Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"เจนกิจ สวัสดิโอ "กิติบุตร" รุ่นที่ห้า"             
 


   
search resources

กิติทิพย์ พร็อพเพอร์ตี้
เจนกิจ สวัสดิโอ




ตระกูลกิติบุตร เป็นตระกูลเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่ตระกูลหนึ่งเช่นเดียวกับตระกูลนิมมานเหมินทร์ ชุติมา ศักดาทร ฯลฯ ที่มีความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีต้นตระกูลคือพระนายกคุณากร ผู้รับราชการเป็นเลขาเจ้าเมืองเชียงใหม่

สินทรัพย์หลักของตระกูลใหญ่ ๆ ที่มีอายุหลายชั่วคน ไม่ว่าที่ไหน ๆ ในโลกนี้หนีไม่พ้นที่ดิน "กิติบุตร" ก็เช่นเดียวกันที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของที่ดินใหญ่รายหนึ่งของเชียงใหม่ เฉพาะในเขตตัวเมืองที่เป็นที่รับรู้กันก็คือที่ดินอันเป็นที่ตั้งของตลาดสดประตูเชียงใหม่ โรงแรมเชียงอินทร์ และศูนย์การค้าเชียงอินทร์เดิม โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา รวมทั้งที่ดินผืนใหญ่ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา ซึ่งล้วนแต่เป็นที่ดินในทำเลทองทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้ถ้าจะไม่ถึง 100 ไร่ก็คงจะลดหย่อนลงมาไม่มากนัก

"บอกตรง ๆ ว่า ผมเองก็ไม่รู้ว่าตระกูลของเรามีที่ดินอยู่ทั้งหมดเท่าไร เพราะว่ากระจัดกระจายและไม่เคยมีการสำรวจรวบรวมกันอย่างเป็นกิจลักษณะ" เจนกิจ สวัสดิโอ กรรมการบริหารบริษัทกิติทิพย์ พร็อพเพอร์ตี้กล่าว

เจนกิจ นับเป็นรุ่นที่ 5 ของกิติบุตรแต่สืบสายเลือดมาทางแม่ เขาเป็นลูกชายของอาจารย์เบญจาแห่งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกำจัด สวัสดิโอ เบญจา เป็นลูกสาวคนเดียวในบรรดาลูก ๆ ทั้งหมด 6 คนของ จรัล กิติบุตรและบู่ทอง ทิพยมณฑล

จรัลซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 ของกิติบุตร เป็นผู้ที่นำพาธุรกิจของตระกูลเข้ามาสู่การพัฒนาที่ดินเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว เริ่มต้นด้วยการก่อสร้างตลาดประตูเชียงใหม่ เมื่อปี 2510 ศูนย์การค้าเชียงอินทร์ และให้กลุ่มว่องกุศลกิจเช่าที่ดินในบริเวณเดียวกับศูนย์การค้าก่อสร้างโรงแรมเชียงอินทร์ ทั้งหมดนี้อยู่บนที่ดินของตระกูลซึ่งสั่งสมกันมาตั้งแต่รุ่นต้น ๆ

ธุรกิจหลักในรุ่นที่ 1 และ 2 ของกิติบุตรคือการเดินเรือค้าขายสินค้าระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพ และโรงสีข้าว โดยมีที่นาของตัวเองอยู่จำนวนหนึ่งที่จะป้อนข้าวเข้าสู่โรงสี ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นที่มาของการสะสมที่ดิน จนกลายเป็นทุนราคาถูกสำหรับลูกหลานในรุ่นต่อ ๆ มา

กิติบุตรรุ่นที่ 4 ซึ่งได้แก่บรรดาลุง ๆ น้า ๆ ของเจนกิจ เริ่มขยายเข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ทั้งร้านอาหาร รีสอร์ท โรงเรียนโปลิเทคนิคลานนา และอพาร์ทเม้นท์ให้เช่น กำลังหลักที่สำคัญในรุ่นนี้คือ จุลทรรศน์ จุลพันธ์ และจุลเทพ

