Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
การกลับมาอีกครั้งสหวิริยาโอเอ             
 


   
search resources

สหวิริยาโอเอ
แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ
Computer




10 กว่าปีที่แล้ว สหวิริยาโอเอ ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการเป็นตัวแทนขายคอมพิวเตอร์ แม้จะถูกมองว่าเป็นแค่ธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง อาศัยการช่วงชิงสินค้าแบรนด์ดังๆ จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดบวก ด้วยสไตล์การขายแบบถึงลูกถึงคนของแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ บวกกับสไตล์การบริหารแบบปลุกเร้าให้กับทีมงานคนรุ่นใหม่ เป็นสิ่งที่บริษัทคอมพิวเตอร์ข้ามชาติไม่มี

แต่สหวิริยาโอเอก็กลายผลผลิตของเศรษฐกิจยุคฟองสบู่ ด้วยนโยบายการแตกขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ สื่อสาร สาธารณูปโภค บรอดคาสติ้ง แจ๊คหวัง เพื่อจะมาทดแทนธุรกิจค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ผลกำไรลดลงไปทุกวัน และสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับสหวิริยาโอเอ

แจ๊คมองเห็นความเติบโตของกลุ่มทุนสื่อสาร อย่างชินคอร์ป กลุ่มยูคอม คือ ต้นอย่างที่เขาอยากจะเป็น แต่เขาลืมไปว่า ธุรกิจสัมปทานแม้จะมีอนาคตดี แต่ไม่เหมือนกับซื้อมาขายไปต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ใช้เวลาหลายปีกว่าจะคืนทุน มีเงื่อนไข และความซับซ้อนมากกว่าธุรกิจซื้อมาขายไปมากนัก สัมปทาน ที่สหวิริยาโอเอได้มาก็ล้วนเป็นเพียงสัมปทานเกรดรองๆ กลุ่มผู้ใช้จำกัด ไม่เหมือนกับสัมปทานหลักๆ อย่างโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์มือถือ

แต่แล้วเมื่อเศรษฐกิจล่มสลาย สหวิริยาโอเอก็ทรุดตามไปด้วย หนี้สิน ที่เกิดจากเงิน ที่กู้มาลงทุนเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว และหนี้เหล่านี้เป็นหนี้ระยะสั้น โครงการอนาคตทั้งหลายกลายเป็นภาระหนักอึ้ง ขณะเดียวกันธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทดแทนได้ ต้องมาเจอกับการแข่งขัน ที่หนักขึ้นทุกที จากการเข้ามาทำตลาดของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ และบริษัทค้าส่งข้ามชาติ ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วภูมิภาค

ช่วง 2 ปีมานี้ สหวิริยาโอเอต้องสูญเสียสิทธิการเป็นตัวแทนจำหน่ายหลัก (sole distributor) ของสินค้าไม่ว่าจะเป็นเอเซอร์ เอปซอน แอปเปิ้ล ที่ถือเป็นจุดแข็งของสหวิริยาโอเอไป กลายเป็นดีลเลอร์รายหนึ่งเท่านั้น สูญเสียผู้บริหาร ที่เป็นลูกหม้อ รวมถึงกนกวิภา วิริยะประไพกิจ และทีมงาน ที่ออกไป ตั้งบริษัทสตรีมทำธุรกิจออกแบบ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์

ถึงแม้ว่าแจ๊คจะพยายามแก้ปัญหา ด้วยการดึงเอาพันธมิตรต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้น เพื่อหวังจะกอบกู้สถานการณ์แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เขาจึงต้องหันไปใช้วิธีเจรจาต่อรองเจ้าหนี้ให้ยอมรับแผนฟื้นฟู ในที่สุดเจ้าหนี้ก็ยอมยกมือโหวตให้กับแผนฟื้นฟูของสหวิริยาโอเอ ด้วยคะแนนเสียง ที่ได้ไป 76% หลัง จากใช้เวลา 2 ปีเต็มในการเจรจา

การประนอมหนี้ในครั้งนี้ เจ้าหนี้ยอมตัดทิ้งหนี้ลงไป 5,000 ล้านบาท หรือ 70% ของมูลหนี้ทั้งหมด 7,000 ล้านบาท หนี้ ที่เหลืออยู่ก็ถูกแปลงเป็นหุ้น ซึ่งทำให้เจ้าหนี้เหล่านี้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ประกอบไปด้วย เจ้าหนี้สถาบันการเงิน 80% อีก 10% เป็นเจ้าหนี้การค้า คือ เอเซอร์ และเอปซอนถืออยู่ 10% และอีก 10% ผู้ถือหุ้นเดิมถือหุ้นอยู่ 10% ทั้งนี้ก็ เพื่อต้องการให้ทำงานกับบริษัทต่อไป

สินทรัพย์หลักๆ อาคารเอสวีโอเอ มูลค่า 1,000 ล้านบาท จะถูกโอนให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งจะแต่งตั้งบริษัทเฉพาะกิจ หรือ ที่เรียกว่า (Special Purpose Vehicles: SPVs) มาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสินทรัพย์เหล่านี้

