Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 พฤษภาคม 2550
N-PARKลุยธุรกิจเมินคำฟ้องเจ้าหนี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ แนเชอรัล พาร์ค

   
search resources

แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.
Law




ยังคงเกิดคำถามอย่างมากมายกรณีการฟ้องบริษัทแนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน)(N-PARK) โดยโจทย์ผู้เป็นเจ้าหนี้ คือบริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งมีการยื่นฟ้องล้มละลายตั้งแต่ปี 2543 หลังมีการผิดนัดชำระหนี้ โดยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีการคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูของลูกหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543

ทั้งนี้ระหว่างการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารแผนของลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทุกรายทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยตามจำนวนหนี้ตามคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยในวันที่ 21 สิงหาคม 2545 ผู้บริหารแผนได้ชำระหนี้ด้วยการแปลงหนี้เป็นทุนสำหรับหนี้ 276,612,980 บาท ด้วยการออกหุ้นจำนวน 27,661,298 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

ผ่านหลังลูกหนี้พ้นกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้สรุปงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ปรากฎว่า ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ลูกหนี้มีสินทรัพย์รวม 16,539,772,000 บาท มีหนี้สิน 8,791,653,000 บาท และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีสินทรัพย์รวม 15,765,717,000 บาท และมีหนี้สินรวม 8,345,335,000 บาท โดยประเด็นที่ศาลต้องมีคำวินิจฉัย คือ ลูกหนี้เป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่และเจ้าหนี้ผู้โจทน์ยังคงมีอำนาจฟ้องร้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่

ในเรื่องดังกล่าว ระหว่างการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาไม่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลางและมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคสามมีผลทำให้สภาพบังคับของศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยอแผนสิ้นผลไปและถือว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีและไม่เคยมีหรือเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้น

สำหรับสถานะภาพเดิมของหนี้เดิมที่ลูกหนี้เป็นหนี้ทั้งหลายตามที่ได้ยื่นคำขอชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการยังคงมีอยู่และมิได้สิ้นไป ทำให้ลูกหนี้ยังคงมีความผูกผันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนหนี้เดิมก่อนวันที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องโดยเมื่อหักกับหนี้สินที่ลูกหนี้ชำระไปแล้วจำนวน 986,919,341.15 บาท จาก 15,752,636,306 บาท ลูกหนี้ยังมีภาะต้องชำระหนี้อีก 15,765,716,964.85 บาท ซึ่งหากพิจารณาตามงบการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ทรัพย์สินของลูกหนี้มีน้อยกว่าหนี้สินจำนวน 8,429,284,964.85 บาท

ด้านลูกหนี้นำสืบว่า ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามแผนจนเสร็จสิ้น ก่อนหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2546 โดยหลังจากนั้นลูกหนี้ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุน 2,010 ล้านบาทโดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 1 ต่อ 1 ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป้นโจทย์ได้ใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น

อย่างไรก็ตาม หลังการสืบความทั้ง 2 ฝั่งศาลล้มละลายกลางเห็นว่า คำสั่งของศาลฎีกาย่อมไม่มีผลย้อนหลังหลับทำให้กระทบถึงการชำระหนี้ที่ได้กระทำไปแล้วก่อนศาลฎีกาจะมีคำสั่ง ซึ่งหากจะตีความให้คำสั่งศาลฎีกามีผลย้อนกลับทำให้การชำระหนี้ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วก่อนหน้าศาลฎีกามีคำสั่งเช่นว่านั้นเสียไปตามที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์กล่าวอ้างย่อมจะส่งผลกระทบกระเทือนก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

สำหรับปัญหาที่ว่าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ยังคงมีอำนาจในการฟ้องร้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่ามูลหนี้ตามฟ้องคดีได้มีการชำระเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์จังไม่มีอำนาจฟ้องให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย

ด้านศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาในคดีดังกล่าว โดยคำสั่งศาลล้มละลายแม้ว่าจะมีหน้าที่พิพากษาให้คู่ความฟังแทนศาลฎีกาแต่หากศาลฎีกามีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผน และมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวของศาลฎีกาย่อมมีผลทำให้คำสั่งเห็นชอบด้วยตามแผนของศาลล้มละลายกลางเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไปในตัว ความผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการย่อมสิ้นผลไป สิทธิหน้าที่ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างไร ก็ย่อมกลับไปตามมูลหนี้เดิม

นายจุมพลภัทร์ พูลทรัพย์ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ บมจ.แนเชอรัล พาร์ค แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์โดยระบุว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เรื่องยกคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความซึ่งศาลล้มละลายกลางอ่านเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำชี้แจงที่เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลฎีกาฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2546 เนื่องจากคำพิพากษาของศาลฎีกาฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เรื่องยกคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ นั้น เป็นคำสั่งในประเด็นปัญหากฎหมายว่า "ให้ศาลนัดพิจารณาว่าสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่" ซึ่งหมายถึง ศาลล้มละลายกลางในคดีล้มละลาย มิใช่ศาลล้มละลายกลางในคดีฟื้นฟูกิจการ

นอกจากนี้ คำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ทำให้คำชี้แจงของบริษัทเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างไร ดังนั้น ปัจจุบันบริษัทยังคงประกอบกิจการและดำเนินธุรกิจต่อไปเป็นปกติ โดยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน และได้ชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายครบถ้วนแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us