รายได้หลักของตระกูลไม่ว่าจะอยู่ในรุ่นไหน ยังคงมาจากค่าเช่า ตกทอดมาถึงรุ่นของเจนกิจ โครงการ "เชียงอินทร์พลาซ่า" ที่เขารับผิดชอบอยู่ในขณะนี้ก็ยังคงเป็นการพัฒนาที่ดินเพื่อเก็บค่าเช่าในรูปแบบของศูนย์การค้า โครงการมูลค่า 500 ล้านบาทซึ่งดำเนินการในนามของกิติทิพย์ พร็อพเพอร์ตี้ ตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ 2 ไร่ ด้านหน้าของโรงแรมเชียงอินทร์เดิมคือที่ตั้งของศูนย์การค้าเชียงอินทร์ที่เป็นห้องแถว เมื่อหมดอายุการเช่าตระกูลกิติบุตร ตัดสินใจรื้อตึกแถวทั้งหมดทิ้งเพื่อทำเป็นศูนย์การค้าสมัยใหม่สูง 4 ชั้น สำหรับร้านค้าที่กำหนดพื้นที่ไว้จำนวน 60 ห้อง โดยมีอายุการให้เช่าประมาณ 5-25 ปี ในราคาตารางเมตรละ 45,000-80,000 บาท" ตอนนี้ขายไปแล้วประมาณ 90% ของพื้นที่" เจนกิจซึ่งเข้ามารับผิดชอบโครงการนี้เป็นโครงการแรกกล่าว

เชียงใหม่ในปี 2535 มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ผุดขึ้นมา แม้จะเพียง 2 แห่งคือกาดสวนแก้ว ของสุชัย เก่งการค้าแห่งกลุ่มหินสวยน้ำใส และแอร์พอร์ตพลาซ่าของกลุ่มตันตราภัณฑ์แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังซื้อท้องถิ่นที่มีอยู่จำกัดแล้ว ในขณะที่ศูนย์การค้าแห่งที่ 3 คือสีสวนพลาซ่าของตระกูลเหลืองไชยรัตนก็กำลังจะเกิดขึ้นหลาย ๆ คนรู้สึกเป็นห่วงอนาคตของเชียงอินทร์พลาซ่า" เรามั่นใจในเรื่องโลเกชั่นและโพสิชั่น" เจนกิจกล่าวสั้น ๆ โลเกชั่นนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่าเยี่ยมยอดที่สุดสำหรับธุรกิจการค้าของเชียงใหม ่คือถนนช้างคลานส่วนโพสิชั่น ก็คือการจัดตำแหน่งของเชียงอินทร์พลาซ่าในระดับบนเช่นเดียวกับเพน นินซูล่าพลาซ่าของกรุงเทพที่มุ่งจับลูกค้าประมาณ 70% จากกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับ บีบวก ขึ้นไปทั้งไทยและเทศ ที่เหลือเป็นคนท้องถิ่นที่ให้ความสนใจเรื่องคุณภาพมากกว่าราคา

ภายใต้แนวความคิดเช่นนี้ เชียงอินทร์พลาซ่าจึงไม่ใช้วิธีโหมขายพื้นที่อย่างเปิดกว้างแต่เจนกิจและสุพจน์ กุลปรางค์ผู้จัดการฝ่ายการตลาด จะเลือกสรรเฉพาะร้านค้าที่เข้ากันได้กับแนวความคิดเท่านั้นและชักชวนให้มาเช่าพื้นที่

นอกเหนือจากกลุ่มร้านค้าที่ขายบริการและสินค้าสำหรับชีวิตสมัยใหม่อย่างเช่นฟาสต์ฟูดส์ เครื่องแต่งกาย ร้านเสริมสวยแล้ว กลุ่มร้านค้าหลักที่คาดหวังกันว่าจะดึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้สำเร็จคือ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อและเป็นส่วนหนึ่งแห่งวัฒนธรรมของเชียงใหม่อย่างเช่น ร้านเครื่องเงินจากย่านถนนวัวลาย ร้านเครื่องไม้แกะสลัก จากหางดง ร้านเสื้อผ้าม่อฮ่อมจากป่าซาง หรือร้านขายของเก่าที่มีชื่อเสียง

เจนกิจอธิบายสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะเป็นจุดเสริมความโดดเด่นของเชียงอินทร์พลาซ่าอีกจุดหนึ่งว่า ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงในเชียงใหม่ จะกระจายกันอยู่เป็นย่าน ๆ หากสามารถรวมกันมาอยู่ในที่เดียวกันได้ ก็จะสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องเสียเวลาตระเวณซื้อของไปทั่วเมือง ซึ่งอาจจะได้ไม่ครบตามที่ต้องการหรือไม่รู้ว่าจะไปซื้อที่ไหน

เชียงอินทร์พลาซ่า เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา เป็นความรับผิดชอบชิ้นแรกของเจนกิจ สวัสดิโอ ในฐานะหัวเรือของรุ่นที่ห้าของกิติบุตร ที่ค่อนข้างชัดเจนในเรื่องแนวคิดของโครงการ ธุรกิจเก็บค่าเช่าที่ปรับโฉมเข้ากับยุคสมัยของกิติบุตรชิ้นนี้จะไปได้สวยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us