Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2536
"สยามกลการกับประวัติศาสตร์หน้าใหม่"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท สยามกลการ จำกัด

   
search resources

สยามกลการ, บจก.
พรพินิจ พรประภา
Vehicle




ชื่อของสยามกลการในอดีตที่ผ่านมาเพิ่งมีอายุการก่อตั้ง ครบ 40 ปีเมื่อปีก่อนดูจะเป็นบริษัทรถยนต์เกรดรอง เมื่อเทียบกับบริษัทผู้ค้ารถยนต์รายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้าหรือ ฮอนด้าที่เป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นด้วยกัน

แต่สำหรับนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่นแล้ว ชื่อของสยามกลการ เป็นที่ยอมรับมากสำหรับผู้บริหารของบริษัทแห่งนี้

"คุณถาวร (พรประภา-ผู้ก่อตั้งสยามกลการ) เป็นคนแรกที่นำรถยนต์นิสสันออกขายในต่างประเทศ และค่อนข้างจะเป็นที่พอใจของผู้บริหารนิสสันแห่งญี่ปุ่นมาก" คนเก่าแก่ในวงการรถยนต์บอกกับ "ผู้จัดการ" ถึงเหตุผลแห่งการยอมรับของญี่ปุ่นต่อสยามกลการ

ที่ผ่านมาสยามกลการ ในสายตาของบุคคลภายนอก ไม่ได้เป็นกลุ่มบริษัทที่ประสบผลสำเร็จมากนัก โดยเฉพาะในช่วง 5-6 ปีหลัง นับตั้งแต่ค่าของเงินเยนสูงขึ้นจนส่งผลให้ผลการประกอบการของสยามกลการตกต่ำที่สุดในรอบหลาย ๆ ปี จนต้องมีการทาบทามคนนอกมานั่งบริหารเป็นครั้งแรกของบริษัทคือ นุกูล ประจวบเหมาะ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ท่ามกลางข่าวว่าเป็นข้อเสนอของเจ้าหนี้อย่างธนาคารกรุงเทพที่ส่งผู้บริหารระดับสูงคือ ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย มาร่วมเป็นกรรมการด้วย

การมานั่งบริหารสยามกลการของอดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติคนนี้ นับว่าสร้างความสำเร็จให้กับสยามกลการในระดับหนึ่ง เพราะสามารถที่จะแก้ไขสถานการณ์ด้านการเงินของสยามกลการได้สำเร็จภายในเวลาเพียงสองปี

แต่สยามกลการต้องเป็นของคนในตระกูล "พรประภา" ดังนั้นในที่สุดนุกูลก็ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานเพื่อหลีกทางให้คุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชบุตรสาวของถาวร พรประภา ผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นรับตำแหน่งแทน

การขึ้นรับตำแหน่งประธานของคุณหญิงพรทิพย์ ในปีที่สยามกลการกำลังจะครบ 40 ปี ดูจะเป็นการเปิดยุคใหม่ของ สยามกลการ นั่นคือ การเปิดตลาดต่างประเทศ

"คุณหญิงพรทิพย์ เป็นกงสุลของเม็กซิโกประจำประเทศไทย เธอจึงมองเห็นลู่ทางในการบุกตลาดต่างประเทศด้วยการที่จะใช้ไทย เป็นฐานในการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานนิสสันในไทยไปขายในเม็กซิโกในระยะแรก" แหล่งข่าวในวงการรถยนต์กล่าวถึงนโยบายแรกของคุณหญิงพรทิพย์

แต่เรื่องที่เป็นนโยบายหลักในการบุกนอกของสยามกลการก็คือ ตลาดอินโดจีนและตลาดอาเซียน !!!

ตลาดอินโดจีนนั้นหลาย ๆ ประเทศก็ให้ความสนใจมาก เนื่องจากศักยภาพของตลาดค่อนข้างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชาหรือเวียนดนาม และประเทศไทยเองภายหลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัฒ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายแปรสนามรบให้เป็นสนามการค้า ความหวังของไทยก็คือการเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนี้ ที่สยามกลการเองก็หวังเช่นกัน

แต่ความหวังของสยามกลการ ดูจะตรงกับความหวังของนิสสันมอเตอร์ประเทศญี่ปุ่นที่เล็งตลาดอินโดจีนเช่นกันถึงกับมีการออกข่าวว่า นิสสันมอเตอร์เตรียมที่จะบุกตลาดอินโดจีนในเวลาอันใกล้นี้

