Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 พฤษภาคม 2550
"N-PARK-ไทยสมุทรฯ" สู้ถึงตาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ แนเชอรัล พาร์ค

   
search resources

แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.




ทันทีที่ศาลล้มละลายได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อ 25 มกราคม 2550 ที่มีคำพิพากษาเมื่อ 31 ตุลาคม 2548 ให้ยกคำสั่งและคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายกลางที่พิจารณาเมื่อ 1 กันยายน 2546 อาการของบรรดาเจ้าหนี้รายใหม่ต่างดำเนินการติดตามทวงหนี้สินที่มีกับ N-PARK ทันที เพราะไม่แน่ใจว่าสถานะของ N-PARK จากนี้ไปจะเป็นอย่างไรเนื่องจากเกรงว่าหากมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้รายนี้สู่ภาวะล้มละลายการติดตามหนี้จะยากและได้คืนไม่ครบ

เริ่มจากธนาคารยูโอบี ฮ่องกง ได้การบังคับขายหุ้นบริษัท ฟินันซ่า จำกัด(มหาชน) หรือ FNS จำนวน 8,035,200 หุ้น เมื่อ 12 เมษายน 2550 ที่บริษัทนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเพื่อนำเงินมาชำระหนี้

ตามมาด้วยธนาคารนครหลวงไทยได้ทำหนังสือให้บริษัททำการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย โดย N-PARK ได้เงินกู้จากธนาคารจำนวน 2,250 ล้านบาท เมื่อ 11 ธันวาคม 2546 ปัจจุบันยอดเงินกู้คงเหลือ1,385 ล้านบาท โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลค่าปัจจุบันรวม 1,500 ล้านบาท

ผลการเจรจาในขณะนี้ไม่มีทีท่าว่าจะยืดอายุออกไปได้ ขณะที่ N-PARK ก็ไม่สามารถหาสถาบันการเงินที่จะมีรีไฟแนนซ์หนี้จากนครหลวงไทยได้

ขณะที่หนี้อีกก้อนกับธนาคารกรุงไทยที่มียอดคงเหลือ 1,335 ล้านบาท จ่อคิวที่จะต้องชำระคืนอีก หนี้ก้อนหนี้มีหลักประกันมูลค่า 1,700 ล้านบาท

แม้บริษัทจะพยายามหาทางออกด้วยการเพิ่มทุนอีก 4 พันล้านบาทที่จะรู้ผลในวันที่ 15 มิถุนายน แต่ความหวังคงเลือนลาง เนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ของบริษัท ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาขายที่ 0.55 บาทนั้นเป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาดที่อยู่ที่ 0.22 บาทต่อหุ้น

เสริมสิน กล่าวว่า การจัดการกับภาระเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินนั้น บริษัทได้เตรียมทางออกไว้บ้างแล้ว กรณีเลวร้ายที่สุดคือการขายทรัพย์สินและหุ้นที่ถือออกไปทั้งหมด ที่ประกอบด้วย PA จำนวน 62.50% หุ้น SIRI จำนวน 21.90% หุ้น SYNTEC จำนวน 19.95% หุ้น FNS ในส่วนที่เหลือ และหุ้น BMCL ราว 6.8% คาดว่าเพียงพอต่อการชำระหนี้และยังมีเงินเหลืออีกราว 1 พันล้านบาท

ส่วนโครงการที่อื่นอีก 3 โครงการเช่น โรงแรมโนโวเทล พันวา ภูเก็ต ที่ได้พันธมิตรอย่างเลห์แมนเข้ามาร่วมนั้นสถานะทางการเงินไม่มีปัญหา โครงการโรงแรมสยามด้านหลังศูนย์การค้าสยามพารากอนมีกลุ่มทุนจากบาร์เรนมาเป็นพันธมิตร และโครงการร้อยชักสามได้กลุ่มอามันรีสอร์ตเข้ามาร่วมงาน ทั้ง 3 โครงการไม่มีปัญหาอะไรเดินหน้าต่อไปได้

"เราไม่รู้ว่าในอดีตนั้นผู้ถือหุ้นเดิมมีปัญหาอะไรกัน กลุ่มของเราเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในปี 2546 แน่นอนว่าเราถือราว 2 ใน 3 ที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นเดิม แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ได้พยายามแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ขณะนี้กำลังหาทางเจรจากับกลุ่มไทยสมุทรฯ อยู่" เสริมสินกล่าว

แหล่งข่าวจากวงการหลักทรัพย์กล่าวว่า ตอนนี้ต้องรอความชัดเจนทางกฎหมายว่า N-PARK ว่าจะต้องกลับไปฟื้นฟูกิจการใหม่ หรือต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ซึ่งตรงนี้ไม่มีใครตอบได้แม้แต่ผู้บริหารของบริษัท ไม่ว่าจะกลับไปฟื้นฟูใหม่หรือถึงขั้นล้มละลายมูลค่าหุ้นของ N-PARK ก็คงไม่เหลือค่าอีก แต่ถ้าชัดเจนว่าไม่ต้องกลับไปเริ่มใหม่ เดินหน้าธุรกิจได้ต่อ N-PARK ก็จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

