Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
คีรี กาญจนพาสน์             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
search resources

คีรี กาญจนพาสน์




ด้วยความเป็นลูกชายคนที่ 7 ใน 11 คน ของมงคล และศิริวรรณ กาญจนพาสน์ ซึ่งเป็นตระกูลที่ถือครองที่ดินผืนใหญ่ที่สุดตระกูลหนึ่งของไทย คีรี หรือ "หว่อง จง ซัน" เป็นลูกชายที่สนิทกับมงคลมากที่สุด เขาจากเมืองไทยตั้งแต่อายุ 13 แล้วเติบใหญ่ในฮ่องกง แต่ตามประสาวัยรุ่นใจร้อน เขาเรียนจบแค่ไฮสกูลจากเกาลูน แล้วเผชิญชีวิตด้วยลำแข้งของตัวเองแบบ street fighter ตั้งแต่เยาว์วัย

"คีรีเป็นคนเก่ง ฉลาด และกล้า เพียงแต่ว่าเราทั้งคู่มีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน และขอย้ำว่าความแตกต่างไม่ใช่เรื่องไม่ดี จะเห็นว่าโครงการธนาซิตี้ก็เดินหน้าไป ส่วนเมืองทองก็เดินต่อไปได้ดี จะไม่มีใครเป็นหัวหอกของใครอย่างเด็ดขาด" อนันต์ กาญจนพาสน์ พี่คนโตกล่าวไว้ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนเมษายน 2534 เรื่อง "คีรี กาญจนพาสน์ มังกร สะท้านบู๊ลิ้ม"

ภายในระยะเวลา 15 ปีที่คีรีก้าวเข้ามาปักหลักธุรกิจในไทย สถานการณ์ธุรกิจพลิกผันอย่างรวดเร็ว จากความรุ่งโรจน์ของอสังหาริมทรัพย์สู่จุดต่ำสุดหลังวิกฤติปี 2540 นิตยสารผู้จัดการได้ติดตามทำข่าวกรณีศึกษาของลูกจีนโพ้นทะเลคนนี้ ที่มีเดิมพันชีวิตที่หนักหนาสาหัสมาก ผ่านทั้งความสำเร็จและล้มเหลว ในหลายหลากธุรกิจ ตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์ในนามของบริษัทธนายง เจ้าของโครงการธนาซิตี้, The Exchange Square ทำในนามบริษัทสหกรุงเทพพัฒนา, เคเบิ้ลทีวี ไทยสกายทีวี, ภัตตาคาร ติน ติน, เกาะกระดาด ไอส์แลนด์ รีสอร์ท, งานประกวดนางงามจักรวาล ฯลฯ

"คุณคีรีน่าจะใช้เวลานั่งพินิจพิเคราะห์ดูตัวเอง สถานะของธนายง และงานที่คั่งค้างและมากด้วยปัญหา ว่าพอจะแก้อะไรได้บ้าง อย่าเพิ่งไปบุกงานใหม่ที่จะสร้างปัญหาให้มาก ขึ้น รวมถึงจะต้องจัดระบบบริหารภายในของธนายงให้มีความผสมผสานด้านการ ทำงานร่วมกันมากกว่านี้" ตอนหนึ่งในเรื่อง "ธนายงจะหนีปัญหาไปถึงไหน" ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2537

แต่โครงการขนาดใหญ่ที่สุดของคีรีคือ โครงการรถไฟฟ้า BTS มูลค่ามหาศาลถึง 54,925 ล้านบาท ที่มีค่าใช้จ่ายบานปลายขึ้นอีก 100% จากเดิมที่คิดจะสร้างแค่ 13 กิโลเมตรครึ่งต้องขยายเป็น 24 กิโลเมตร บริษัทยังต้องแบกภาระ ดอกเบี้ยวันละ 10 ล้านอยู่จนถึงทุกวันนี้ ทั้งนี้เพราะ timing ของ BTS ล่าช้าจากการเปิดบริการในปี 2538 เลื่อนเป็นปี 2542 คีรีเคยกล่าวว่า "เสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย"

จากความผิดพลาดมหันต์นี้ ทำให้การบริหารการเงินของกลุ่มอ่อนแอเข้าขั้นวิกฤติ จากพิษการลดค่าเงินบาทในปี 2540 ที่เพิ่มหนี้ส่วนต่างอีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นบทเรียนที่คีรีเจ็บหนักและนาน

"เราทำมา 7 ปี เรายังทำได้ แต่เราต้องทำใจนั่งรอกำไรอีกหลายปีหน่อย เพราะเราผูกมัดกับโครงการพวกนี้แล้ว เราหนีไม่ได้ นอกจากดูแลโครงการนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ผมขอเวลาอีกระยะหนึ่ง ตอนนี้เรามีแผนการต่างๆ มากมาย ในการดึงคนมาขึ้นรถให้มากกว่า 2 แสนคน รวมทั้งการเข้าไปทำโครงการโฮปเวลล์" คีรีเปิดใจในนิตยสารผู้จัดการฉบับมกราคม 2543 เรื่อง "ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าของ คีรี กาญจนพาสน์"

การประเมินอนาคตของธุรกิจในมือของคีรี กาญจนพาสน์ จากนี้จึงต้องเพิ่มความสามารถการฟื้นตัวอย่างหนักของธนายงในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ตระกูลกาญจนพาสน์ยังมีที่ดินสะสมอยู่จำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็น "โอกาส" ของคีรีที่จะกลับคืนสังเวียนอย่างแข็งแรงในฐานะของ Boxer ที่ไม่ใช่นักชกข้างถนนอีกต่อไปแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us