Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 เมษายน 2550
กลยุทธ์การตลาด: ทำไมจตุคามรามเทพเพิ่งบูม             
 


   
search resources

Marketing




วันนี้ "จตุคามรามเทพ" กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของสังคมไทยไปแล้ว ทุกสื่อต่างนำเสนอเรื่องราว "จตุคามรามเทพ" ทั้งในแง่มุมความศักดิ์สิทธิ์ แง่มุมการตลาด แง่มุมเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เท่าที่จินตนาการและความสนใจของผู้คนจะขยายไปถึง ถ้าใครที่ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง คงจำได้ถึงภาพผู้คนเป็นแสน ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพขุนพันธ์ฯ (ส่วนหนึ่งเพื่อรับองค์จตุคาม) หรือภาพการแย่งกันจององค์จตุคามรุ่นดัง ๆ ขลัง ๆ จนเกิดเหตุเหยียบกันตาย

เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยกันแน่?!?

จตุคามรามเทพ หมายถึงเทพรักษาพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชสององค์ คือ ท้าวจตุคาม และ ท้าวรามเทพ สถิตอยู่บนที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อมีการตั้งดวงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ จึงมีการอัญเชิญจตุคามรามเทพไปสถิต ณ ที่นั้นเป็นต้นมา

เชื่อกันว่าเดิมนั้น องค์จตุคามรามเทพ เป็นกษัตริย์ในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช เชื่อว่ามีพระวรกายเป็นสีเข้ม เป็นกษัตริย์นักรบที่แกร่งกล้า เมื่อสถาปนาอาณาจักรศรีวิชัยได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงได้สมัญญานามว่า " ราชันดำแห่งทะเลใต้ " หรือมีอีกราชสมัญญานามนึงว่า " พญาพังพกาฬ " และต่อมาทรงบำเพ็ญบุญเพื่อสร้างบารมีอธิษฐานจิตเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มนุษย์ทั้งปวง

จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้า 4 นาย คือ พญาชิงชัย, พญาหลวงเมือง, พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบพราหมณ์ที่เคยปกครองเมืองอยู่ก่อน เมื่อได้บ้านเมืองแล้ว ก็ได้สร้างพระบรมธาตุ สถาปนาเมือง 12 นักษัตร หรือกรุงศรีธรรมาโศกราช ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับเทิดพระเกียรติว่า พญาศรีธรรมาโศกราช หรือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

จตุคามรามเทพ ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าทรงฤทธานุภาพในทุก ๆ ด้าน ตามจารึกของชาวศรีวิชัยได้บอกว่า " มีอานุภาพดุจดังพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่ขจัดความมืดมัวในโลก "

อย่างไรก็ตาม กระแสความนิยมในจตุคามรามเทพ เพิ่งก่อตัวจนฮ็อตฮิตทั่วฟ้าเมืองไทยมาในช่วงกลางปี 49 ที่ผ่านมานี้เอง (จนถึงปัจจุบัน) ทั้งที่จริง ๆ แล้วมีการสร้างองค์จตุคามขึ้นรุ่นแรกตั้งแต่ปี 2530

ในขณะนี้ มีการสร้างจตุคามรามเทพขึ้นในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีหลายรุ่น (ชื่อรุ่นโดยมากจะพูดถึงเรื่องเงินทองและร่ำรวย) พระเกจิหลายองค์ปลุกเสก หลายคนพากันแย่งชิงจนเกิดเป็นเหตุให้ฆาตกรรมกันก็มี

ผลจากกระแสนี้ส่งผลให้จตุคามรามเทพรุ่นแรกที่ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2530 มีราคาพุ่งไปถึงกว่า 40 ล้านบาท จากเดิมที่มีราคาเพียง 49 บาทเท่านั้น

สื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญ ในการกระจายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ องค์จตุคามรามเทพ ให้ขยายวงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ "ฟรีมีเดีย" ผสมผสานกับเครือข่ายของผู้ที่เกี่ยวกับองค์จตุคาม ต่อเนื่องจากกลยุทธ์ Word of Mouth หรือบอกแบบปากต่อปาก จนพัฒนามาสู่การใช้ มีเดียเชิงพาณิชย์ นั่นคือการซื้อพื้นที่โฆษณา เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีการจองพื้นที่โฆษณาตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายคือ หนังสือพิมพ์หัวสี จนเป็นสื่อที่ได้รับอานิสงส์สูงสุดขณะนี้ (ไม่เชื่อลองสุ่มเปิดหนังสือพิมพ์ดู)