"นักลงทุนโดยเฉพาะรายย่อยต้องตัดสินใจเองว่าจะถือต่อหรือลดความเสี่ยง เพราะไม่มีใครทราบว่าทุกอย่างจะชัดเจนเมื่อไหร่ จะใช้เวลานานแค่ไหน"

หาก N-PARK ต้องกลับเข้าสู่กระบวนการล้มละลายใหม่ โดยไม่นับว่าการฟื้นฟูกิจการที่ผ่านมานั้นเกิดขึ้นคงจะมีความวุ่นวายตามมาอีกมาก เนื่องจากที่ผ่านมาเจ้าหนี้ทุกรายได้ให้ความเห็นชอบกับแผนไปแล้ว และในส่วนของไทยสมุทรฯ ก็ได้รับการชำระหนี้ด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนไปแล้ว

แค้นฝังลึก

ด้วยมูลหนี้ 200 ล้านบาทที่บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ฟ้อง N-PARK ในคดีล้มละลายต่อศาลฎีกาเมื่อ 28 มีนาคม 2543 และไม่ฟ้องต่อเนื่องไม่ยอมลดละนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความบาดหมางของเจ้าของ N-PARK เดิมกับตระกูลอัสสกุลได้เป็นอย่างดี

เจ้าของเดิมของ N-PARK คือทศพงศ์ จารุทวี ที่ปั้น N-PARK เข้าตลาดหุ้นขยายกิจการด้วยการรุกเทคโอเวอร์ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ จนสร้างความฮือฮาให้กับผู้คนในวงการ ขณะเดียวกันก็มีพันธมิตรเก่าแก่ของทศพงศ์อย่างบริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัยของตระกูลอัสสกุลเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน N-PARK

นอกจากการถือหุ้นแล้วทั้งทศพงศ์และกลุ่มของไทยสมุทร ยังเข้ามาร่วมกันในการดำเนินโครงการบางกอกการ์เด้นท์ในนามบริษัทแนเชอรัลสแตนดาร์ด จำกัด เป็นคอนโดมิเนียมย่านสาธุประดิษฐ์ โดยซื้อต่อมาจากกลุ่มของธนาคารกรุงเทพบางส่วน ทั้งหมด 7 อาคาร จำนวน 700 ยูนิต

กระทั่งเหตุการณ์ลดค่าเงินบาทในปี 2540 ธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาทางด้านด้านการเงินและ N-PARK ก็เช่นเดียวกัน ระหว่างนั้นได้เกิดความขัดแย้งระหว่างทศพงศ์กับกลุ่มไทยสมุทร ธุรกิจหลายด้านของไทยสมุทรก็ประสบปัญหาเช่นกันต้องขายออกไปเช่นธุรกิจด้านหลักทรัพย์

ไม่มีใครทราบความขัดแย้งที่ชัดเจน แต่จากการฟ้อง N-PARK ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 ถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ฝ่ายได้เป็นอย่างดี

แม้ N-PARK จะเลือกวิธีการชดใช้หนี้สินต่าง ๆ ให้กับเจ้าหนี้ด้วยการขอศาลล้มละลายกลางเพื่อฟื้นฟูกิจการในเดือนถัดมา แม้กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะเดินหน้าจนผ่านมติความเห็นชอบของเจ้าหนี้ แต่กลุ่มไทยสมุทรได้ยื่นอุทธรณ์แผนต่อศาลฎีกาเมื่อ 17 มกราคม 2544

เหตุการณ์ล่วงเลยข้ามไปถึงปี 2546 ในวันที่ 5 มีนาคม ศาลฏีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายที่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ โดยระหว่างนั้นการฟื้นฟูกิจการของ N-PARK แล้วเสร็จจนศาลล้มลายมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ N-PARK ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2546

ไทยสมุทรฯ ยังยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาที่ศาลล้มละลายกลางจำหน่ายคดี N-PARK ออกจากระบบ เพื่อขอให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินคดีล้มละลายที่งดพิจารณาไว้ต่อไปตลอดปี 2548 ต่อเนื่องถึงปี 2549 กระทั่ง 25 มกราคม 2550 ศาลล้มละลายกลางได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 ที่มีคำพิพากษายกคำสั่งและคำวินิจฉัยของศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งจำหน่ายคดี N-PARK ออกจากสารบบ

ขณะนี้คดี N-PARK ยังไม่จบกลุ่มไทยสมุทรฯ ยังเอาจริงเอาจังในเรื่องการฟ้องร้องให้ N-PARK ล้มละลาย มีเพียงทศพงศ์ จารุทวีกับคนในตระกูลอัสสกุลเท่านั้น ที่จะรู้ว่าความขัดแย้งของ 2 ฝ่ายนั้นเกิดขึ้นจากอะไร แต่กว่าจะได้ข้อยุติ N-PARK คงอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างจากคนที่ตายไปแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us