Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 พฤษภาคม 2550
บอร์ดสั่งการบินไทยทำแผนวิสาหกิจใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
Aviation




บอร์ดการบินไทยเบรคแผนวิสาหกิจ 5 ปี สั่งฝ่ายบริหารปรับเป็น 10 ปี อ้างปรับตามภาวะการแข่งขันธุรกิจการบินและกำลังการผลิตเครื่องบินป้อนสายการบินใช้เวลานานขึ้น “ชลิต”อ้างพบรมว.คมนาคมแจงเหตุซื้อแอร์บัส วงในเผยแผนซื้อเครื่องบิน เอ380 และ เอ 330-300 ส่อแววถูกแช่งแข็ง คมนาคมสั่งสนข.ประเมินแผนว่าเป็นไปตามนโยบายหรือไม่ ขณะที่การบินไทยปรับแผนช่วง Low Season มั่นใจรักษาระดับรายได้ หลังปรับแผนการเพิ่มขีดความสามารถการใช้เครื่องบินมากขึ้น

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (9 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมยังไม่พิจารณาแผนวิสาหกิจ 5 ปี โดยให้ฝ่ายบริหารกลับไปปรับปรุงและเพิ่มระยะเวลาของแผนเป็น 10 ปี เพื่อให้ครอบคลุมกับสภาพการทำธุรกิจการบินในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ที่มีสายการบินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้มีความต้องการเครื่องบินและนักบินเพิ่มขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตเครื่องบินลดลง เช่น เครื่องบินโบอิ้ง จะต้องใช้เวลาในการสั่งซื้อและรับมอบเครื่องบินใหม่ถึง 7 ปี ดังนั้นแผนวิสาหกิจเพียง 5 ปีอาจไม่ครอบคลุม

“สายการบินทำธุรกิจอยู่ได้ด้วยเครื่องบิน ดังนั้น ต้องมองภาพรวมของความต้องการเครื่องบินในอนาคต เครื่องบินที่ต้องปลดประจำการ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประกอบซึ่งกระทรวงคมนาคมเป็นห่วงเรื่องนี้และให้ข้อเสนอแนะมาโดยต้องการให้วางแผนครอบคลุมและใกล้เคียงความจริงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เครื่องบินแอร์บัสรุ่น A 330-300 มีความจำเป็นที่ต้องจัดหามาทดแทน และต้องมีเครื่องบินเพิ่มเพื่อเข้ามาใช้หมุนเวียน รวมถึงเครื่องบิน เอ 380 ซึ่งได้เข้าพบ รมว.คมนาคมในช่วงเช้าเพื่อแจ้งให้ทราบแล้วซึ่งเชื่อว่า รมว.คมนาคมจะเร่งพิจารณาเพราะหากล่าช้าจะเกิดความเสียหายกับบริษัท เพราะการยืนยันคำสั่งซื้อมีระเวลากำหนด ส่วนเรื่องราคาที่ระบุว่าสูงกว่าราคาตลาดนั้น ปัญหานี้ผมไม่มีคำตอบเพราะเป็นคำถามลอยๆ ซึ่งในการพิจารณาของบอร์ดได้ดูราคาตลาดประกอบอยู่แล้ว”พลอากาศเอกชลิตกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การทำแผนวิสาหกิจและการซื้อเครื่องบินนั้นจะต้องมองในระยะยาว ดังนั้นการกำหนดแผนเพียง 5 ปีไม่เพียงพออยู่แล้ว ซึ่งการบินไทยส่งแผนวิสาหกิจ 5 ปี และข้อเสนอการเครื่องบินเอ 330-300 และ เอ 380 มากระทรวงคมนาคมแล้ว ซึ่งรมว.คมนาคมได้ทำหนังสือถึงสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อให้ความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นคือ ร่างแผนวิสาหกิจ 5 ปี ของการบินไทยสอดคล้องกับนโยบายที่รมว.คมนาคมให้กับบอร์ดการบินไทยเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2550 หรือไม่ และมีจุดใดบ้างที่น่าจะมีอุปสรรคในการแปลงแผนไปสู่การปฎิบัติ รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เห็นว่าสำคัญ และควรจัดลำดับความสำคัญอย่างไรบ้าง เป็นต้น

“แผนที่การบินไทยเสนอมา ถือว่ายังไม่ละเอียดพอที่จะอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อเครื่องบินที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้นการเสนอครม.จะต้องมีรายละเอียดมากกว่านี้ โดยข้อเท็จจริงขณะนี้คือ การบินไทยมีกำไรในเส้นทางใกล้และกลาง ส่วนระยะไกลขาดทุนขณะที่มีแผนซื้อเครื่องบิน เอ 380 อีก 6 ลำเพื่อบินในเส้นทางไกล เช่น เส้นทางนิวยอร์ค ขาดทุน แต่จะแก้ขาดทุนด้วยการลดราคาตั๋วและเพิ่มเที่ยวบิน ส่วนการซื้อเครื่องบินควรเป็นเครื่องบินที่เหมาะกับการใช้ในอีก 2 -5 ปีข้างหน้าไม่ใช่เหมาะกับเมื่อ 5 ปีก่อน”แหล่งข่าวกล่าว