กระแสจตุคามก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจแวดล้อมต่อเนื่องมากมาย โดยศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยมีการทำวิจัย ประมาณการเม็ดเงินที่เข้าสู่ระบบสูงถึง 2 หมื่นล้าน บางรุ่นที่ดังนั้นพบพฤติกรรมการเก็งกำไรซึ่งดันราคาขึ้นไปตั้งแต่ใบจอง โดยดังไม่ดังนั้นอยู่ที่พิธีบวกแรงสื่อ ส่วนในด้านกระบวนการผลิตโรงปั๊มงานล้น ใครต้องการงานเร่งจ่ายแพง และพบว่าคิวพิธีบวงสรวงยาวถึงพ.ย. (ณ วันนี้คือเดือนเม.ย.) โรงเรียนช่างฝีมือที่นครฯ ต้องเปิดอบรมช่างฝีมือ (สำหรับงานเกี่ยวเนื่อง) เป็นการเฉพาะ

ในด้านการตลาด มีการสร้างช่องทางกระจายเข้าถึงคนไทยทุกชนชั้น ช่องทางเช่ามีทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ ห้างสรรพสินค้ามีการตั้งซุ้มจำหน่าย เซเว่นฯเอาไปลงแค็ตตาล็อก

หากลองดูผู้คนรอบตัวที่ห้อย จะพบว่าองค์จตุคามได้ก้าวข้ามจากเครื่องรางไปสู่แฟชั่นเสียแล้ว

กระแสองค์จตุคามก็พลิกผันกลายเป็นกระแสระดับชาติได้อย่างไร?

แล้วจะยั่งยืนยาวนานไปถึงเมื่อไหร่?

และสังคมได้เรียนรู้อะไรจากปรากฏการณ์นี้บ้าง?

บทเคราะห์

การบูมจนกระทั่งกลายเป็นกระแสของจตุคามรามเทพนั้น หากจะว่ากันไปแล้วก็ไม่ได้ต่างจากกระแสอื่นๆ สังคมไทยเป็นสังคมที่ปั่นให้เกิดกระแสได้ง่าย และกระแสก็จางหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ยกตัวอย่างกระแสโรตีบอย ที่ก่อนหน้านั้นสักปีต้องต่อแถวรอซื้อกัน 50-60 คน กว่าจะได้กินแต่ละที ถึงกับมีอาชีพรับจ้างต่อแถวซื้อโรตีบอยเสียด้วยซ้ำ จนกระทั่งมีอีกหลายเจ้ามาเปิดขายประชันขันแข่ง จนกระทั่งกลายเป็นของหากินได้ง่ายไม่มีอะไรแตกต่างอีกต่อไป

กระแสโรตีบอยก็ถึงจางหายไป ทุกวันนึ้ถึงจะมีโรตีบอยเหมือนเดิม ทว่าไม่จำเป็นต้องลำบากไปต่อคิวอีกต่อไปแล้ว

กระแสการบูมคอนโดกลางเมืองก็เป็นเช่นเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ปีเศษๆ คอนโดเปิดใหม่ของแอลพีเอ็นหรือพลัส เปิดตัวแต่ละครั้งคนต้องไปเข้าคิวเพื่อรับใบจองล่วงหน้าเป็นสิบๆชั่วโมง ทำราวกับว่าคอนโดแจกฟรี ทั้งที่ราคาเป็นล้านๆบาท จนถึงทุกวันนี้บางคอนโดกลางเมืองที่ทำเลดี ใกล้รถไฟฟ้า ราคายุติธรรม ก็ยังเป็นแบบนี้อยู่ จนกระทั่งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ต่างโดดลงมาทำคอนโดกลางเมืองแนวรถไฟฟ้ากันหมด ทำให้กระแสคอนโดกลางเมืองค่อยซาลงไปหน่อย แต่ก็ยังไม่จางหายไปเหมือนกับโรตีบอย เพราะความต้องการในการอยู่คอนโดกลางเมืองแนวรถไฟฟ้ายังมีอยู่ อัตราดอกเบี้ยต่ำ จูงใจให้คนซื้อเพื่ออยู่อาศัย ลงทุนเพื่อปล่อยเช่า และอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้กระแสไหลลื่นก็คือผู้จองเพื่อขายใบจอง ซึ่งเป็นการลงทุนที่สร้างผลกำไรดีทีเดียว

