Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ เมื่อที่ปรึกษากลายมาเป็นเถ้าแก่             
 


   
search resources

พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Networking and Internet




หลายปีมานี้ พิพัฒน์ ยอดพฤติการ มีโอกาสสร้างประสบการณ์จากหน้าที่ การงาน และการคิดค้นข้อมูล ในฐานะของ "สื่อ" ที่เขาบ่มเพาะแนวคิดของอี-คอมเมิร์ซ ขึ้นมาเป็นลำดับ จนกลายมาเป็นกติกาการตลาดแบบใหม่ในโลกของอินเตอร์เน็ต ที่เขาเรียกว่ากฎ 4 I ที่เป็นการฉีกกฎ 4 p ในโลกการค้าแบบเก่า

อันที่จริงแล้ว พิพัฒน์เป็นวิศวกรในโรงงานธรรมดา มีแต่ความรู้ด้านเทคนิค จนมีโอกาสได้เปลี่ยนงานมาทำทางด้าน business development ต้องรับผิดชอบเรื่องการนำไอทีมาใช้ในธุรกิจ ทำให้มุมมองของการเปิดเข้าสู่เรื่องราวทางธุรกิจ เป็นเรื่องของการประยุกต์ไอทีมาใช้งาน ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคเพียงอย่างเดียว เกิดเป็นโมเดลใหม่ขึ้นในความคิดของเขา ที่เป็นการผสมผสาน 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ จากบทบาทของการเป็น "สื่อ" ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ จากการที่เขามีโอกาสเข้าไปจัดรายการในเรื่องไอทีให้กับวิทยุผู้จัดการเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ก็ยิ่งทำให้มุมมองของเขาเปิดกว้างมากขึ้น

จึงกลายเป็นบทบาทสองส่วน ที่ผสมผสาน และเกื้อหนุนกันตลอดเวลา ระหว่างการเป็นสื่อ และการทำงาน

เขามีโอกาสได้เข้าไปเป็น web master ให้กับปรส. ในการพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อไว้เป็นการถ่ายทอดข้อมูลของปรส. ซึ่งการชักชวนนี้ก็มาจากการที่มีคนในปรส.อ่านเจอบทความของเขา ที่เขียนเกี่ยวกับการนำอินเตอร์เน็ตไปใช้ประโยชน์ของปรส.

จนกระทั่งเขาได้มีโอกาสมาทำงานกับบริษัทแอนเดอร์สัน บริษัทที่ปรึกษาข้ามชาติ ที่กำลังให้ความสนใจในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซ การมาทำงานร่วมกับแอนเดอร์สัน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์ในเรื่องของอี-คอมเมิร์ซ ทั้งในเชิงกว้าง และลึกของเขา

"การเป็นที่ปรึกษา เราต้องดูทั้งในเรื่องการวิจัยของตลาด บทบาทของอี-คอมเมิร์ซ และยังต้องลงลึกไปถึงทางด้านเทคนิค การวางระบบเครือข่าย ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการออกแบบระบบ รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย ที่จะนำมาใช้ในการติดตั้ง"

ประสบการณ์ ที่เปลี่ยนไปเหล่านี้เอง ส่งผลไปถึงพัฒนาการในบทบาทของ "สื่อ" ที่สะท้อนออกมาจากการเขียนคอลัมน์ใน "ผู้จัดการรายวัน" ใน คอลัมน์ ที่เขาให้ชื่อว่า internet folio ที่นำเอาบริษัท ดอท.คอม ทั้งหลาย ที่ทำธุรกิจออนไลน์ และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น nasdaq มาวิเคราะห์กันทั้งใน แง่มุมความเป็นมาเป็นไปของธุรกิจ รวมถึงราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ ที่มีแนว โน้มไปทางบวกหรือลบ

พิพัฒน์ใช้เวลาปีกว่ากับการทำงาน ที่แอนเดอร์สัน ให้คำปรึกษากับทั้งบริษัทในไทย และบางครั้งก็ต้องบินไปทำงานร่วมกับแอนเดอร์สันในประเทศ อื่นๆ ด้วย และการไปเป็นที่ปรึกษาด้านอี-คอมเมิร์ซให้กับบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น เป็นครั้งสุดท้าย ที่เขาได้ยุติชีวิตของการเป็นที่ปรึกษา

หลังจากบินกลับมาเมืองไทย เขาได้รู้จักกับนักลงทุนท้องถิ่น ที่เรียกกันว่า venture capital ท้องถิ่น ที่ให้ความสนใจกับแนวโน้มของอี-คอมเมิร์ซอย่างมาก ซึ่งได้กลายเป็นจุดพลิกผัน ที่ทำให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างมาเป็นเถ้าแก่เต็มตัว

