Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์7 พฤษภาคม 2550
วัสดุก่อสร้างหนีจัดสรรทรุดพาเหรดเจาะตลาดซ่อมแซม             
 


   
search resources

Construction




วัสดุก่อสร้างปรับตัวอลหม่าม หลังตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ตลาดซ่อมแซมบ้าน ความหวังสุดท้ายดันยอดขายช่วงครึ่งปีหลัง
ผู้ผลิตสวนกระแสเปิดไลน์ผลิต-นำเข้าสินค้าไฮเอนด์ ดักกำลังซื้อลูกค้าเศรษฐี เหตุตลาดล่างเจ็บจากสงครามราคา

ความตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีให้เห็นตั้งแต่ปีก่อน และเห็นภาพชัดเจนขึ้นในปีนี้ ไม่ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการโครงการบ้านจัดสรรขายบ้านไม่ได้เท่านั้น แต่ปัญหายังลุกลามไปยังธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องด้วย เช่น ปูนซิเมนต์ เหล็ก และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เห็นได้ชัดจากการประกาศตัวเลขยอดขายของยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้างที่ลดลง โดยตลาดรวมวัสดุก่อสร้างทั้งระบบลดลงราว 7% จากปีก่อน


“ขณะที่ยอดขายปูนซีเมนต์โดยรวมของตลาดหดตัวถึง 6% อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเร่งใช้จ่ายงบประมาณได้ตามที่ประกาศไว้ จะทำให้ยอดขายปูนซีเมนต์โดยรวมปีนี้ลดลงเพียง 5%”กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย กล่าว


สอดคล้องกับแนวคิดของมาลี ทยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายโครงการ บริษัท แกรนด์ โฮมมาร์ท จำกัด กล่าวว่า จากภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัว ทำให้การเปิดตัวโครงการบ้านใหม่ลดลงด้วย ส่งผลให้ในปี 2549 ลูกค้าโครงการจัดสรรหายไป 70% เหลือเพียง 30% หรือคิดเป็นมูลค่า 100-200 ล้านบาท

ส่วนตลาดกระเบื้องในประเทศพบว่า ทุกโรงงานมียอดขายที่ลดลงเช่นกัน สวนทางกับกระเบื้องนำเข้าจากจีนของแกรนด์โฮมมาร์ทที่มียอดขายเติบโตขึ้น 30% โดยเป็นกระเบื้องราคาระดับกลาง-บนตั้งแต่ 200-400 บาทต่อ ตร.ม. เนื่องจากดีเวลลอปเปอร์หันมาสั่งซื้อกระเบื้องนำเข้าจากจีนมาใช้ภายในโรงการมากขึ้น

กระเบื้องจีนเติบโต

ปัจจุบันมีผู้นำเข้ากระเบื้องจีนเพิ่มขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด นับ 1,000 ราย โดยมี 20-30 รายที่จัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ บางรายเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้นำเข้ามาเอง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากไม่รู้จักโรงงานที่เชื่อถือได้

หันจับตลาดบน

จากยอดขายที่หดหายไปตามตลาดบ้านใหม่ที่ชะลอตัวลง ทำให้ปีนี้แกรนด์โฮมมาร์ทตัดสินใจหันมารุกตลาดรีโนเวทแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้ากระเบื้องหรูที่มีความโดดเด่นด้านดีไซน์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด และเจาะ Niche Market ซึ่งเป็นตลาดไฮเอนด์ที่มีกำลังซื้อสูงโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการที่จะซ่อมแซม และไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจแต่อย่างใด ซึ่ง มาลี มองว่า กลุ่ม Niche Market ในปีนี้น่าจะขยายตัวได้อีกมาก โดยตั้งเป้ายอดขายปีนี้เพิ่มขึ้น 15% จากปีที่ผ่านมาที่ยอดขายประมาณ 3,000 ล้านบาท

สำหรับสินค้าเจาะกลุ่ม Niche Market เป็นกระเบื้องดีไซน์หรูแบรนด์ดังจากอิตาลี สเปน และจีน อาทิ กระเบื้องทอง กระเบื้องแนวบูติค และกระเบื้องเพชร ภายใต้คอนเซ็ปต์การตกแต่งบูธ คือ Loop Nature หรือวงจรชีวิต

ตลาดล่างติดบ่วงสงครามราคา

สัญญา นองสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รอยัลเซรามิคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค กระเบื้องดินเผา ประเภทบุผนังและปูพื้น “RCI” และ “Modena” กล่าวว่า ตลาดกระเบื้องระดับล่างมีการแข่งขันด้านราคากันอย่างรุนแรง โดยลดราคาเหลือเพียง 90 บาทต่อ ตร.ม. จากราคาที่เหมาะสมที่ควรจะอยู่ที่ 140-150 บาทต่อ ตร.ม.

