Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 เมษายน 2550
หวั่นบ้านจัดสรรพังครืน ซ้ำรอยวิกฤตยุค“ต้มยำกุ้ง”             
 


   
search resources

ไชยยันต์ ชาครกุล
Real Estate




*ธุรกิจบ้านจัดสรร กำลังจะพังครืนอีกรอบ หากรัฐบาลยังรีรอที่จะประกาศใช้มาตรการชุบชีวิตอสังหาริมทรัพย์
*เตือนรัฐบาลขิงแก่เร่งสรุปผลมาตรการว่า จะยกเลิกหรือเดินหน้าต่อ ก่อนความเชื่อมั่นถดถอย
*ผู้ประกอบการเมินมาตรการรัฐ เพราะธุรกิจเดินได้ด้วยตัวเอง หวั่นรัฐทำเสียศูนย์ กระทบการซื้อขายชะงัก เกิดภาวะสุญญากาศ กระแทกธุรกิจล้มครืน

ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยจะใช้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นหัวหอก ที่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ทั้งที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคน ได้ส่งสัญญาณมาแล้วว่า การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ ยาที่ดีที่สุดคงจะหนีไม่พ้นนำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาเป็นเครื่องมือพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยรวม

ทั้งนี้ หากยังไม่มีการพิจารณามาตรการทั้ง 7 ข้อ ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) และ 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย ช่วยกันแสดงความคิดเห็นแล้ว จะยิ่งเป็นสร้างปัญหาให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากยิ่ง เพราะในระหว่างที่ภาครัฐพิจารณาว่าจะใช้มาตรการหรือไม่ ยิ่งทำให้ผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากไม่ต้องการเสียสิทธิที่จะได้รับหากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการเยียวยาธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์

ระวัง!ซ้ำรอยปี 43-44

ตัวอย่างมีให้เห็นแล้ว ในช่วงก่อนหน้านี้ ในราวๆ ปี 2543 ต่อเนื่องปี 2544 ซึ่งในช่วงนั้น รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณา เพื่อให้ความช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะมั่นใจว่าเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัว จะทำให้ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องฟื้นตัวตาม ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ เกิดการจับจ่าย และจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงที่รัฐบาลจด ๆ จ้อง ๆ ยังไม่ประกาศใช้มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนอง และภาษีธุรกิจเฉพาะ ยิ่งทำให้ธุรกิจชะงักงัน เกิดสุญญากาศขึ้นทันที เพราะผู้ซื้อลังเลที่จะตัดสินใจซื้อ เนื่องจากกลัวจะไม่ได้รับสิทธิ์หากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการ

หวั่นความเชื่อมั่นลด

ไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า อยากให้มาตรการที่นำเสนอกระทรวงการคลังมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพราะขณะนี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มลดลง หลังจากที่มีหลายปัจจัยเข้ามากระทบอย่างต่อเนื่องจนเกิดการสะสม

อีกเรื่องที่น่ากังวล คือ การเมืองที่ยังไม่นิ่ง ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลถึงรายได้ในอนาคต ซึ่งจะกระเทือนถึงเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลเร่งคลอดรัฐธรรมนูญ เร่งรัดให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ เร่งการผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นรูปธรรมกว่านี้

“เราเชื่อว่ามาตรการดังกล่าว จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมจะช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์รวมๆ ถึง 6% การอุดหนุน Soft Loan วงเงิน 30,000 ล้านบาท เพื่อตรึงอัตราดอกเบี้ย 4.75% คงที่ 3 ปี น่าจะทำให้ผู้ที่ลังเล เกิดการตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น ซึ่งเราก็คาดหวังว่ารัฐบาลจะตอบรับในมาตรการทุกข้อ เพราะทั้งหมดจะเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์เกิด Multiplier Effect ไปหมุนเวียนตลาดอื่นๆ ให้เติบโตต่อเนื่องถึง 1.7 เท่า บวกกับกลไกทางการตลาดจะดึงดูดให้ธนาคารพาณิชย์เข้ามาเล่นในตลาดนี้ด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์แรงขึ้นอีก” ไชยยันต์ กล่าว

สำหรับเงินอุดหนุน Soft Loan 30,000 ล้านบาท ถ้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงอีก ธนาคารรัฐก็สามารถนำเงินที่ได้ใช้ในส่วนนี้ ซึ่งเรื่องสภาพคล่องไม่น่ากังวล เพราะขณะนี้ธนาคารยังปล่อยสินเชื่อน้อยกว่าเงินฝากที่มีอยู่ ทำให้ยังมีสภาพคล่องคงเหลือในระบบกว่า 400,000 ล้านบาท