กระแสคอนโดกลางเมืองแนวรถไฟฟ้าคงไม่จางหายไปเร็วๆนี้ แต่นับจากนี้ไปคอนโดที่ทำเลดี ราคาและคุณภาพโอเคเท่านั้นถึงจะยังไปได้
กระแสจตุคามรามเทพเป็นคนละแบบ เพราะเป็นกระแสที่เกิดจากศรัทธาเป็นสำคัญ

จตุคามรามเทพรุ่นแรกนั้นของขุนพันธุ์ฯนั้นย้อนหลังกลับไปถึงปี 2530 ช่วงเวลานั้นแทบไม่มีใครรู้จักในวงกว้างทั้งขุนพันธุ์ฯและจตุคามรามเทพ

จวบจนกระทั่งกลางปี 2549 กระแสจตุคามรามเทพก็เกิดขึ้นกะทันหัน ผู้คนทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัยรู้จักกันหมด พร้อมๆกับจตุคามฯชื่อขุนพันธุ์ฯ นายตำรวจจอมขมังเวทย์ ผู้สร้างจตุคามรามเทพรุ่นแรกก็โดดเด่นคู่กับจตุคามฯ หากจะวิเคราะห์กระแสจตุคามรามเทพทั่วๆไปก็คงต้องบอกว่าเป็นเพราะการพูดกันปากต่อปาก และสื่อโหมกระพือ

คำถามก็คือก็แล้วทำไมเพิ่งจะมาพูดกันปากต่อปากจนดังไปทั้งประเทศสูงสุดเมื่อกลางปี 2549 ทั้งๆที่จตุคามฯรุ่นแรกสร้างกันมาตั้งแต่ปี 2530 หรือเกือบ 20 ปีมาแล้ว

การบูมจนกลายเป็นจตุคามณฟีเวอร์ไปทุกวงการเช่นนี้ราวกับเป็นการระบาดของเชื้อไวรัส ต้องใช้กรอบความคิดจากหนังสือ "จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์" หรือ The Tipping Point เขียนโดย Malcolm Gladwell น่าจะให้ภาพที่ดีที่สุด

ปัจจัยที่ให้เกิดการระบาดของกระแสหรือปรากฏการณ์ต่างๆนั้นขึ้น Gladwell บอกว่ามีหลัก 3 ประการ

1.เกิดจากคนจำนวนน้อย

2.ปัจจัยติดหนึบหรือสิ่งที่ดึงดูดให้กระแสนั้นน่าสนใจ

3.บริบทที่ก่อให้เกิดกระแส

สภาพแวดล้อมทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของไทยนั้นแย่มาก ความขัดแย้งทางการเมืองสูง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินต่ำ การทำมาหากินเริ่มฝืดเคือง ภายใต้บริบทแบบนี้ ผู้คนไร้ที่พึ่ง หนึ่งเดียวที่ทุกคนบ่ายไปหาคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อช่วยให้รอดและรวย

จตุคามรามเทพนั้นเป็นที่ร่ำลือว่าศักดิ์สิทธิ์ใหม่ที่ยิงไม่เข้า ฟันไม่ระคายผิว ใครที่ห้อยจตุคามฯจะแคล้วคลาด ในยามที่อันตรายรอบตัวเช่นนี้ ใครก็อยากแคล้วคลาด

และมีคำร่ำรือว่าจตุคามฯจะช่วยให้ประสบความสำเร็จ มั่งมีศรีสุข เงินทองไหลมาเทมา"รอดและรวย" คือปัจจัยติดหนึบของจตุคามฯ

สาเหตุอีกประการที่ทำให้บูมเริ่มต้นจากเพียงไม่กี่คนที่คล้องจตุคามฯแล้งแคล้วคลาด ก็เล่าให้คนอื่นฟัง บางคนขอแล้วรวย คนอื่นๆก็รู้ก็พูดกันไปทั่ว

จนกระทั่งคนดัง ดารา ห้อยจตุคามกันเยอะแยะและประกาศให้คนรู้ สื่อมวลชนทุกแขนงเริ่มตีพิมพ์ ออกอากาศ คนทั้งประเทศต่างประจักษ์ในฤทธานุภาพ จนกระทั่งมีการปลุกเสกจตุคามฯกันทั้งประเทศ

หน่วยงานต่างๆก็ผลิตจตุคามฯถ้วนหน้า มีการโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต มีคีออส เช่าได้ตามเซเว่นฯ จตุคามฯจึงกลายเป็นวัตถุมงคลที่คนไทยทุกคนจำเป็นต้องมี โดยเฉพาะภายใต้บริบทเช่นนี้ ที่คนไทยไร้ที่พึ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us