สำหรับตลาดกระเบื้องภายในประเทศในปีนี้ กระเบื้องระดับล่างได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากลูกค้ามีการชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน ประกอบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้กระเบื้องระดับล่างมีการทำสงครามราคากันอย่างรุนแรง เพื่อระบายสต็อคสินค้า

รุกสินค้าดีไซน์

เดิมอาร์ซีไอเน้นสินค้าที่เจาะกลุ่มเป้าหมายระดับกลางและบนเป็นหลัก โดยเป็นสินค้าที่บริษัทเป็นผู้ผลิตเองและนำเข้าจากประเทศอิตาลี สเปน จีน ซึ่งจากการศึกษาตลาดพบว่า ลูกค้ายังมีความต้องการสินค้าที่มีดีไซน์มากขึ้น จึงกลายเป็นเซกเมนต์ใหม่ที่อาร์ซีไอรุกเข้าไปทำตลาด คือ กลุ่มลูกค้าระดับบนที่ต้องการสินค้าที่มีดีไซน์โดดเด่นและแตกต่าง สามารถตกแต่งในพื้นที่ต่างๆ ไม่จำกัดแค่ภายในห้องน้ำและห้องครัว ภายใต้แบรนด์ “Taste & Tiles” ที่เน้นสีสันและความเป็นแฟชั่น เช่น กระเบื้อง Empire ที่มีลวดลายแนวโอเรียนทอลผสมผสานความเป็นไทย และประยุกต์ให้เข้ากันกับการใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตที่ใช้สีทองและเงินแพลทตินัมตกแต่งบนลวดลาย, กระเบื้อง Glamour ใช้เทคนิคพิเศษในการพิมพ์ลวดลายเงางาม ทำให้ดูนุ่มนวลหรูหรา เมื่อนำมาบุผนังจะให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับลวดลายบนวอลเปเปอร์ และกระเบื้อง Elizabeth ที่ดูมีมิติจากลวดลายที่ให้สีเหลือบทับกัน

หวังผลักยอดขายรวมโต

นอกจากนี้ “Taste & Tiles” เป็นกระเบื้องที่ใช้เทคนิคพิเศษในการเผาถึง 4 ครั้ง ทำให้เกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ และมีกรรมวิธีการขัดขอบ (Rectified) เมื่อนำมาปูที่ผนังจะได้ลวดลายที่ชิดกัน โดยตั้งราคาขายกระเบื้องปูผนัง 300-800 บาทต่อ ตร.ม. กระเบื้องปูพื้น 800-1,000 ต่อ ตร.ม. ตั้งงบการตลาด 10-15% ของยอดขาย และตั้งเป้ายอดขายสินค้ากลุ่มนี้ในปีแรก 360 ล้านบาทจากเป้ายอดขายรวม 1,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มียอดขาย 1,604 ล้านบาท

สำหรับการรุกตลาดดังกล่าว สัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีการนำเข้ากระเบื้องจากอิตาลี สเปน มากถึง 200 ล้านบาท ในขณะที่ไทยก็สามารถผลิตเองได้ จึงเริ่มหันมารุกตลาดนี้เอง เพราะไม่อยากเสียโอกาสให้ผู้ผลิตต่างชาติ แต่ผู้ผลิตจะต้องมีความแข็งแกร่ง เพราะปัญหาของผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ คือ ต้องอาศัยต้นทุนและเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต

โนวาเทร็นดา รุกตลาดกลาง

รุ่งทิพย์ ตรงกมลธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวาเทร็นด้า จำกัด ผู้นำเข้า “Damixa” ก็อกน้ำจากเดนมาร์ก, “Sonia” อุปกรณ์ตกแต่งห้องน้ำจากสเปน กล่าวว่า ปีนี้บริษัทฯ ได้แตกไลน์สินค้าให้ครอบคลุมเซกเมนต์ระดับกลางมากขึ้น จากเดิมที่เป็นสินค้านำเข้าเพื่อเจาะตลาดระดับบนเท่านั้น ได้แก่ “Novabath” แบ่งออกเป็นก็อกน้ำ, อุปกรณ์ตกแต่งห้องน้ำ, ตู้อาบน้ำแบบซาวน่าและสตรีม, อ่าวอาบน้ำวนอัดอากาศ และเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องน้ำต่างๆ และ “Isani” สินค้าในกลุ่ม DIY เช่น ชุดอุปกรณ์ตกแต่งห้องน้ำ, ชุดหัวฝักบัว, ชุดสายฉีดชำระ, สายน้ำดี, สต็อปวาล์ว ฯลฯ

โดยกลุ่มสินค้าใน 2 แบรนด์ใหม่เป็นสินค้าผลิตในไทย 10% และจ้างโรงงานประเทศจีนเป็นผู้ผลิต 90% โดยในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 130 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากปีที่แล้ว จากการเปิดตัวสินค้ากลุ่มใหม่ โดยตั้งเป้าจะรุกทั้งลูกค้ารายย่อย และลูกค้าโครงการคอนโดมิเนียมระดับกลาง ด้วยการทำตลาดเชิงรุกด้วยกลยุทธ์ Pull & Push Strategy ในการสร้างแบรนด์ “โนวาเทร็นด้า” ภายใต้งบการตลาด 20 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทฯ มีช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านโชว์รูม

คุณภาพสินค้าจีนเชื่อถือได้

รุ่งทิพย์ กล่าวว่า แม้สินค้าจะเป็นการนำเข้าจากจีน แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ เนื่องจากปัจจุบันแม้แต่สินค้าแบรนด์ดังที่จำหน่ายในโมเดิร์นเทรดหลายแบรนด์ก็หันมาจ้างโรงงานในจีนให้เป็นผู้ผลิตเช่นเดียวกัน ซึ่งโรงงานมีการเรียนรู้เทคโนโลยีในการผลิตอย่างรวดเร็ว จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us