Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 เมษายน 2550
จุดจบ “อีลิท การ์ด”ใครได้-ใครเสีย?..             
 


   
search resources

ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี), บจก.
Tourism




ดูเหมือนว่าเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ที่อยากให้ยกเลิกบัตรไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ทันทีนั้น นอกจากจะไม่สร้างแรงกดดันแล้วยังส่งผลให้รัฐบาลชุดนี้ที่มี ดร.สุวิทย์ ยอดมณี เป็นเจ้ากระทรวงท่องเที่ยวและกีฬากลับเดินหน้ายื้อต่อ เพื่อซื้อเวลาออกไป ถึงแม้ว่าหลายฝ่ายจะมีเสียงออกมาคัดคัดก็ตามแต่รัฐบาลชุดนี้กลับไม่กล้าฟันธงเพื่อยกเลิกโครงการบัตรเทวดา ทั้งๆที่ยังมองไม่เห็นอนาคตว่าบัตรดังกล่าวจะสามารถเนรมิตให้เป็นไปตามแผนงานแต่อย่างใด

ปัญหาหลายเรื่องเกี่ยวกับโครงการ บัตร ไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติแก้ไขลงได้กำลังจะกลายเป็นดาบสองคมคอยทิ่มแทงรัฐบาลนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลกำไรตามแผนที่วางไว้กลับจะส่งผลต่ออนาคตภาพรวมการท่องเที่ยวของไทยในอนาคต

ภราเดช พยัฆวิเชียร อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในฐานะรองประธานคนที่ 1 ของคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว สนช. ที่ไม่เห็นด้วยกับการ "ยื้อ"เพื่อซื้อเวลาต่อไป ซึ่งไม่ใช่แค่เสียงเดียวเท่านั้นที่ต้องการยกเลิก

หากไปถามกูรูด้านท่องเที่ยวแล้วเสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะหยุดโครงการนี้ทันที โดยเฉพาะ กงกฤช หิรัญกิจ นายกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเป็นกรรมมาธิการ สนช.ยังคงยืนยันให้รัฐบาลควรยุบโครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ลง ถึงแม้ว่าจะจัดทำแผนใหม่มาเสนออีกกี่ครั้งก็ตามทาง สนช.ก็ไม่เห็นด้วย

“ผมและท่านภราเดช พยัฆวิเชียร ที่ปรึกษา 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) อดีตผู้ว่าการ ททท. ซึ่งเป็นที่ปรึกษาท่านรัฐมนตรีฯสุวิทย์ ได้บอกเหตุผลถึงความเหมาะสมที่จะยุติโครงการอีลิทการ์ดแต่ท่านรัฐมนตรีฯก็ยังมองว่าควรจะให้มีโครงการนี้ต่อไป”กงกฤช กล่าว

ทั้งนี้แม้ว่า ทีพีซี จะจัดทำแผนงานใหม่มายื่นเสนอต่อ สนช. อีก โดยส่วนตัวก็ยังเห็นว่าควรยุติโครงการนี้เสีย เพราะบริษัททีพีซี เป็นบริษัทเชิงธุรกิจแม้จะมีกำไรมากหรือน้อยก็ตาม แต่ก็ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้เมื่อครั้งที่เข้ามารับตำแหน่ง โดยระบุไว้ชัดเจนว่า รัฐบาลจะพึ่งส่งเสริมเอกชนในการทำธุรกิจ ไม่ใช่รัฐบาลจะมาตั้งบริษัทดำเนินธุรกิจเสียเอง ซึ่งถือว่าผิดในหลักการและหากมองว่า เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้จากการเลือกตั้งเข้ามาจะดึงโครงการนี้ขึ้นมาทำต่อ จึงเกรงว่าภาพลักษณ์ของประเทศไทยจะเสียหาย เพราะเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลนโยบายก็เปลี่ยนนั้น ตรงนี้เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะใช้ดุลพินิจก่อนแน่นอนว่าสมควรหรือไม่

กงกฤช กล่าวยืนยันตามเดิมว่า แม้แผนใหม่ของอีลิท จะมองไปในอนาคตถึง 20 ปี ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ จะเลี้ยงตัวเองได้จากดอกเบี้ยและผลกำไร ตลอดจนสร้างเงินตราเข้าประเทศ โดยใน 3 ปีข้างหน้าหากได้ดำเนินกิจการต่อ บริษัทก็จะมีกำไร สามารถใช้คืนเงินทุนให้แก่ ททท.ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอน รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลรักษาการ ไม่ควรคิดทำการอะไรที่วาดยาวไปถึงอนาคตเช่นนี้ ดังนั้นแผนธุรกิจของทีพีซีฉบับใหม่นี้จะเชื่อถือได้อย่างไร และไม่มีใครกล้ายืนยันได้ 100% ว่า จะเป็นตามที่วางแผนไว้ทุกประการ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมจะต้องมาเสียเวลาให้ทีพีซี ลองผิดลองถูกต่อไปอีก

แม้จะปรับราคาค่าบัตรให้สูงขึ้นจาก 1 ล้านเป็น 3 ล้านบาทก็ตาม...แต่ดันไปลดเรื่องของสิทธิประโยชน์พิเศษที่สมาชิกจะได้รับลงไป เป็นการสวนกระแสของการทำตลาดทางธุรกิจ ซึ่งน่าจะส่งผลทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้วบัตรเทวดาจะขายได้อย่างไร ?