ส่วนหุ้น 45% ที่สหวิริยาโอเอถืออยู่ในบริษัทเอเซอร์ คอมพิวเตอร์จะถูกโอนให้กับเอเซอร์ เซลส์ แอนด์ ดิสทริบิวชั่น เพื่อชดใช้หนี้การค้าให้กับเอเซอร์

งานนี้เจ้าหนี้เองประเมินแล้วว่าหากล้มละลายไม่คุ้มแน่ ทรัพย์สินของสหวิริยาโอเอมีอยู่เพียงแค่ 2,025 ล้านบาท หากมีการฟ้องล้มละลายมูลค่าทรัพย์สินนี้จะเหลือเพียงแค่ 960 ล้านบาทเท่านั้น หรือประมาณ 12.45% ของยอดหนี้ทั้งหมด สู้ให้บริษัทบริหารงานต่อไป ยังมีโอกาสขายหุ้นออกไปใน อนาคตเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น เพราะสหวิริยาโอเอเองก็จะต้องกลับไปซื้อขายหุ้นตามปกติอีกครั้ง

สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม การประนอมหนี้ครั้งนี้ถือว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด ถึงแม้ว่าจะเหลือหุ้นอยู่เพียง 10% กับการที่ยังมีเวทีให้เล่น มีธุรกิจให้บริหารงานต่อ ย่อมดีกว่าธุรกิจล้มละลายไป

หากมองในแง่ของโอกาสของตลาดคอมพิวเตอร์เวลานี้แล้ว มีแนวโน้มที่ดี เป็นผลพวงมาจากกระแสของอินเตอร์เน็ต และอี-คอมเมิร์ซ รวมทั้ง ปัญหา y2k ที่ทำให้หลายองค์กรชะลอการลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์

ขณะเดียวกัน สหวิริยาโอเอแม้จะสูญเสียจุดแข็งของการเป็นตัวแทนจำหน่ายรายเดียวกับสินค้าหลักๆ ไปแล้ว แต่ยังมีเครือข่ายดีลเลอร์ 400 แห่ง มี สำนักงานสาขา และศูนย์บริการอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ของทุกภาคทั่วประเทศ ที่สำคัญคือ ประสบการณ์ของผู้บริหาร 15 ปีเต็ม เป็นสิ่งที่คู่แข่งข้ามชาติ ทั้งหลายไม่มี หรืออาจต้องใช้เวลาไม่น้อยในการสร้างขึ้นมา

การจัดทัพใหม่ของสหวิริยาโอเอในครั้งนี้ เป็นการมุ่งไปสู่พื้นฐานความชำนาญของธุรกิจดั้งเดิม นั่นก็คือ ธุรกิจค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มี 5 ธุรกิจ และ 1 บริษัทร่วมทุน ครอบคลุมการขายในลักษณะของลูกค้า ที่เป็นระดับ mass ผ่านช่องทางต่างๆ ที่สหวิริยาโอเอมีอยู่แล้ว จะเพิ่มการขาย ที่เป็น โครงการงานประมูลราชการ และหันมาเน้นการขายแบบมัลติแบนด์ เพื่อทดแทน สิ่งที่สูญเสียไป หันมาประกอบเครื่องพีซีติดยี่ห้อ เอสวีโอเอ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า เพิ่มผลกำไรจากการขาย

บริษัทลูก 14 แห่งจะถูกยุบทิ้งเหลือเพียงแค่สหวิริยาโอเอเพียงแห่งเดียว รวมทั้งธุรกิจโทรคมนาคม สัมปทาน ที่มีอยู่ 2 โครงการ คือ วีแสท และวิทยุสื่อสารพีอาร์เอ็น จะติดต่อหาผู้สนใจ เพื่อมาซื้อกิจการเหล่านี้ออกไป

หากมองจากโครงสร้างนี้แล้ว สหวิริยาโอเอประคองตัวไปได้เมื่อไม่มีหนี้แล้ว แต่การลงทุนหนักๆ เหมือนในอดีตคงไม่มีอีกต่อไป แต่การจะกลับมายิ่งใหญ่คงไม่ใช่เรื่องง่าย

สำหรับแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ คงต้องอยู่กอบกู้สถานการณ์ให้กับสหวิริยาโอเอไปอีกพักใหญ่ และเป็นข้อตกลงในการประนอมหนี้ครั้งนี้ ถึงแม้ว่า ธุรกิจค้าข้อมูลของเออาร์กรุ๊ป ที่เขาเป็นเจ้าของ กำลังร้อนแรงก็ตาม

เพราะงานนี้หากแผนฟื้นฟูไม่ผ่าน สหวิริยาโอเอล้มละลายไปจริง แจ๊คต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ และนี่จะเป็นเดิมพันอีกครั้ง ของแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ และสหวิริยาโอเอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us