Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 พฤษภาคม 2550
ASTVแชมป์ทีวีทางเลือก เอแบคสำรวจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ASTV

   
search resources

TV
สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ASTV




“เอแบคโพลล์” เผยผลสำรวจคนกรุงเทพ-เขตเทศบาลทั่วประเทศ 17 จังหวัด กว่า 2 ล้านคน ชมเคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม ระบุ“เอเอสทีวี” คนดูนิยมสูงสุดถึงร้อยละ 40.8 โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 26-60 ปี ติดหนึบ เฝ้าหน้าจอเฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง ให้เหตุผลเป็นทางเลือกด้านข้อมูลข่าวสาร-สาระ

นายเทวินทร์ อินทรจำนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการชมโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชมที่ไม่ได้ชมโทรทัศน์ในระบบระนาบพื้น ซึ่งก็คือผู้ชมที่ไม่ได้ชมฟรีทีวีทั่วไป แต่ชมจากเคเบิลทีวีและทีวีผ่านดาวเทียม โดยสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล และในเขตเทศบาลทั่วประเทศ 17 จังหวัด จำนวน 4,868 ตัวอย่าง อายุตั้งแต่ 18-60 ปี ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-28 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่มีการสำรวจเจาะเข้าไปในกลุ่มผู้ชมประเภทนี้

จากการสำรวจพบว่า มีประชาชนร้อยละ 17.5 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่ชมโทรทัศน์เคเบิลทีวีและทีวีผ่านดาวเทียม ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้ว ในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑลและเขตเทศบาล 17 จังหวัด จะมีผู้ชมอยู่ประมาณ 2-3 ล้านคน

รองผู้อำนวยการเอแบคโพลล์ ระบุว่า ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้น เมื่อถามว่าดูช่องอะไรบ้าง โดยให้ผู้ตอบเลือกตอบได้หลายช่อง พบว่า ร้อยละ 40.8 ของกลุ่มคนที่ดูทีวีประเภทนี้ จะดูเอเอสทีวี (รวมเอเอสทีวี นิวส์วัน ทีโอซี วาไรตี้ อีสานดิสคัฟเวอรี่ และช่องสุวรรณภูมิ) ร้อยละ 33.2 ดูยูบีซี (เช่น ซีเอ็นบีซี สตาร์สปอร์ต สตาร์เวิลด์ ยูบีซีฟิล์ม ยูบีซีนิวส์ ยูบีซีเอ็กไซต์ ซอกเกอร์สปอร์ต ยูบีซีมูวี่)ร้อยละ 26.8 ดูเอบีทีวี (เนชั่นชาแนล) ร้อยละ 24.9 ดูไลฟ์ทีวี (บันเทิง) ร้อยละ 23.7 ดูเอ็มทีวี (ดนตรี-มิวสิกวีดีโอ) ร้อยละ 22.3 ดูเอ็นบีที (นิวส์ไลน์ สปอร์ตไลน์ บ็อกซ์ออฟฟิศ) ร้อยละ 16.4 ดูช่องอื่นๆ เช่น ทีซีคอนเนกชั่น เอ็มวีทีวี อีทีวี เป็นต้น

สำหรับในกลุ่มผู้ดูเอเอสทีวีนั้น ดูนิวส์วันมากที่สุดประมาณร้อยละ 33.3 ซึ่งคนที่ดูนิวส์วันจะดูวันละ 3-4 ชั่วโมง และเมื่อแยกตามเพศแล้ว ผู้ชายจะดูเอเสทีวีมากกว่าผู้หญิง ซึ่งต่างจากทีวีบันเทิงช่องอื่นๆ ที่ผู้หญิงดูมากกว่าผู้ชาย

จากการสอบถามถึงเหตุผลที่ดูเอเอสทีวีส่วนหนึ่งเนื่องจากต้องการดูข่าวสาร และสาระที่เป็นทางเลือกที่ไม่มีในช่องฟรีทีวีช่องอื่น เพราะข่าวสารที่ได้จากตรงนี้แตกต่างจากที่อื่น ประการที่ 2 เอเอสทีวีมีการเจาะลึกวิเคราะห์ตรงไปตรงมา ได้มากว่าช่องอื่นที่รายงานข่าวอย่างผิวเผิน

ขณะเดียวกัน เมื่อแยกเป็นระดับอายุจะพบว่า คนในกลุ่มที่ดูเคเบิลทีวีและทีวีผ่านดาวเทียม อายุตั้งแต่ 18-25 ปี ดูเอเอสทีวีร้อยละ 25.7 คนที่อายุ 26-45 ปี ดูเอเอสทีวีร้อยละ 43.8 คนอายุ 46-60 ปี ดูเอเอสทีวีร้อยละ 63.5 แสดงว่าผู้ชมยิ่งอายุมากขึ้นก็จะดูเอเอสทีวีมากขึ้น ต่างจากช่องบันเทิง เช่น ยูบีซี ที่คนอายุมากขึ้นจะมีสัดส่วนการดูน้อยลง

"ถ้าจะให้สรุปอย่างไม่เป็นทางการแล้ว จากผลสำรวจจะมีแนวโน้มคนดูทีวีผ่านดาวเทียม-เคเบิลทีวีมากขึ้น ส่วนหนึ่งต้องการเป็นทางเลือกทั้งบันเทิงและข่าวสารสาระต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ชอบธรรมหรือเกิดวิกฤตของบ้านเมือง"รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ระบุ

นายเทวินทร์ กล่าวถึงแนวโน้มการชมทีวีว่า คนที่ดูทีวีทางเลือกจะมีมากขึ้น ตามจำนวนประชาชน การชมเคเบิลทีวีของคนกลุ่มนี้ มีอยู่ 2 จุดประสงค์หลักคือ 1. ดูเพื่อบันเทิง ซึ่งในฟรีทีวีปกติมีให้ไม่พอ และ 2.ดูเพื่อติดตามข่าวสาร และการวิเคราะห์ข่าว เป็นทางเลือกที่คนกลุ่มนี้เลือกมากดูมายิ่งขึ้น ยิ่งสถานการณ์ทางสังคมที่มีความขัดแย้ง มีคำถามเรื่องความชอบธรรมในสังคม ประชาชนจะหาทางเลือกดูทีวีที่นอกเหนือทีวีปกติที่เขาดู   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us