Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์14 พฤษภาคม 2550
"เครดิตบูโร"ล้างภาพหน่วยขึ้นบัญชีดำ หนุน"จัดเรทติ้งผู้กู้"แต้มต่อขอสินเชื่อ             
 


   
search resources

ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ - NCB
Loan




ข้อมูลเครดิตแห่งชาติหรือ "เครดิต บูโร" เร่งผลักดันกฎหมาย เครดิตสกอริ่ง ชำระล้างภาพ "หน่วยขึ้นบัญชีดำ" หลังเวลาเกือบทศวรรษ ได้กำหนดนิยามตัวเองเป็น "หน่วยเฝ้าระวังภัย" แต่กลับถูกมองจากสังคมภายนอกเป็นเหมือน "สายตรวจ" คอยตรวจจับประวัติผู้ขอสินเชื่อ จนหลายต่อหลายคน "สอบตก" ถูกขึ้นป้าย "แบล็คลิสต์" ทำให้เกิดคำถามว่า แท้จริงแล้ว "เครดิต บูโร" จะอยู่ข้างฝ่ายไหน ระหว่างผู้พิพากษาโทษความผิดทางวินัยจากการขาดส่งค่างวดหรือ หน่วยกู้ภัยที่คอยช่วยเหลือผู้กู้ให้มีอำนาจต่อรองกับสถาบันการเงินได้โดยไม่กระอักกระอ่วนใจ...

การผลักดันกฎหมายให้มีการจัดเรทติ้งหรือเครดิต สกอริ่งสำหรับผู้ขอสินเชื่อสถาบันการเงิน อย่างเอาจริงเอาจังในรอบทศวรรษ คือสิ่งที่กำลังอธิบายว่า บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติหรือ "เครดิต บูโร" ต้องการจะเลือกข้างว่า อยู่ในสถานะเป็นเพียงผู้เก็บรวบรวมข้อมูล และต้องการสร้างโอกาสให้กับผู้ขอสินเชื่อสถาบันการเงิน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยมีอำนาจต่อรองกับสถาบันการเงินได้บ้าง

สำหรับเมืองไทย การจัดเรทติ้งหรือ เครดิตสกอริ่งผู้ยื่นขอสินเชื่อสถาบันการเงินเป็นรายบุคคล อาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ในต่างประเทศกลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้วและค่อนข้างมีผลในด้านบวก หากมองในแง่อำนาจการต่อรอง หรือพูดง่ายๆก็คือ ในสนามรบที่แข่งขันรุนแรง สถาบันการเงินหลายแห่งต่างก็ต้องการลูกค้าประวัติดีเพื่อลดทอนความเสียหาย ดังนั้นถ้าผู้กู้รายใดมี แต้ม ต่อรองที่มากพอ ก็จะถูกมะรุมมะตุ้มจากสถาบันการเงิน หรือถ้าหากถูกปฏิเสธก็ยังไปกู้ที่อื่นได้โดยไม่เสียโอกาส

ว่ากันว่า ในแถบเอเชีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ จัดตั้งเครดิตสกอริ่งไปล่วงหน้านานแล้ว ในขณะที่ อินเดียและจีนก็ตามหลังมาติดๆ ส่วนอินโดนีเซียก็กำลังจะจัดตั้งบริษัทข้อมูลเครดิต

นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ยอมรับว่า นับจากเริ่มก่อตั้งเป็น 2 บริษัท หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 คือ บริษัทข้อมูลเครดิตไทย และบริษัทข้อมูลเครดิตกลาง กระทั่งหลังการควบรวม และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ แต่เวลาเกือบทศวรรษ บริษัทก็ยังถูกมองเป็น "หน่วยขึ้นบัญชีดำ" ทั้งๆที่บทบาทและหน้าที่จริงๆก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้กู้ให้กับบริษัทสมาชิกใช้ในการพิจารณาสินเชื่อเท่านั้น

" เราเก็บข้อมูลสินเชื่อทุกสถาบันการเงิน ไม่ใช่แค่คนผิดนัดชำระ ทำให้เห็นสถิติว่าในเวลา 10 ปี จากที่เคยขอสินเชื่อต้องใช้เวลานาน ก็เปลี่ยนมาเป็นอนุมัติเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นการถือบัตรเครดิต 1 คน 10 กว่าใบเหมือนในอดีตแล้ว หรือถ้าไม่มีการจัดตั้งเครดิตบูโร ขึ้นมาก็คงจะมีเอ็นพีแอลหรือหนี้เสียมากกว่านี้"

ปัจจุบันมีผู้บริโภคใช้บริการขอสินเชื่อถึง 46 ล้านบัญชี หรือ 13 ล้านราย เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต 11 ล้านบัญชี สินเชื่อบุคคล 9 ล้านบัญชี สินเชื่อรถยนต์ 3.4 ล้านบัญชี และสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2.6 ล้านบัญชี และมีผู้เข้ามาขอรายงานข้อมูลเครดิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากกว่า 50% คิดเป็น 4 พันกว่าราย

