Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤษภาคม 2550
แบงก์ชาติแนะส่งออกเลี่ยงใช้ดอลล์ ชี้เสี่ยงสูงทิศทางยังแข็งค่าต่อเนื่อง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Import-Export




แบงก์ชาติแนะผู้ส่งออกกระจายความเสี่ยงด้านค่าเงิน โดยใช้เงินสกุลอื่นที่มีความผันผวนน้อยมาใช้ตั้งราคาและรับชำระค่าส่งออก ระบุการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นตัวกลางในการค้าขายมากถึง 90%อย่างในปัจจุบันมีความเสี่ยงสูง เหตุแนวโน้มเงินดอลลาร์ยังคงอ่อนตัวต่อเนื่องไปอีกระยะ

รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท.ได้ออกบทความผ่านเว็บไซด์ ธปท.ให้หัวข้อ "แนวคิดเรื่อง การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน" โดย นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาดการเงินและบริหารทุนสำรอง ซึ่งกล่าวในบทความว่า ในขณะที่นักวิเคราะห์ยังคงคาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงอ่อนตัวต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ส่งผลให้ค่าเงินบาท และเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องอย่างในปัจจุบัน และการค้าขายส่งออกนำเข้าของประเทศไทยซึ่งยังคงใช้เงินดอลลาร์เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าถึง 90% ของมูลค่าการส่งออกรวม ทั้งๆที่การส่งออกของไทย มีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐเพียง 15% ของการส่งออกรวมเท่านั้น

ธปท.มองว่า การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนเช่นนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ดังนั้น ในบทความแนวคิดการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จึงแนะให้ผู้ส่งออกไทยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินในการรับชำระราคาและค้าขายระหว่างประเทศ ให้มีลักษณะกระจายความเสี่ยงมากขึ้น เช่น แทนที่จะเอารายรับส่วนใหญ่ไปผูกติดไว้กับค่าเงินสกุลเดียวคือ ดอลลาร์สหรัฐ ควรจะเปลี่ยนไปตั้งราคาและรับชำระค่าสินค่าส่งออกเป็นเงินสกุลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เงินยูโร ของสหภาพยุโรป เงินปอนด์สเตอริง ของอังกฤษ เงินเยน ญี่ปุ่น รวมทั้งเงินในสกุลภูมิภาค ตามสภาพการส่งออกของตนเอง

"เรื่องดังกล่าวนี้น่าสนใจ และควรได้รับการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกนำไปพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะในขณะนี้ทราบว่า บริษัทซีพีเอฟ ได้เปลี่ยนการรำระค่าสินค้าในตลาดยุโรป เป็นเงินปอนด์ฯ เพราะเป็นว่าในช่วงปีที่ผ่านมาผันผวนน้อย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาก เพราะค่าเงินปอนด์ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ที่ระดับ 70 บาทต่อปอนด์ ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 10% การปรับเปลี่ยนนี้ จึงน่าจะช่วยให้ได้รายรับในรูปเงินบาทมากขึ้น"

นางผ่องเพ็ญ กล่าวด้วยว่า จากการสอบภามธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง พบว่า เมื่อเทียบความคล่องตัวในการทำธุรกรรมระหว่างเงินสกุลหลักอื่นๆ ก็ไม่ได้แตกต่างจากเงินดอลลาร์มากนัก และที่ตนสนใจ คือ การพิจารณาว่าสามารถใช้เงินสกุลใดสกุลหนึ่งในประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีเราส่งออกสินค้าถึง 20% ของมูลค่าการส่งออกรวม เป็นตัวกลางในการค้าขายได้หรือไม่ จากที่ผ่านมาใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวกลางในกาชำระราคาถึง 84% ของมูลค่าการส่งออกไปภูมิภาคเอาเซียน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในเดือนมี.ค.ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 465,320 ล้านบาท หากคิดคามภูมิภาคแล้ว พบว่า ประเทศไทยส่งออกภายในกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ถึง 92,062 ล้านบาท รองลงมาเป็นการส่งออกไปกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 27 ประเทศ 67,865 ล้านบาท อันดับที่ 3 เป็นการส่งออกไปกลุ่มประเทศนาฟต้า (แคนาดา-สหรัฐ –แม็กซิโก) 67,113 ล้านบาท อันดับที่ 4 ประเทศญี่ปุ่น 62,333 ล้านบาท อันดับที่ 5 จีน 40,231 ล้านบาท แต่หากคิดเป็นรายประเทศจะพบว่า ประเทศไทยส่งออกไปยัง ประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 เป็นเงินทั้งสิ้น 62,333 ล้านบาท อันดับที่ 2 เป็นสหรัฐอเมริกา 60,696 ล้านบาท อันดับที่ 3 ประเทศจีน 40,231 ล้านบาท อันดับที่ 4 ฮ่องกง 25,688 ล้านบาท และอันดับที่ 5 มาเลเซีย 23,954 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us