"ช่วงนั้น ผมยอมรับว่าคิดหนักมาก เงินทุนไม่ใช่ปัจจัยหลัก แต่สิ่งที่สำคัญคือ ไอเดีย ที่ยังไม่ได้พิสูจน์ออกมาเป็นรูปธรรม หลายๆ คนมอง ที่ปรึกษาว่า เคยแต่ให้คำปรึกษาพอถึงเวลาทำจริงไม่รู้ทำได้หรือเปล่า ตรงนี้คือ บทพิสูจน์อย่างหนึ่ง"

เวลา 3 ปี กับเงินลงทุน 50 ล้านบาท คือ ข้อเสนอ ที่พิพัฒน์ ได้จาก venture capital ท้องถิ่น ที่จะปล่อยให้เขานำเสนอแนวคิดได้อย่างเต็มที่ และ เขาใช้เงินไปกับโครงการนี้เพียงแค่ 5 ล้านบาท

เป็นเรื่องน่าแปลกสำหรับหลายคนที่สงสัยว่าทางเลือกของการเริ่มต้น ในธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตกลับแตกต่างไปจากประสบการณ์อย่างสิ้นเชิง เขาไม่ได้ทำอี-คอมเมิร์ซ แต่สิ่งที่เขาทำคือ ธุรกิจรับจดชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาไทย

"คนจะทำเว็บไซต์ดียังไงก็ตาม แต่ถ้าไม่มีคนใช้อินเตอร์เน็ต ก็ไม่มีประโยชน์ ผมว่าตรงนี้อยู่ ที่ว่าใครจะมองทะลุได้ยังไง ที่จะทำให้เกิดลูกค้าขึ้นมาก่อน" พิพัฒน์บอกถึงรากฐานความคิด

เว็บไซต์ภาษาไทย ที่เกิดขึ้นทุกวันบนอินเตอร์เน็ต คือ โอกาสทางธุรกิจ ที่พิพัฒน์มองเห็น และการเลือกจดทะเบียนเว็บไซต์ภาษาไทย ไม่ได้หมายความว่าเขาจะละเลยความเป็น "สากล" ของอินเตอร์เน็ต แต่เขากำลังสร้างช่องทาง ที่จะทำให้คนเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น

พิพัฒน์ และทีมงานใช้เวลา 3 เดือนเต็ม ในการพัฒนาซอฟต์แวร์มา เพื่อ ให้โปรแกรมบราวเซอร์ สามารถรับรู้ และเข้าใจชื่อ ที่อยู่เว็บไซต์ ที่เป็นภาษาไทยได้ พิพัฒน์พัฒนาโปรแกรม ไทยยูอาร์แอล ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ฟรี เพื่อให้บราวเซอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อ่านชื่อภาษาไทยได้

ที่มาของรายได้จากไทยยูอาร์ แอล ก็คือ ค่าจดทะเบียนปีละ 800 บาท ซึ่งจะเริ่มเก็บในปีถัดไป ในเวลาไม่ถึง 2 เดือน มีเว็บไซต์ภาษาไทย ที่มาจด ทะเบียนกับเขาแล้ว 3,000 ราย เป็นทั้งเว็บไซต์ ที่มีอยู่เดิม และเว็บไซต์ใหม่

เมื่อเขาได้พื้นฐาน หรือโครงสร้างของซอฟต์แวร์แล้ว สิ่งที่จะตามมาก็คือ เขาสามารถจะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ คือ รับจดชื่อทะเบียนเป็นภาษาไทย แต่เป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศเหล่านั้น

ชื่อไทย.คอม เป็นแค่ 1 ในไอเดียของธุรกิจ ที่มีอยู่ในแผนเท่านั้น ในโลกของอินเตอร์เน็ต ไม่มีคำว่าหยุดนิ่ง เป้าหมายระยะยาว ที่พิพัฒน์มองก็คือ การจะทำให้ชื่อเว็บไซต์ของไทยเป็นชื่อสามัญ ที่ไม่ต้องมีคำว่า .คอม หรือ ดอท อะไรก็ตามแต่ห้อยท้าย

เป้าหมายในระยะยาวของพิพัฒน์ ก็คือ การจะมีชื่อไทย.คอมใน คอลัมน์ Internet folio และนั่นก็หมายถึงการที่ชื่อไทย.คอมจะไปจดทะเบียนในตลาด แนสแดค แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น พิพัฒน์ และทีมงานจะรับมือกับการแข่งขัน ได้อย่างไรกับการรับจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ไทย ไม่ใช่ชื่อไทย.คอมเท่านั้น แต่คู่แข่งรายใหม่ ที่เข้าสู่ตลาดกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us