Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"เอ็มเอสซี : โตล้ำหน้าไอบีเอ็ม"             
 

   
related stories

"ยกเครื่องไอบีเอ็ม !!!"

   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
เมโทรซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ธวิช จารุวจนะ
Computer




เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่นหรือเอ็มเอสซีเป็นบริษัทในเครือศรีกรุงวัฒนามีจุดกำเนิดมาจากแผนกคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ของเครือ ฯ และเจริญเติบโตมาได้ด้วยการทำมาค้าขายเป็นบริษัทคู่ค้า (BUSINESS PARTNER) กับไอบีเอ็ม ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มเป็นธุรกิจหลัก

7 ปีเต็มที่ดำเนินธุรกิจเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม ปรากฏว่าเอ็มเอสซีสามารถเพิ่มยอดขายสูงขึ้นๆ ทุกปี โดยในแต่ละปีนั้นทำยอดขายได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย

ล่าสุดปี 2535 ที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายทะลุพันล้านบาทเป็นปีแรก ด้วยตัวเลข 1,146 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังคาดหมายด้วยว่าปี 2536 จะมียอดขายเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20%-2.5%

เอ็มเอสซีเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ขนาดกลางของไอบีเอ็ม หรือเป็นตัวแทนประเภท SR/SYSTEM REMARKETER ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจค้าปลีก ระบบคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชั่น อุปกรณ์พิมพ์ดีด ซัพพลายส์และพรินเตอร์ยี่ห้อไอบีเอ็ม

เอ็มเอสซีดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้นอีก 5 แห่งเพื่อขยายธุรกิจและดูแลตลาดสินค้าแต่ละชนิด

ธวิช จารุวจนะ กรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นอดีตลูกหม้อศรีกรุงที่สร้างเอ็มเอสซีกรุ๊ปเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมมีเป้าหมายว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าเราต้องทำยอดขายให้ได้ในระดับ 2,000 ล้านบาทเพราะปี 2538 เราจะย้ายไปตึกใหม่อยู่แถวสวนหลวง ร. 9 หากไม่ได้รายได้ขนาดนั้นก็อยู่ไม่ได้"

การตั้งตัวเลขเป้าหมายเช่นนี้อาจเป็นแรงกดดันสำหรับหน่วยงานบางแห่ง แต่ที่เอ็มเอสซีไม่มีปัญหา

ธวิชอธิบายว่า "จริง ๆ แล้วการขายเครื่องคอมพิวเตอร์นี่เป็นงานที่เหนื่อยแต่ผมทำสิ่งนี้เหมือนเป็นงานอดิเรก จึงสบายใจที่จะทำ อีกอย่างคือผมเพียงตั้งเป้าตัวเลขไว้แล้วทำได้ตามเป้ารักษาระดับการบริการให้ดีเท่านั้น นี่ผมยังไม่ได้ทำการตลาดในเชิงรุกเลย"

ความหมายของธวิชคือในมูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายมหาศาลในแต่ละประเภทนั้น ธวิชเพียงแต่ตั้งเป้าหมายการขายตามความสามารถที่เขาทำได้ เขาไม่ได้มองภาพตลาดทั้งหมดแล้วเอามากำหนดเป้าหมายว่าต้องทำให้ได้เท่านั้นเท่านี้เปอร์เซนต์ ซึ่งการกำหนดในแบบหลังนี้เขาเห็นว่าเป็นการตลาดเชิงรุก (AGGRESSIVE)

ธวิชมีความสุขอย่างมากในการทำงานเป็นคู่ค้ากับไอบีเอ็ม(ประเทศไทย) แม้ว่าเมื่อเริ่มต้นทำงานในปีแรกนั้นเขาจะรู้สึกถึงแรงกดดันอย่างมาก ๆ ว่าเป็นคู่แข่งกับไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ให้กับคนไอบีเอ็มฟังอยู่เสมอ ๆ ทั้งที่สำนักงานใหญ่และที่ญี่ปุ่น

ทุกคนต่างทึ่งในความสัมพันธ์ของการทำธุรกิจของ 2 องค์กรนี้

เอ็มเอสซีเป็นตัวอย่างหน้าตาความสำเร็จของไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ในการตั้งบริษัทคู่ค้า เป็นแม่แบบที่ดีของไอบีเอ็ม

ไม่มีไอบีเอ็มประเทศใดในโลกที่จะมีบริษัทคู่ค้าชั้นเยี่ยมได้เช่นนี้!

เอ็มเอสซีมีพนักงานมากกว่า 500 คน มีบริษัทในเครือ 5 แห่ง มียอดรายได้ทะลุพันล้านและกำลังจะเข้าสู่หลักสองพันล้านในอีก 2 ปีข้างหน้า มีโครงสร้างอาคารสำนักงานของตนเอง มูลค่าการก่อสร้างกว่า 300 ล้านบาท

เหตุที่ธวิชมั่นใจในการทำการค้ากับไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) มากเพราะไอบีเอ็มฯ ไม่ได้เพิ่มคู่ค้ามา 5 ปีแล้ว อยู่กันมาแค่ 7 รายและต่างฝ่ายต่างเคารพจรรยาบรรณแก่กัน ต่างมี COMMITMENT แก่กัน

อันที่จริง เมื่อ 3-4 ปีก่อนที่เอ็มเอสซีจะใหญ่ขนาดนี้ธวิชก็หวาดกลัวเรื่องนโยบายการเพิ่มคู่ค้าของไอบีเอ็มฯ อยู่ไม่น้อย มีการล้อบบี้ไม่ให้เพิ่ม เพราะคู่ค้าที่มีอยู่มีการลงทุนกันสูงมาก

