากเป็นข้อจูงใจที่ทำให้ทุกร้านยางและล้อแม็กปลอมปะปนอยู่ครึ่งต่อครึ่ง โดยมีกลุ่มลูกค้าที่ชอบเลือกซื้อล้อแม็กเพียงแค่ดูความสวยงามและราคาถูก

นอกเหนือจากปัญหาล้อแม็กปลอมที่ผลิตในประเทศแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่ยังแก้ไขไม่ได้ก็คือ ปัญหาการลักลอบนำเข้าล้อแม็กจากต่างประเทศ โดยใช้ช่องทางเลี่ยงภาษี

"เราเองพยายามสกัดทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะปิดเอเยนต์ที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ เอ ออโตโมทีฟ ไปแล้ว เพราะเดิมทีเป็นตัวที่ลักลอบนำล้อแม็กหนีภาษีหรือปะปนกับสินค้าอื่น ๆ เช่นสินค้าใช้แล้วเศษผ้า เพื่อเลี่ยงเสียภาษีน้อยลง เพราะแทนที่จะเสียภาษีวงละ 2 พันกว่าบาท ก็เสียแค่ 300-500 บาท แต่หลังจากนั้นก็มาโผล่ที่มาเลเซีย ผมบินไปดูก็ไม่เห็นรถเบนซ์มาเลเซียสักคันเดียวที่ใช้ล้อแม็ก 17 นิ้วเพราะของเขาใช้ 16 นิ้ว แต่พอผมเช็คกลับไปที่ต้นสังกัดบริษัทแม่บราบัสที่เยอรมันก็พบว่ามีการซื้อขายล้อ 17 นิ้วจำนวน 400-500 วง เข้ามาที่มาเลเซีย แต่จริง ๆ มาเข้าที่ไทย เราจึงปิดเอเยนต์ที่มาเลย์อีกแห่ง" กรรมการผู้จัดการไทยฟิวเจอร์เล่าให้ฟังอย่างเจ็บปวด

ถึงอย่างไรก็ตามแม้ปิดเอเยนต์ที่มาเลเซียแล้ว มืออาชีพเหล่านี้ก็พยายามหาหนทางที่จะนำเข้าล้อแม็กมาขายในไทยให้จงได้ จึงได้มีการติดต่อกับทางผู้นำเข้าที่เยอรมัน ซึ่งกว้านซื้อจากเอเยนต์ผู้ค้าส่งในเยอรมันจำนวนมาก แล้วนำมาขายตัดราคาเอากำไรสุทธิเพียง 5-7% โดยการลักลอบหนีภาษีเข้ามา" ปัจจุบันนี้ ธุรกิจล้อแม็กที่เราทำแบบไม่มีกำไรแต่ทุนราคาของเราในตลาดชุดหนึ่ง 60,000 บาท" ไม่รวมค่ายาง ซึ่งเท่ากับราคาขายที่เยอรมันที่ผมต้องลดราคาต่ำขนาดนี้เพื่อสู้กับของหนีภาษี นอกจากของปลอม" นี่คือหัวอกของพ่อค้าที่เสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องแต่ต้องผจญกับขบวนการใต้ดินเช่นนี้

ดังนั้น การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทำให้ปีนี้ไทยฟิวเจอร์คอนเซพท์วางแผนการขายตรงต่อกลุ่มเป้าหมายแทนที่จะทุ่มงบโฆษณาปีละกว่า 2-3 ล้านเพื่อส่งเสริมให้มีสินค้าปลอมแปลงเหล่านี้ได้ขายดีและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แต่เมื่อจับได้ปรากฏว่าโทษที่ทางการเล่นงานเพียงแค่ปรับไม่เกิน 4-5 หมื่นบาทเท่านั้น !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us