เรื่องราวความสำเร็จของ amazon.com ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี แต่สามารถสร้างธุรกิจจนมีมูลค่ามากกว่าบริษัทผลิตรถยนต์บางแห่ง
มันเป็น ความสำเร็จ ที่ฉีกรูปแบบธุรกิจดั้งเดิมทิ้ง อะเมซอนไม่มีร้านค้าบนดินแม้แต่ร้านเดียว
มีเพียงร้านค้าในโลกของไซเบอร์สเปซ กับคลังสินค้าเพียงแห่งเดียว อดไม่ได้ ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับโลกธุรกิจใบเก่าอย่าง
บานส์ แอนด์ โนเบิล ร้านขายหนังสือ ที่มีสาขามากกว่า 200 แห่ง ที่กำลังกลายเป็นตำนานในอดีต
อินเตอร์เน็ต จึงเป็นสนามทดลองทางธุรกิจ ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เพราะมันยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
และยังเป็นโลกการค้า ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนก้อนใหญ่ แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิลองผิดลองถูก
สิ่งเหล่านี้เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจทำให้ลูกพี่ลูกน้อง ประพุทธ์ พรประภา
ลูกชายของพรสรรค์ กำลังเอก (พรประภา) และกฤษณ์ ณรงค์เดช ทายาทคนโตของคุณหญิงพรทิพย์
ณรงค์เดช ร่วมกันควักกระเป๋าส่วนตัวลงขัน เปิดบริษัท Z directory เพื่อเป็นส่วนร่วมในโลกธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต
การอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างการเป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ที่มองเห็นการเติบโตของธุรกิจในโลกออนไลน์
ความสำเร็จของอะเมซอน ยาฮู ที่ถูกตีมูลค่าการตลาดมากกว่า บริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ ที่มีอายุเกือบร้อยปี
เป็นเรื่องท้าทายสำหรับกฤษณ์ มันเป็นแนวโน้มของโลก ที่เกิดขึ้นแล้ว เขามองเห็น
"ช่องว่าง" และ "โอกาส" มากมายในอินเตอร์เน็ต
"เวลาผมเปิดเข้าไปในอินเตอร์เน็ต ไปหาข้อมูล
แต่ไม่มีเว็บไซต์ไหน ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของเมืองไทย มันขาดหายไป มันคือ ช่องทาง ที่เรามองเห็น"
กฤษณ์เล่าถึง ที่มาของการเลือกเข้าสู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยการทำเว็บไซต์ สมุดหน้าเหลืองออนไลน์
Z directory ไม่ได้จัดเป็นส่วนหนึ่งของเคพีเอ็น กรุ๊ป ธุรกิจจำหน่ายรถจักรยานยนต์
ที่เขาต้องรับผิดชอบอยู่ แต่เป็นเสมือนกับห้องทดลองของธุรกิจส่วนตัวของกฤษณ์ ที่เขาอยากหาคำตอบด้วยตัวเอง
ที่เขาแยกออกมาเป็นธุรกิจส่วนตัว ที่ทำร่วมกับประพุทธ์ญาติผู้น้อง
ประพุทธ์ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุเพียงแค่ 8 ปี จนจบปริญญาโท
สาขา Analysis Design and Management of Information Systems ที่ The London
School of Economics (LSE) ประพุทธ์มีประสบการณ์ และมุมมอง ที่ต่างออกไป
"ช่วง ที่เรียนผมคิดมาตลอดว่าจะต้องทำธุรกิจ
มีโครงการที่คิดขึ้นอยู่มากมาย" ประพุทธ์เล่า และส่วนหนึ่งในนั้น เขาก็ได้มาจากห้องเรียน
หลังเรียนจบประพุทธ์ตั้งบริษัท MCORP ขึ้น ที่ประเทศอังกฤษ ทำวิจัยเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ที่จะใช้เป็นรากฐานของ Z directory
ระหว่าง ที่เรียนปริญญาโท ประพุทธ์ ต้องทำวิจัยข้อมูลร่วมกับบริษัท Active
8 เกี่ยวกับการจัดอันดับบริษัทชั้นนำ 500 แห่งของโลก หนึ่งในหัวข้อเหล่านั้น ก็คือ
การวิจัยเกี่ยวกับบริษัท ที่ลงทุนนำไอทีไปแล้วมากมายแล้วได้ใช้ประโยชน์ในองค์กรได้จริงหรือไม่
"มีบริษัทจำนวนมาก ที่ลงทุนนำไอทีมาใช้ในธุรกิจ
โดยไม่รู้ว่ามันคุ้มค่าได้ประโยชน์ทางธุรกิจจริงหรือไม่ ไม่ใช่เพราะการลงทุนเพียงไม่ให้ตกรถไฟ
เพราะอย่างน้อยมันควรจะต้องสร้างลูกค้า หรือเพิ่มรายได้ให้บริษัท"
จากข้อคิดในครั้งนั้น ก็ได้กลายเป็นที่มาของการทำธุรกิจ Z directory ที่เป็นสนามทดลอง
หรือจุดเริ่มต้นให้กับธุรกิจขั้นแรกก่อน ที่ธุรกิจเหล่านั้น จะ ก้าวไปสู่การลงทุนในโลกของอินเตอร์เน็ตอย่างจริงจัง