พรพินิจ พรประภา รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสสยามกลการ ผู้ดูแลเรื่องตลาดดูจะร้อนใจในเรื่องนี้มาก หลังจากที่เดินทางไปดูตลาดในอินโดจีนว่ามีแนวโน้มดีแค่ไหน เขาก็ตรงไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อเจรจากับนิสสันมอเตอร์ ว่าตลาดอินโดจีน น่าจะเป็นของสยามกลการไม่ใช่ของนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่น

ซึ่งในที่สุด ความหวังของสยามกลการก็สัมฤทธิ์ผล เมื่อนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่นยินดีที่จะหลีกทางให้สยามกลการทำตลาดจุดนี้ และพรพินิจ ก็หวังว่าเขาคงจะทำสำเร็จตามเป้าที่วางไว้

พรพินิจกล่าวว่า โครงการที่สยามกลการจะผลิตรถยนต์เพื่อส่งไปขายในเวียดนามหรือในตลาดอินโดจีนนี้ กำลังอยู่ในช่วงของการเตรียมการ ภายใต้แผนงานชื่อ "เอ็นวี" ที่จะเน้นการผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลาง 1600 ซีซี "ความคืบหน้าของโครงการประมาณ 80% แล้ว"

รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสสยามกลการให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า โครงการเอ็นวีนี้ ได้รับการสนับสนุนจากนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่นเป็นอย่างดี โดยการให้มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างเครือข่ายของนิสสันใน 4 ประเทศคือ มาเลเซีย ไต้หวัน ฟิลิปปินส์และประเทศไทยเพื่อส่งขายในกลุ่มประเทศอาเซียนและอินโดจีน โดยการผลิตของโรงงานสยามกลการนี้จะใช้วัตถุดิบในไทยประมาณ 80% ที่เหลือจะเลือกจากประเทศทั้งสามตามแผนของนิสสันมอเตอร์

แผนการผลิตรถยนต์ดังกล่าวนี้ทางนิสสันมอเตอร์แห่งประเทศญี่ปุ่นประกาศว่า จะเริ่มที่ประเทศไทยจำนวนปีละ 18,000 คันจากนั้นก็เป็นที่ไต้หวันผลิตปีละ 11,000 แล้วก็เป็นที่มาเลเซียในประมาณปีนี้ประมาณปีละ 3,500 คัน จนถึงปี 2537 ก็จะเริ่มทำการผลิตที่ฟิลิปินส์ประมาณปีละ 2,500 คันเป็นประเทศสุดท้ายของแผนงานที่เน้นในเรื่องการลดปัญหาของแผนงาน ที่เน้นในเรื่องการลดปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตในประเทศญี่ปุ่นที่สูงมาก

"การทำงานในครั้งนี้ ได้รับการประสานงานอย่างดีจากนิสสันมอเตอร์แห่งญี่ปุ่นที่ให้วิศวกรเดินทางในประเทศอาเซียนหลายประเทศ และตัดสินใจเลือกประเทศเราก่อนที่อื่น" พรพินิจกล่าวและย้ำว่า โครงการดังกล่าวนี้ก็คือโครงการ "รถยนต์แห่งชาติ" ของสยามกลการที่คุณหญิงพรทิพย์เคยกล่าวว่า ในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า สยามกลการจะกลายเป็นฐานการผลิตของนิสสันในการส่งออก ไม่ใช่เป็นแค่โรงงานประกอบอย่างทุกวันนี้

พรพินิจกล่าวยืนยันว่า หากการผลิตสามารถที่จะทำได้ในปริมาณที่น่าพอใจในอนาคตนั้น โครงการผลิตรถยนต์ภายใต้รหัสเอ็นวี ก็อาจจะถึงขั้นการส่งกลับไปขายในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นไปได้

เพราะเป้าตรงนั้น คือเป้าที่สยามกลการหวังว่าจะเป็นตลาดใหญ่ของนิสสันจากโรงงานสยามนิสสันออโตโมบิลที่บางนา-ตราด กม. 21 ในยุคที่ตลาดรถยนต์ในประเทศเอง มีการแข่งขันที่รุนแรงมากจากค่ายรถยนต์ทุกค่าย ทุกประเทศ

หากทุกอย่างสำเร็จตามแผนงานที่วางไว้ บทบาทของสยามกลการก็จะเป็นแขนขาสำคัญของนิสสันมอเตอร์ในอินโดจีนอย่างแน่นอน

และเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสยามกลการที่เขียนร่วมกับนิสสันมอเตอร์หลังจากที่ถาวร พรประภา เคยเขียนบทแรกเมื่อ 40 ปีก่อนไว้แล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us