Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 พฤษภาคม 2550
คลังคาดทั้งปีรายได้หลุดเป้า1-1.5%             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
Economics
Auditor and Taxation




คลังเผยยอดจัดเก็บรายได้เดือนเมษาฯหลุดเป้า 8.8 พันล้าน ฉุดยอดขาดดุล 7 เดือนแรกของปีงบประมาณต่ำกว่าเป้าเฉียด 7 พันล้าน เหตุรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ไม่ทัน และสรรพสามิตรายได้หดหลังประกาศลดภาษีโทรคมนาคมเหลือ 0% ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่กระเตื้อง คาดทั้งปีพลาดเป้า 1-1.5%

นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษบกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2550 ว่า มียอดจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 8,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 ซึ่งส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549-เมษายน 2550)ต่ำกว่าประมาณ 6,925 ล้านบาทหรือร้อยละ 1 แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 16,396 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.4

โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 701,309 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,925 ล้านบาท เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณที่ตั้งไว้เป็นสำคัญ รวมทั้งการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณ 14,239 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 17,972 ล้านบาทหรือร้อยละ 21.2

ทั้งนี้ กรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 508,243 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,145 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณ 9,262 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.5 จากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้ต่อเนื่อง ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณ 4,799 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.2 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,535 ล้านบาทหรือร้อยละ 42

ขณะที่กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 173,526 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,942 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 และหากไม่รวมประมาณการภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 แล้ว จะเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 8,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 โดยภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเบียร์ ยาสูบ สุราและน้ำมัน ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.6 ส่วนกรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 52,401ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 836 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.6 โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 760 ล้านบาท

และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้รวม 51,279 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 7,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 เนื่องจากในเดือนเมษายน 2550 รัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถนำส่งรายได้ทันตามเป้าหมายที่คาดไว้ ทั้งนี้ รายได้ที่ขาดหายจะเหลื่อมไปเข้าในเดือนพฤษภาคม 2550 และหน่วยงานอื่นนำส่งรายได้รวม 49,188 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,465 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.8 เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตร 8,085 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการเนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

สำหรับในเดือนเมษายน 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 88,995 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.0 และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.1 มีสาเหตุจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 10,089 ล้านบาท เนื่องมาจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถนำส่งเงินปันผลในเดือนนี้ได้ทัน จำนวน 8,062 ล้านบาท เนื่องจากมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2550 นอกจากนี้ มีรายได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงอีกจำนวน 4,718 และ 795 ล้านบาท ตามลำดับ เหลื่อมไปเข้าเดือนหน้า และกรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,593 ล้านบาท เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประกาศลดอัตราภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมเหลือ 0% (มีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550) ทำให้กรมสรรพสามิตไม่มีรายได้ดังกล่าวขณะที่ประมาณการตั้งไว้ 1,553 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,925 ล้านบาท และจากคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ 1.42 ล้านล้านบาท ประมาณร้อยละ 1.0-1.5 ซึ่งการจัดเก็บรายได้ที่คาดว่าจะต่ำกว่าประมาณการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับฐานะการคลังตามระบบ สศค. 6 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 613,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.6 โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีสุรา ภาษีน้ำมัน ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ก็สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยช่วง 6 เดือนแรกมีเม็ดเงินที่รัฐบาลอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 737,379 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.7 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณ 2549 ร้อยละ 5.3 ซึ่งดุลเงินงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกขาดดุล 123,630 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของจีดีพี

ขณะที่ช่วงเดียวกัน ปีงบประมาณ 2549 ขาดดุล 123,978 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.6 ของจีดีพี และดุลบัญชีนอกงบประมาณในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550 เกินดุล 7,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของจีดีพี ลดลงจากปีงบประมาณ 2549ที่เกินดุล 9,893 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของจีดีพี และเมื่อหักรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศอีกจำนวน 922 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 116,631 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.4 ของจีดีพี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us