พลอากาศเอกชลิตกล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในรอบ 6 เดือนของปี 2550 (1 ต.ค.2549 – 31 มี.ค. 2550) บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 8,259 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,755 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 17.5 โดยมีกำไรต่อหุ้น 4.86 บาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีกำไรต่อหุ้น 5.89 บาท ถือว่า รายได้เป็นที่น่าพอใจโดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2549 แต่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ซึ่งเป็นช่วง Low Season ธุรกิจการบินแข่งขันสูง แนวโน้มรายได้จะลดลง ดังนั้นบอร์ดจึงให้ฝ่ายบริหารพิจารณาแผนการใช้เครื่องบิน ปรับเปลี่ยนประเภทเครื่องบินให้สอดคล้องกับเส้นทางการบิน จัดตารางการบินโดยคำนึงถึงจุดบินในแต่ละจุดเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าของการใช้เครื่องบินซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบินในฝูงบิน 84 ลำ จากที่8 เดือนก่อนหน้านี้มี 86 ลำเนื่องจากปลดระวางเครื่องบินอายุเกิน 20 ปี และให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยไม่กระทบการบริการผู้โดยสาร และปรับปรุงคุณภาพการบริการเพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้มากขึ้น

โดยในไตรมาส 2 ปี (1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2550) บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการ 49,597 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.6 และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวม 43,420 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.1 ทำให้มีกำไรจากการขายและการให้บริการ 6,177 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 592 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.6 อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีกำไรก่อนภาษีเงินได้ 6,084 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 2,747 ล้านบาท เนื่องจากปีก่อนมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการปรับยอดเงินกู้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ คงเหลือ ณ วันสิ้นงวดเป็นเงินบาทสูงกว่าปีปัจจุบัน เป็นผลให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 4,233 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 1,972 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 31.8 คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.49 บาท สูงกว่าไตรมาสแรกซึ่งมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2.37 บาท แต่ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 3.65 บาท

นอกจากนี้ บอร์ดมีมติให้จ้างพนักงานฝ่ายปฎิบัติการ ที่กรุงเทพ และภูเก็ต จำนวน 464 คน ระยะเวลา 4 ปี เงินเดือน 12,480 บาทต่อคนเพื่อแก้ปัญหาการเช็คอินและการบริการลูกค้า และอนุมัติให้จัดหาเงินทุนในวงเงิน 17,000 ล้านบาท โดยระยะเวลาในการกู้ ต้องสอดคล้องกับความต้องการใช้เงินของบริษัทฯ คือการกู้เงินเยน (YEN) จากสถาบันการเงิน ครั้งเดียว หรือมากกว่า 1 ครั้ง (ประมาณ 3,000 – 6,000 ล้านบาท) การออกหุ้นกู้เงินบาทภายในประเทศ ครั้งเดียว หรือ มากกว่า 1 ครั้ง และ/หรือ การกู้เงินบาทจากสถาบันการเงินในประเทศ 1 สถาบัน หรือมากกว่า 1 สถาบัน วงเงินรวม 11,000 – 14,000 ล้านบาท กรณีมีความจำเป็น เช่น บริษัทฯ ไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ตามกำหนด ให้บริษัทฯ กู้เงินระยะสั้นต่อจากกระทรวงการคลังในรูป Euro Commercial Paper (ECP) ก่อนการหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนต่อไปทั้งนี้ การจัดหาเงินทุนดังกล่าว เมื่อได้สถาบันการเงินแล้ว ต้องเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาต่อไป

ด้านเรืออากาศโทอภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทยกล่าวว่า คาดว่าจะใช่เวลาประมาณ 1-2 เดือนในการปรับแผนวิสาหกิจจาก 5 ปีเป็น 10 ปี ส่วนกลยุทธ์ช่วง Low Season (พ.ค.-ก.ค.) จะต้องรณรงค์แคมเปญเพื่อเพิ่มยอดการขายการบริหารเที่ยวบินเพื่อลดต้นทุน เช่นการจัดการใช้เครื่องบินให้เหมาะสมกับเที่ยวบินและจุดบินทั้งนี้การที่มีเครื่องบินลดลงเหลือ 82 ลำ ไม่ได้ทำให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากการปรับปรุงการใช้ประโยชน์เครื่องบิน(Utilize) ที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถรักษาระดับรายได้ไว้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us