คาดQ2 บังคับใช้มาตรการ

คาดว่ามาตรการน่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในไตรมาส 2 แน่นอน เห็นได้จากเรื่องที่เสนอก็มีความคืบหน้าไปมาก แต่อย่างไรก็ตามคงต้องขึ้นกับ รมว.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ว่าจะให้คำตอบอย่างไร แต่ก็อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็ว เพราะนับวันเริ่มมีการส่งสัญญาณลบต่อเศรษฐกิจไทยเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และที่ผ่านมา 6 เดือน รัฐบาลไม่เคยมีมาตรการใดๆ ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเลย สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ หากมีอัตราเติบโตที่ 10-15% ก็เป็นที่น่าพอใจ เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ปรับตัวช้า

สำหรับ 7 มาตรการ ประกอบด้วย

1.จะผลักดันให้กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรขยายสิทธิทางด้านภาษีสำหรับประชาชนที่ผ่อนชำระเงินกู้ซื้อบ้าน จากที่ในปัจจุบันสามารถลดหย่อนภาษีจากการหักดอกเบี้ยปีละ 50,000 บาท เพิ่มเป็น 100,000 บาท

2.เสนอเพิ่มมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 0.01% เพื่อให้มีการเร่งโอนอสังหาริมทรัพย์เร็วขึ้น รวมถึงลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 1.% เหลือ 0.01% ซึ่งการลดหย่อนค่าธรรมเนียมทั้ง 2 ประเภทนี้รวมไปถึงการโอนซื้อบ้านมือสองและสินทรัพย์รอการขายจากสถาบันการเงินด้วย

3.ให้รัฐบาลอุดหนุนวงเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย (SOFT LOAN) จากกระทรวงการคลังหรือจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือแบงก์ชาติจำนวน 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 4.75% คงที่ 3 ปีแรก หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MLR) ทั้งนี้จะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท

4.ให้แบงก์ชาติส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5-1.0% เนื่องจากตลาดตั้งความหวังไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ซึ่งหากลดลงโดยเร็วก็จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น

5.มาตรการทางด้านกฎหมาย โดยปัจจุบันกฎหมายอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือครองที่ดินได้เป็นเวลา 30 ปี เสนอให้สิทธิถือครองที่ดินได้นาน 99 ปี

6.ให้จัดระบบขนส่งมวลชนระบบรางจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องจัดทำผังเมืองใหม่เพื่อให้มีความสอดคล้องทั้งในแง่ของการเดินทางและพื้นที่ที่อยู่อาศัย และ7.ให้ลบรายชื่อลูกค้าของสถาบันการเงินที่ติดอยู่ในบัญชีดำของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร) จากเดิม 3 ปี เหลือ 2 ปี ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่มีรายชื่อเป็นแบล็คลิสต์ของสถาบันการเงินต่างๆ สามารถแก้ไขข้อมูลและซื้อที่อยู่อาศัยได้

ธารารมณ์เกาะกระแสมาตรการรัฐ

วสันต์ เคียงศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธารารมณ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่เสนอต่อรัฐบาลยังไม่มีความคืบหน้า แต่ในส่วนของธารารมณ์ฯ ได้ออกแคมเปญใหม่อิงกับมาตรการที่เสนอต่อภาครัฐ สำหรับลูกค้าที่ซื้อโครงการเนเบอร์โฮม วัชรพล ,พาร์คเวย์ ชาเล่ต์ รามคำแหง,การ์เด้น สวีท ดิอินดี้โฮม และพรอเมนาด โฮม ธนบุรี คือ ฟรีค่าโอน, ฟรีจดจำนอง พร้อมดอกเบี้ย 4.75% คงที่ 3 ปี เพื่อเร่งการตัดสินใจของลูกค้าที่กำลังรอมาตรการจากภาครัฐฯ

อธิป พีชานนท์ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย กล่าวว่า การทำตลาดของศุภาลัยคงไม่ต้องรอมาตรการของภาครัฐ และล่าสุด ได้จัดแคมเปญ"Summer Limited Offer" โดยนำบ้านพร้อมโอนจำนวน 18 แปลง จาก 7 โครงการโซนตะวันตก โซนใต้ และนนทบุรี มาจัดรายการ ซึ่งจ่ายเงินเพียง 50,000 บาท เข้าอยู่ได้ทันที และกู้เต็ม 100% (กู้ไม่ผ่านคืนเงิน) รวมถึง ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนฯ จัดสวนสวย วอลล์เปเปอร์เครื่องปรับอากาศ มุ้งลวดหน้าต่าง ปูสนามหญ้า

ขณะที่บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) จัดแคมเปญพิเศษ สำหรับ“บ้าน 3 ทำเลติดแนวรถไฟฟ้า” ได้แก่ บ้านกลางกรุง The Nice รัชวิภา บ้านกลางกรุง The Royal Vienna รัชวิภา และบ้านกลางเมือง Monte-Carlo รัชวิภา ด้วยมอบส่วนลดเงินสดสูงถึง 1 ล้านบาท พร้อม Gift Voucher ใช้เป็นส่วนลดเพื่อซื้อรถเบนซ์สูงสุด 1 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us