|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"แอกซ่าประกันภัย" ธุรกิจเลือดยุโรปจากฝรั่งเศส ยึดเครือข่ายค่ายรถยนต์ "ฮอนด้า" ขยายพอร์ตประกันภัยรถยนต์อย่างเอาจริงเอาจังในรอบ 9 ปี เพิ่มสัดส่วนในปีนี้ถึง 55% จากที่มีอยู่ในพอร์ต 47% เริ่มต้นการสร้างแบรนด์จากการให้บริการฉุกเฉินบนท้องถนน และแคมเปญท่องเที่ยวต่างประเทศสำหรับดีลเลอร์ที่ทำได้ตามเป้าหมาย
ในปีที่แล้ว ธุรกิจประกันภัยรถยนต์(มอเตอร์) ของแอกซ่าประกันภัย เริ่มทำท่าไม่ดี ตัวเลขเริ่มตกหล่นสูญหาย จนต้องถอยห่างออกมาหลายก้าว เพราะสภาพสนามที่ร้อนเป็นไฟ มีการตัดราคาขายเพื่อดึงเบี้ยเข้าบริษัทจนเป็นเรื่องปรกติ ทำให้ความเสียหายรวมหรือ Combined Ratio พองตัวเกินกว่า 100%
แต่นับจากต้นปีเป็นต้นมา แอกซ่าฯก็ต้องหันมาปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการทำตลาดใหม่ ภายหลังการเข้าไปอยู่ในชายคา ฮอนด้า ไทยแลนด์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกค้า ฮอนด้า มอเตอร์ ประเทศไทย
นโยบายใหม่ ภายใต้ร่มเงาของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ที่เบียดแทรกพื้นได้ยากเย็นแสนเข็ญ ทำให้แอกซ่าฯต้องเปลี่ยนเส้นทางเดิน โดยหันมาขยายพอร์ตรถยนต์ให้มากกว่าเดิมเพราะว่ากันว่า หลังจากนี้งานที่ผ่านเข้ามาจะมีมากขึ้น ในขณะที่แต่เดิมนั้นลูกค้าส่วนใหญ่จะผ่านเข้ามาจากทางดีลเลอร์ฝ่ายเดียว
กี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ แอกซ่าประกันภัย บอกว่า ต้นปีได้เริ่มรับงานจากฮอนด้า ออโตโมบิล และถือเป็นค่ายยุโรปรายเดียวในขณะที่ 4 รายที่เหลือเป็นประกันภัยจากเกาะญี่ปุ่นและมีความสัมพันธ์กับค่ายญี่ปุ่นล้วนๆ อาทิ กรุงเทพประกันภัย ซัมโปแจแปนประกันภัย ศรีเมืองประกันภัย และกลุ่มมิตซุย สุมิโตโม
แอกซ่าฯ เคยมีสัดส่วนประกันภัยรถยนต์เพียง50.4% จากเบี้ยประกันรับรวมปี 2549 ที่1,316 ล้านบาท โดยงานส่วนใหญ่จะเป็นตลาดนอนมอเตอร์ แบ่งเป็นประกันภัยเบ็ดเตล็ด 393 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยสินค้าและทางทะเล 137 ล้านบาท เบี้ยอัคคีภัย 122 ล้านบาท
" การเข้าร่วมกับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเพราะเขามองเรื่องการให้บริการ และจ่ายสินไหมเร็ว ที่เห็นชัดเจนก็คือ สินไหมสึนามิที่เขาหลัก ภูเก็ต น้ำท่วมที่หาดใหญ่ เชียงใหม่ และที่นครสวรรค์เหมือนการสร้างวัฒนธรรมเชิงรุกด้านบริการ โดยไม่เห้นการขายตัดราคา"
กี่เดช บอกว่า ที่ผ่านมามีการให้บริการผ่าน แอกซ่า ออนไลน์ เพื่อให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนหรือ โรดไซด์ เซอร์วิส ในกรณีลูกค้าเดือดร้อน เช่น เปิดรถไม่ได้ ลืมกุญแจ เติมน้ำมันรถ รถสตาร์ทไม่ติด หรือแม้กระทั่งเปิดบ้านไม่ได้
นอกจากนั้น ก็หันมาให้น้ำหนักกับแคมเปญพาท่องเที่ยวเกาหลี และยุโรป ถ้าตัวแทนหรือดีลเลอร์ทำยอดขายได้ตามเป้าคือ 2 ล้านก็จะได้ตั๋วท่องเที่ยวเกาหลี แต่ถ้าได้ถึง 3 ล้านก็จะได้ตั๋วทัวร์ยุโรป
ทั้งนี้ ได้กำหนดนโยบายการให้บริการ 3F คือ รวดเร็ว (FAST) เป็นธรรม (FAIR) และเป็นมิตร(FRIEND) รวมถึงการใช้ SMS มาเสริมงานบริการเพื่อให้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น
กี่เดชบอกว่า ในที่สุดการแข่งขันก็จะหันมาที่การให้บริการที่ดี ไม่ใช่มุ่งหน้าไปที่การหั่นราคาเบี้ย จนกลายเป็นธุรกิจ "อมโรค" สุดท้ายก็สะเทือนถึงสถานภาพบริษัท และฐานะการเงิน
ปีที่แล้ว แอกซ่าฯมีกำไรสุทธิ 34 ล้านบาท ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน ชำระเต็มจำนวน 352.6 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 1,608.2 ล้านบาท มีสินทรัพย์ลงทุน 970.6 ล้านบาท มีเงินกองทุนส่วนเกินต่อเงินสำรองประกันภัยอยู่ที่ 479 ล้านบาท
|
|
 |
|
|