"หลายอย่างในอินเตอร์เน็ต มันเป็นโฆษณาชวนเชื่อ
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จ เราอยากให้เขาได้ทดสอบตลาดก่อน ที่จะตัดสินใจลงทุนมากๆ
ในเรื่องเหล่านี้"
เว็บไซต์นี้จึงไม่ใช่แค่เป็นสมุดหน้าเหลืองออนไลน์รวบรวมรายชื่อเท่านั้น
แต่เขาต้องการให้เว็บไซต์นี้เป็น "ประตู" สำหรับให้ธุรกิจของไทยเชื่อมต่อสู่โลกภายนอก
เป็นประตู ที่ให้ธุรกิจเหล่านี้เกิดมูลค่าทางธุรกิจขึ้นได้จริงๆ หรือพูดง่ายๆ
ก็คือ มีออร์เดอร์เข้ามาจริงๆ และนั่นหมายถึงสิ่งที่อินเตอร์เน็ตจะเกิดประโยชน์จริง
และนี่ก็คือ โจทย์ยากสำหรับเว็บไซต์ประเภทนี้ ไม่ใช่แค่ Z directory แต่
ยังมีเว็บไซต์ของบีโอไอ เว็บไทยอีคอมเมิร์ซ กรมส่งเสริมการส่งออกเว็บ thaimarket.net
ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่กำลังพยายามกันอยู่
สิ่งที่ Z directory พยายามสร้างความแตกต่างก็คือ เขาไม่ได้ใช้วิธีไปรวบรวมรายชื่อจากแหล่งต่างๆ
แต่ให้ธุรกิจเหล่านี้สมัครเข้ามา โดยจะต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายรายปี ซึ่งจะมี
3 อัตราคือ 4,580 บาท, 4,890 บาท และ 8,900 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูล
เนื้อหาของธุรกิจ
แนวคิดนี้มาจากรากฐาน ที่ต้องการกลั่นกรอง บริษัท ที่ต้องการทำธุรกิจจริงๆ
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการตรวจสอบเครดิตเบื้องต้นของบริษัท ที่จะมีรายชื่ออยู่ในเว็บไซต์นี้
การจัดแบ่งหมวดหมู่ในเว็บไซต์นี้ มาจากการทำวิจัย ที่เขาทำร่วมกับ Active
8 แบ่งข้อมูลของเว็บไซต์นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ International คือ รายชื่อของธุรกิจส่งออกของไทย
ส่วน ที่สองจะเป็น local คือ ส่วนของบันเทิง ตั้งแต่รายชื่อร้านอาหาร, สวนสนุก,
ผับ
"เมื่อมีการติดต่อธุรกิจ เมื่อนักธุรกิจจากต่างประเทศมาเมืองไทย
ก็จะต้องมีเรื่องของบันเทิง อาหารการกิน สถานที่พักผ่อน ตรงส่วนนี้จะเป็นรายชื่อของร้านอาหารผับ"
สิ่งที่อินเตอร์เน็ตต่างไปจากสมุดหน้าเหลืองจริงก็คือ การให้เกิดการโต้
ตอบได้จริง นอกจากค้นหารายชื่อ ดูข้อมูลได้แล้ว ก็จะสามารถจองโต๊ะจอง โรงแรมผ่านเว็บไซต์นี้ได้เลย
ก่อนจะบินกลับมาเริ่มต้นทำธุรกิจในเมืองไทยประพุทธ์เปิดบริษัท เอ็ม คอร์ป
ขึ้น ที่อังกฤษ ทำธุรกิจเกี่ยวกับมัลติมีเดีย ทำซีดีรอม โฆษณาบนอินเตอร์เน็ต
บริษัทแห่งนี้ก็คือ ส่วน ที่จะมาซัปพอร์ตในเรื่องการคัดเลือกเทคโนโลยีให้กับ
Z directory นอกจากการจัดเก็บฐานข้อมูลแล้ว วิธีการค้นหาข้อมูลที่จะต้องง่ายที่สุด
หากประพุทธ์เป็นนักคิดแล้ว ประสบการณ์ทางธุรกิจของกฤษณ์ จะเป็น ส่วน ที่จะทำให้ความคิดของประพุทธ์อยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ที่แท้จริง
และจากพื้นฐานของทั้งสอง และนี่เอง ที่ทำให้เขาเลือก ที่จะทำธุรกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ผลีผลามลงทุนก้อนโต พร้อม ที่จะเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา สำหรับเขาแล้ว
การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยสองสิ่งที่สำคัญคือ คุณภาพสินค้า
และการตลาด เป็นสองสิ่งที่เว็บไซต์ของไทยยังขาดอยู่ และมันคือ เป้าหมาย ที่
Z directory ต้องทำต่อไป
"ดูอย่าง yahoo ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ดีกว่า
infoseek เลยธรรมดามาก แต่กลับประสบความสำเร็จมากมาย ก็เป็นเพราะการตลาดที่ yahoo ทำ เขาไม่ได้โฆษณาเฉพาะตัวสินค้าเท่านั้น แม้แต่ตัว เจอรี่ หยาง
เอง ก็คือ การทำการตลาดวิธีหนึ่ง" กฤษณ์สะท้อนแนวคิดของเขา ที่ใช้เวลาในการศึกษาอินเตอร์เน็ตมาแล้ว
3 ปี
แต่ทั้งประพุทธ์ และกฤษณ์ ยังต้องค้นหาต่อไป Z directory ก็ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น
ยังต้องอาศัยการลองผิดลองถูก และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องไป ตามสภาพการณ์ความต้องการของลูกค้าต่อไป