Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤษภาคม 2550
แบงก์ชาติแจงลดรุ่นออกบอร์ดยันช่วยหนุนตลาดตราสารหนี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bond




แบงก์ชาติชี้แจงลดจำนวนรุ่น-ความถี่ในการออกพันธบัตร หวังเอื้อให้การซื้อขายในตลาดรองคึกคักขึ้น เชื่อไม่กระทบสภาพคล่องในระบบ เหตุมีเครื่องมือทางการเงินหลายอย่างในการดูแล เผยตั้งแต่ไตรมาส 2 ลดการประมูลพันธบัตรอายุ 2 ปี เหลือไตรมาสละครั้ง ส่วนพันธบัตรอายุ 1 ปี เหลือเดือนละ 1 ครั้ง

เจ้าหน้าที่สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวชี้แจงการเปลี่ยนแปลงในการออกขายพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ธปท.ได้มีการปรับลดจำนวนรุ่นของการออกพันธบัตรมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 โดยมีการลดการออกพันธบัตรอายุ 1 ปีลงจากเดิมที่เคยออกขายเดือนละ 4 รุ่น ต่อมาลดเหลือ 2 รุ่น และปัจจุบันลดเหลือเพียงเดือนละ 1 รุ่นเท่านั้น ส่งผลให้จำนวนรุ่นพันธบัตรอายุ 1 ปีลดลงจากประมาณ 50 รุ่นต่อปี เหลือเพียง 12 รุ่นต่อปี

นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ทยอยปรับลดความถี่ของการประมูลพันธบัตรเป็นเดือนละ 2 ครั้งสำหรับพันธบัตรอายุ 1 ปี และเดือนละ 1 ครั้งสำหรับพันธบัตรอายุ 2 ปี จากเดิมที่เคยออกประมูล 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยทำให้ขนาดของพันธบัตรที่ออกในแต่ละรุ่นเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 50,000 – 70,000 ล้านบาทต่อรุ่น จากเดิมที่เคยออกเพียงรุ่นละเล็กน้อยเหมือนเบี้ยหัวแตก เช่น รุ่นละ 3,000 ล้านบาท หรือ 5,000 ล้านบาทเท่านั้น และในระยะต่อไปจะลดความถี่การประมูลลงอีก โดยในไตรมาส2ปีนี้เป็นต้นไปการประมูลพันธบัตรอายุ 2 ปี จะลดจากเดือนละ 1 ครั้งเป็นไตรมาสละ 1 ครั้งแทน ซึ่งจะเริ่มวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ และตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปจะประมูลพันธบัตรอายุ 1 ปีเพียงเดือนละ 1 ครั้ง จากเดิมที่เคยประมูลเดือนละ 2 ครั้ง

“การดำเนินการเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ตลาดรองพันธบัตรมีความคล่องตัวมากขึ้น ทำให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น เพราะการที่พันธบัตรแต่ละรุ่นมีวงเงินมากขึ้นจะช่วยให้ตลาดหาของได้สะดวกขึ้น ขณะเดียวกันช่วยให้ตลาดตราสารหนี้พัฒนามากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นผลดีให้ทั้งรัฐและบริษัทต่างๆหาแหล่งระดมทุนได้ง่ายขึ้น และจากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นปี 2549 ยอดคงค้างพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยมีสัดส่วน 25%ของมูลค่าตลาด แต่มีการหมุนเวียนซื้อขายสูงถึง 50%ของตลาด แสดงว่าพันธบัตรมีสภาพคล่องสูง”เจ้าหน้าที่สายตลาดการเงินกล่าว

เจ้าหน้าที่สายตลาดการเงิน กล่าวว่า การออกพันธบัตรธปท.มีความถี่น้อยลงไม่กระทบต่อการบริหารสภาพคล่อง เนื่องจากธปท.ยังมีเครื่องมืออื่นในการดูแลด้วย และยืนยันว่าความถี่ การออกพันธบัตรไม่มีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรแต่อย่างใด และการออกพันธบัตรธปท.มีการหารือกับกระทรวงการคลังตลอดเพื่อไม่ให้อายุพันธบัตรเหมือนกันจะได้ไม่แย่งตลาดกัน เช่น ธปท.จะออกพันธบัตรระยะสั้น 1 วัน , 7 วัน หรือ 14 วัน แต่ไม่ออกระยะ 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพราะคลังออกแล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ ล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ในระบบมียอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งสิ้น 3.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 1.6 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.4 แสนล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 1.04 ล้านล้านบาท พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 3.1 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 2.2 แสนล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 1 หมื่นล้านบาท และหุ้นกู้บรรษัทฯ 650 ล้านบาท ทั้งนี้จะเห็นว่าธปท.ยังไม่มีการใช้วงเงินใหม่ 4 แสนล้านบาท ที่ขออนุมัติกระทรวงการคลังเอาไว้ เพราะวงเงินเดิม 1.1 ล้านล้านบาทยังไม่หมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us