แต่เมื่อมาถึงวันนี้ ธวิชไม่กลัวเรื่องนี้อีกต่อไป

เขาปฏิเสธว่าไม่ใช่ด้วยเหตุผลว่าเอ็มเอสซีใหญ่แล้ว แต่เป็นเพราะตลาดคอมพิวเตอร์มีการเล่นสงครามราคากันมากและผู้ที่จะอยู่ในธุรกิจนี้ได้จริงต้องมีคนที่มีความสามารถ มีเงิน มีสถานที่ และอื่น ๆ อีกสารพัด

ธวิชเปิดเผยว่าการที่เอ็มเอสซีโตมาได้ถึงระดับนี้มีอยู่ 2-3 ปัจจัย

"ไอบีเอ็มไม่ได้ห้ามไม่ให้เราโต และผมออกจะโชคดีที่มีการจัดการที่ดีภายในบริษัทเอง และได้รับการสนับสนุนจากทางเครือศรีกรุงฯ ซึ่งมองว่าธุรกิจนี้มีอนาคตจึงทุ่มลงทุนให้"

เอ็มเอสซีเป็นผู้ค้าที่ต้องลงมาเล่นเรื่องสงครามราคาโดยตรงการประกาศลดราคาเครื่องลงมากกว่าร้อยละ 45% ในปีที่ผ่านมาของไอบีเอ็มมีผลกระทบต่อตลาดอย่างมาก เครื่องมียี่ห้อทุกยี่ห้อลดราคาลงหมด เอ็มเอสซีซึ่งเคยขายเครื่องพีซีเพียง 2,000 ตัวก็จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายมากขึ้นเพื่อที่จะทำรายได้ไม่ให้ลดลง

"ปีที่แล้วผมขายประมาณ 4,000-5,000 ตัว แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็น 8,000 ตัวซึ่งเป็นการตั้งเป้าสูงกว่าปีที่แล้ว 2 เท่า" ธวิชเปิดเผยการเพิ่มเป้าตัวเลขเพื่อทำรายได้

การขายในปริมาณมากเช่นนี้จะต้องมีส่วนแบ็คอัพที่เป็นแรงจูงใจหรือในบางกรณีอาจจะเป็นตัวตัดสินใจสำคัญของผู้ซื้อนั่นคือเรื่องบริการ ซึ่งไอบีเอ็มได้เข้ามาช่วยคู่ค้าโดยรับไปดำเนินการเองตั้งแต่เมื่อกลางปีที่ผ่านมา

ธวิชเปิดเผยว่า "การที่ไอบีเอ็มรับเรื่องบริการไปทำช่วยให้เราลดต้นทุนลงได้ประมาณ 8% ของยอดขาย ส่วนตัวกำไรเครื่องพีซีนั้นผมบอกได้เลยว่าขายเครื่องพีซีกำไรประมาณ 10% ผมถือว่าเก่งกาจมากแล้ว"

เอ็มเอสซีมีเจ้าหน้าที่ขายสำหรับเครื่องพีซีประมาณ 18 คนรับผิดชอบยอดขายเครื่องจำนวน 8,000 เครื่องสำหรับปีนี้ ส่วนเครื่องมินิประมาณ 14 คน

กลยุทธ์การขายของเอ็มเอสซีอยู่ที่การฝึกอบรม มีการลงทุนในเรื่อง EDUCATION CENTER ประมาณ 30-40 ล้านบาท

เอ็มเอสซียังเดินหน้าต่อไปในการขายเครื่องพีซีและมินิรวมทั้งอุปกรณ์พิมพ์ดีดซัพพลายส์ต่าง ๆ มีการพัฒนาช่องทางการขายใหม่ ๆ ด้วยการเจาะตลาดเฉพาะ แล้วตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาดูแล โดยมีเป้าหมายที่ยอดขายระดับ 2,000 ล้านบาทในปี 2538 พร้อมกับการย้ายเข้าไปอยู่ในอาคารสำนักงานแห่งใหม่ที่เป็นของบริษัทเอง

ธวิชคิดว่าทิศทางหลัก ๆ ในการทำธุรกิจของเอ็มเอสซีจะยังไม่เปลี่ยนแปลง

เขากล่าวไว้ว่า "การจัดองค์กรใหม่ของไอบีเอ็มไม่มีผลมาแย่งธุรกิจเรา ไม่เกี่ยวกัน เรายังคงดำเนินนโยบายเหมือนเดิมได้"

แน่นอนว่าเอ็มเอสซีสามารถเติบโตต่อไปได้ในระยะเฉพาะหน้าตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ไอบีเอ็มวันนี้คงยังไม่สามารถมีนโยบายใหม่ ๆ ออกมาให้บริษัทคู่ค้าได้ เพราะยังต้องยุ่งเรื่องการดูแลบ่มเพาะคนของตัวกับการกำหนดมาตรฐานการตลาดในมุมมองใหม่ ๆ ของตนซึ่งก็ยังไม่มีผลกระทบกับบริษัทคู่ค้า

ธวิชกล่าวในเชิงให้การสนับสนุนแนวทางของชาญชัยอย่างเต็มที่ "ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในไอบีเอ็มเป็นไปในทางที่ดีขึ้นทุกวัน"

เพราะนอกจากจะไม่มากระทบแย่งธุรกิจของเอ็มเอสซีแล้วอาจจะมีการเปิดตลาดใหม่ ๆ ที่เอ็มเอสซีจะเข้าไปร่วมวงไพบูลย์ด้วยได้

ยิ่งเอ็มเอสซีประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นหน้าตาของไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) มากเท่านั้น

แม้ว่าคู่ค้ารายนี้จะโตล้ำหน้าไปมากก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us