Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มีนาคม 2546
เจาะโครงข่ายผลประโยชน์ไอพีเน็ตเวิร์ก ประสานงานแข็งขันพ่อค้าผู้บริหารทศท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ทศท คอร์ปอเรชั่น




เปิดโครงข่ายผลประโยชน์ไอพีเน็ตเวิร์กและอินเทอร์เน็ต สายสัมพันธ์ชั้นยอด ฝังรากลึกสืบทอดจากยุค สุธรรม มลิลา สู่ปรีชา รักษาชาติ สบโชค จิราจินต์ และวรรษพล ปรัชญ-พฤทธิ์หรืออาจารย์ป๋วย ผ่านการโยงใยของผู้รวบรวมระบบบริษัทเอไอทีของศิริพงษ์ อุ่นทรพันธ์ ทำให้ซิสโก้ผงาดเหนือทศท.ส่วนด้าน อินเทอร์เน็ต ทีโอทีออนไลน์ กลายเป็นเวทีชำระแค้นของ"อาจารย์ป๋วย"กับฟรีอินเทอร์เน็ตที่เข้ามาขวางผลประโยชน์ บังตาจนลืมนึก ถึงภาพรวมองค์กร

แหล่งข่าวในวงการไอทีกล่าวถึงกลุ่มอิทธิพลด้านไอพีเน็ตเวิร์กในบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นว่าเทคโนโลยีไอพีเน็ตเวิร์กถือเป็นเรื่องใหม่และมีคนในทศท.ไม่กี่คนที่มีความรู้ในเรื่องนี้ ไอพีเน็ตเวิร์กเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยนายสุธรรม มลิลาเป็นผู้อำนวยการทศท.พร้อมทีมงานคู่ใจอย่าง ดร.นพรัตน์ เมธาวีกุลชัยและนายสบโชค จิราจินต์โดย ในช่วงแรกทศท.เช่าจากบริษัท มิตรสยาม อินเตอร์เนชั่นแนลโดยใช้อุปกรณ์ของ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประมาณ 12,000 พอร์ต ในราคาค่าเช่าประมาณพอร์ตละ 600 กว่าบาทต่อเดือน

ต่อมากลุ่มนี้ใช้วิธีการซื้อซ้ำหรือรีพีทออเดอร์จากบริษัท ฮาตาริ ประมาณ 1 แสนพอร์ตค่าเช่าพอร์ต ละ 400 กว่าบาทต่อเดือน

ประเด็นที่กำลังเป็นเรื่องในขณะนี้คือปปช.กำลังตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น เพราะการรีพีทออเดอร์จำเป็นต้องซื้อซ้ำจากบริษัทเดิม แต่ทศท.กลับซื้ออุปกรณ์ยี่ห้อเดิมคือซิสโก้จากบริษัทใหม่คือฮาตาริ ซึ่งถือว่าผิดระเบียบราชพัสดุว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง

"ขณะนี้ยังมีคดีความค้างอยู่ในศาล ค่าวิ่งเต้นกันเป็นมูลค่าหลาย ร้อยล้านบาท เป็นการหักหลังกันว่าจะให้แต่ไม่ให้ กลุ่มอิทธิพลดังกล่าวเกี่ยวข้องเต็มเปา"

กลุ่มนี้ยังดำเนินการในครั้งที่ 3 เพื่อให้มีการซื้อซ้ำยี่ห้อซิสโก้ แต่คราวนี้เปลี่ยนหน้าบริษัทใหม่เป็นไทย-เอ็มซี อีก 1 แสนพอร์ตโดยเสนอขออนุมัติหลักการจากบอร์ดเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.2543 และอยู่ระหว่างการเจรจา ต่อรองราคา แต่ถูกสหภาพทศท. ค้านด้วยข้อหา 5 ประเด็นคือ1.การ เช่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่โปร่งใส ไม่มีการเรียกประกวดราคา 2.การคำ นวณค่าเช่าไม่ถูกหลักการบริหารงานและไม่ถูกหลักการจัดซื้อจัดจ้าง 3.มีการเมืองเข้าแทรกแซงในการ นำเสนอขอนุมัติหลักการสำหรับการเช่าครั้งที่ 3 ในการประชุมบอร์ด ทศท.วันที่ 28 ธ.ค.2543 ตามหลักฐานต่างๆ ปรากฏว่าดำเนินการภาย ในวันเดียวกัน ตั้งแต่เสนอราคาจนถึงการอนุมัติหลักการ