อย่างไรก็ตาม การผลักดันกฎหมาย เชื่อว่าจะทำให้ลูกค้ามีคะแนนหรือ แต้ม เพื่อนำไปเป็นอำนาจต่อรองเวลาไปขอสินเชื่อได้เหมือนที่เคยเกิดในต่างประเทศ นั่นก็คือ ถ้าลูกค้าประวัติดี สถาบันการเงินก็ควรจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่ารายอื่น แต่ถึงอย่างนั้นการจัดเรทติ้งรายตัวของผู้กู้ก็ยังต้องผ่านด่านสุดท้ายคือ การพิจารณาจากสถาบันการเงินอยู่ดี

นั่นก็หมายความว่า การจัดทำเครดิต สกอริ่ง สำหรับผู้กู้ ไม่ได้การรันตีการขอสินเชื่อได้ทั้ง 100% เพราะสถานภาพของแบงก์ก็ยังถือไพ่เหนือกว่า...

ในขณะที่ตามปรกติ ลูกค้าจะไม่มี "เครดิต สกอริ่ง" เพราะในความเป็นจริงจะถูกกำหนดโดยสถาบันการเงิน ดังนั้นลูกค้าจึงไม่มีหลักเกณฑ์อ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลตัวเองกับผู้อื่น นอกจากนั้นการจะตรวจสอบข้อมูลตัวเองก็ต้องผ่านช่องทางของสถาบันการเงินเหมือนเช่นทุกวันนี้

" ทุกวันนี้เราถูกกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบตายตัว เช่นบัตรเครดิตก็ 20% แต่ถ้ามีการจัดเรทติ้งเป็นรายบุคคล ในสภาพการแข่งขันรุนแรง อัตราดอกเบี้ยก็คงไม่ถูกกำหนดตายตัว หรือใช้อัตราเดียวกันทั้งหมด ทั้งที่ประวัติการผ่อนงวดชำระต่างกัน"

นิวัฒน์ บอกว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะมีข้อมูล 2 ส่วนคือ ประวัติทั่วไป และประวัติการกู้สินเชื่อ โดยมีวงเงินกู้ และวงเงินค้างค่างวดปรากฏอยู่ จุดนี้จึงทำให้สถาบันการเงินใช้เป็นหลักในการพิจารณาสินเชื่อ ทำให้รายที่ค้างค่างวดมักจะสอบไม่ผ่าน หรือขอสินเชื่ออื่นไม่ได้ แถมชื่อยังติดยาวอยู่นานถึง 3 ปี เพราะเครดิตบูโรจะจัดเก็บข้อมูลในช่วงเวลากำหนดเท่านั้น

ดังนั้นรายที่ติดค้างชำระนานหลายงวด ก็จะถูกตรวจจับโดยผู้ให้กู้ ดีไม่ดีก็อาจถูกมองเป็นกลุ่มชนที่ไม่น่าคบหา เพราะเริ่มจะมองเห็นอาการอ่อนแรงทางการเงินมากขึ้นตามลำดับ

นอกจากนั้น ยังมองว่าในช่วงอัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นหรือลง ก็มักจะมีผลต่ออำนาจการใช้จ่าย หรือเป็นภาระผู้กู้ค่อนข้างมาก เช่น ดอกเบี้ยปรับตัวลงเพียง 1% ก็สามารถลดภาระผู้กู้ได้มาก ทั้งวงเงินผ่อนต่อเดือนและภาระดอกเบี้ย

นิวัฒน์ บอกว่า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง ทุกคนก็สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น เพราะความสามารถผ่นชำระมีมากขึ้น ภาครัฐก็พยายามหามาตรการแก้ไขโดยลดหนี้เอ็นพีแอลลง ขณะเดียวกันแบงก์รัฐอย่างกรุงไทยก็เริ่มนำร่องลดดอกเบี้ย จนแบงก์อื่นลดตาม

" เครดิต บูโร จึงช่วยให้เห็นภาพรวมสินเชื่อทั้งหมด ที่สะท้อนความสามารถในการผ่อนชำระ และสะท้อนศักยภาพผู้กู้ว่าควรจะได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มหรือไม่"

1 ทศวรรษ "เครดิต บูโร" จึงยังไม่ทิ้งภาพลักษณ์ทั้ง "หน่วยขึ้นบัญชีดำ" และ "หน่วยกู้ภัย" ในคราวเดียวกัน ถึงแม้จะมีการแก้กฎหมายเพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้กู้ แต่โอกาสก็มักจะนำมาซึ่งหายนะได้ทุกเมื่อ หากผู้กู้ขาดวินัย และแบงก์บริหารความเสี่ยงไม่ได้ผล...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us