4.ผลกระทบกับทศท.ในเรื่อง สภาพคล่องด้านการเงิน เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่ได้มีการพิจารณาด้านการเงินอย่างรอบคอบ เช่น ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารงานและคณะกรรมการกลั่นกรองงานก่อนนำเสนอบอร์ดทศท. เพราะทศท.ต้องรับภาระค่าเช่าเดือนละเกือบ 200 ล้านบาทสำหรับการเช่าโครงข่ายไอพี เน็ตเวิร์กจากทั้ง 3 รายตลอดระยะเวลา 3 ปีหรือเป็นเงินประมาณ 7,200 ล้านบาท และ5.การดำเนินการโครงการนี้ถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกับผู้บริหารระดับสูงของทศท.เช่นรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ รวมทั้งพนักงานในส่วนที่รับผิดชอบการให้บริการไอพี เนื่องจากการอนุมัติการเช่าในครั้งที่ 3 เป็นความร่วมมือกันระหว่างบริษัทที่เสนอราคา ประธานบอร์ดทศท. ผู้อำนวยการทศท. เลขานุการบอร์ดทศท.(นายโอฬาร เพียรธรรม รองผู้อำนวยการในขณะนั้น) โดยการอาศัยอำนาจของบอร์ดทศท.เป็นผู้อนุมัติ

ความพยายามครั้งนั้นตกไป แต่ชื่อหนึ่งที่เริ่มคุ้นหูมากขึ้นคือนายศิริพงษ์ อุ่นทรพันธ์ เจ้าของบริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีหรือเอไอที ซึ่งครั้งนั้นทำ หน้าที่เป็นผู้รวบรวมระบบหรือเอสไอ ซึ่งไม่ใช่แค่รวบรวมอุปกรณ์ แต่ยังรวบรวมสายสัมพันธ์ไว้ในอุ้งมือ

หลังการเกษียณอายุของนายสุธรรม กลุ่มที่มีบทบาทเริ่มมีการเปลี่ยนหน้าค่าตาใหม่ ปรากฏชื่อนายปรีชา รักษาชาติ รองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ทศท.นายสบโชค ซึ่งรับตำแหน่งดูแลด้านไอพีเน็ตเวิร์ก และนายวรรษพล ปรัชญ-พฤทธิ์ หรืออาจารย์ป๋วย ที่ดูแลด้านอินเทอร์เน็ต ผู้ซึ่งมีสโลแกนประจำใจว่างานด้านไอทีประกอบด้วย 3 ส่วนคือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ มันนี่แวร์

ความน่าสนใจของคนกลุ่มนี้ยังอยู่ที่การผูกพันกับซิสโก้กับเอไอทีอย่างแยกกันไม่ขาด หลังไทย-เอ็มซีล่มสลาย ทศท.กำลังมีโครง การประมูลไอพีเน็ตเวิร์กเฟสใหม่อีกประมาณ3 พันล้านบาท ภายใต้การวิ่งเต้นของพ่อค้า 2 กลุ่มคือกลุ่ม เพชราวุธที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของ ฮาตาริภายหลังเจ้าของเดิมเซ้งกิจการมาให้ต้องการอัพเกรดเน็ตเวิร์กเดิม และกลุ่มใหม่ที่ต้องการให้เปิดประมูล

หลังจากทศท.จ้างบริษัทจีเนียสเป็นที่ปรึกษาเขียนทีโออาร์ ปรากฏว่ามีการล็อกสเปกให้ซิสโก้ จนนายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรม การผู้จัดการใหญ่ทศท.ทนไม่ได้ต้องให้กลุ่ม 3 ด็อกเตอร์มารื้อทีโออาร์ใหม่ในขณะนี้

แต่ในระหว่างที่โครงการใหญ่ ยังไม่เกิดเอไอทีก็อาศัยสายสัมพันธ์ ตอดเล็กตอดน้อยโครงการของทศท.แบบล็อกสเปกอย่างโครงการ ของกรมการปกครองหรือโครงการ สกูลเน็ตของกระทรวงศึกษา

"มีคนเห็นรองปรีชากับนายศิริพงษ์ทานข้าวกันบ่อยๆอย่างเมื่อคราวไปเปิดตัวบริษัทหนึ่งที่ประมูลบิลลิ่ง อาจไม่น่าแปลกใจเพราะเป็นเรื่องปกติของธรรม-เนียมคนไทย แต่ที่น่าสงสัยคือรองปรีชามักเชียร์โปรดักต์ซิสโก้จนออกนอกหน้า"

ส่วนผลงานเด่นของนายวรรษพลด้านอินเทอร์เน็ต คือพยายามทำทุกวิถีทางที่จะดีดบริษัท ฟรีอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับสิทธิจากทศท.ให้บริการทีโอทีออนไลน์หรือการใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ให้กระเด็นออกไปจากวงโคจรด้านอินเทอร์เน็ต ไอพีของทศท.เนื่องจากฟรีอิน- เทอร์เน็ต เข้ามาขัดผลประโยชน์หลายเรื่องอย่างแรกสุดมีความพยา ยามที่จะจัดซื้ออุปรกณ์เพื่อมาให้บริการอินเทอร์เน็ตแข่งกับฟรีอิน-เทอร์เน็ต ทั้งๆที่บอร์ดทศท.สมัยนายศุภชัย พิศิษฐ์วานิชเป็นประ ธานได้ทำสัญญามอบหมายให้ฟรีอินเทอร์เน็ตให้บริการทีโอทีออนไลน์

"ครั้งนั้นจะจัดซื้อทีเดียว 440 ล้านบาท พอประธานบอร์ดรู้เรื่องสั่งห้ามพร้อมทั้งย้ายคนที่เกี่ยวข้อง 2 คนเหลือวรรษพลไว้ นึกว่าจะหมดเรื่อง แต่กลายเป็นเพาะบ่มความแค้นไว้รอวันคิดบัญชีกับฟรีอินเทอร์เน็ต"

ถึงแม้ไม่ได้ซื้อ 440 ล้านบาทแต่ยังมีความพยายามจัดซื้อลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์อีกประมาณ 90 ล้านบาททั้งๆที่ฟรีอินเทอร์เน็ตให้บริการฟรี รวมทั้งยังมีเรื่องการลง ทุนระบบป้องกันพวกแฮกเกอร์ เนื่องจากทีโอทีออนไลน์มีนโยบายเปิดกว้างให้ทุกคนเข้าถึงเพื่อประ- โยชน์ทางการศึกษา แต่ด้านหนึ่งจำเป็นต้องมีการป้องกันพวกร้อนวิชาจะแฮกเข้าสู่ระบบสร้างความเสียหายหรือเสื่อมเสียให้บุคคลที่3

ฟรีอินเทอร์เน็ตได้ทำหนังสือชี้แจงกับทศท.มาหลายครั้งเพื่อการลงทุนในระบบป้องกันดังกล่าว แต่อาจารย์ป๋วยไม่สนใจเห็นว่าไม่จำเป็น แต่พอเกิดเรื่องขึ้นจากการแฮกของผู้ไม่หวังดี ก็ถือเป็นข้ออ้างจะถอดปลั๊กทีโอทีออนไลน์ ไล่ฟรีอินเทอร์เน็ตออกจากทศท. ทั้งๆที่หากไล่เรียงความผิดกันแล้ว หาจำเลยได้ไม่ยาก

ไม่เพียงเท่านี้ กระบวนการล้างแค้นยังลามสู่ผู้ใช้บริการทีโอทีออนไลน์ทั่วประเทศ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ทีโอทีออนไลน์มักล่มในช่วงวันศุกร์ และกลับมาดีในวันจันทร์ สาเหตุที่เกิดขึ้นคือเมื่อล่มในวันศุกร์ ฟรีอินเทอร์เน็ตได้ประสานงานแจ้งไปทางอาจารย์ป๋วย แต่จะได้ยินคำตอบกลับมาเสมอว่า ให้รอวันจันทร์ ทั้งๆที่บริการทีโอทีออนไลน์ เป็นบริการเพื่อประชาชน เพื่อภาพลักษณ์องค์กรทีดี แต่กลับเป็นเรื่องรอง การแก้แค้นเป็นเรื่องหลักมากกว่า


"หากแยกเป็น 2 ด้านจะเห็นภาพไอพีเน็ตเวิร์ก เป็นการผูกขาดยึดกุมด้วยอุปกรณ์ซิสโก้ผ่านสายสัมพันธ์ผู้บริหารและพ่อค้าที่เกี่ยว ข้อง ส่วนด้านอินเทอร์เน็ตจะเห็นภาพการแก้แค้น การขาดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ไม่ได้มองภาพรวมองค์กรเป็นหลัก ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไข"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us