ในขณะที่ความสับสนของปัญหาเรื่องของสิทธิประโยชน์ต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขคาราคาซังอยู่แบบนี้ ถึงแม้ว่าจะมีการทำแผนธุรกิจระยะยาว 20 ปี โดยมีดัชนีตัวเลขสวยหรูปั้นแต่งมาแสดงให้เห็นก็ตาม ขณะเดียวกันก็เพิ่มบทบาทของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กลับไปตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทำงานของอีลิท การ์ดอีกชั้นหนึ่งก็ตาม...หากแผนงานการบริหารจัดการใหม่เกิดล้มเหลวขึ้นมาอีกถามว่าใคร ? คือผู้รับผิดชอบและแน่นอนคำตอบก็ยังไม่มีอีกเช่นเคย

กูรูด้านท่องเที่ยวเชื่อกันว่าผู้ที่หัวชนฝาไม่อยากให้ "ยกเลิก"โครงการนี้น่าจะมีนัยยะสำคัญอะไรบางอย่าง โดยใช้เรื่องของการถูกต่างชาติฟ้องร้องเสียค่าเสียหายมาเป็นประเด็นหลักเพื่อสร้างกระแสให้เกิดความหวั่นวิตกถึงภาพลักษณ์ของประเทศ ส่งส่งผลให้รัฐบาลชุดนี้ต้องดันทุรังเพื่อยืดระยะเวลาของบัตรเทวดาต่อไป แถมยังปรับราคาบัตรให้สูงขึ้นพร้อมดึงหน่วยงานอย่าง ททท.มาเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อการันตีว่าอนาคตของโครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด จะสามารถสานฝันต่อได้

หากดูตามข้อเท็จจริงแล้วผลประโยชน์น่าจะตกไปอยู่กับเอเย่นต์หรือตัวแทนขายบัตรอีลิท การ์ด ซึ่งถือเป็นตัวจักรสำคัญในการทำการตลาดของบัตรเทวดา ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทนและถ้าแผนงานระยะยาว 20 ปีของโครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ผ่านความเห็นชอบด้วยแล้วผลตอบแทนค่าเหนื่อยที่จะได้รับก็จะกลายเป็นเม็ดเงินมหาศาลตามไปด้วยเช่นกัน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไม่มีความเคลื่อนไหวของ เอเย่นต์ขายบัตร ออกมาในช่วงนี้ซึ่งต่างกับในช่วงแรกๆที่มีข่าวว่าจะยุบโครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ลงจะเห็นว่าค่ายใหญ่ๆที่เป็นเอเย่นต์จะออกมาประกาศก้องว่าถ้ายุบต่างประเทศฟ้องกลับแน่นอน...แต่ครั้งนี้กลับเก็บตัวเงียบ

หากย้อนไปในอดีตที่ผ่านมาฝ่ายบริหารของไทยแลนด์อีลิทการ์ดเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นเปรียบเสมือนหัวโขนที่ไม่มีบทบาทอะไรมากนัก ขณะเดียวกันก็ยืมจมูกของเอเย่นต์หายใจมาโดยตลอดซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าฝ่ายบริหารแทบไม่ต้องทำอะไรหรือออกแรงน้อยมาก

ปัจจุบันบทบาทหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหารในการนำเสอนแผนธุรกิจใหม่เพื่อให้ ไทยแลนด์อีลิทการ์ด อยู่รอด นั้นกลายเป็นโจทย์ที่หาคำตอบได้ยาก แม้ว่าจะใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายและหารายได้เพิ่ม ด้วยการลดค่าคอมมิชชั่นแก่ตัวแทนขายหรือเอเย่นต์ลง ซึ่งจากเดิมหากรวมทั้งจากเปอร์เซ็นต์ยอดขาย ค่าโฆษณา ค่าการตลาด ทำได้ตามเป้า รวม ๆ แล้วร่วม 30 % นั้นนับว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจไม่เบา

โดยเฉพาะค่าคอมมิชชั่นที่ตัดทอนแบ่งให้เอเย่นต์ขายบัตรจะลดเหลือแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง เอเย่นต์ขายก็ยังได้ประโยชน์เป็นกอบเป็นกำอยู่ดี เพราะเท่ากับคิด 15 เปอร์เซ็นต์จากราคาขายบัตรใหม่ที่จะถูกปรับขึ้นมาเป็น 3 ล้านบาท ไม่ใช่ 15 เปอร์เซ็นต์จาก 1 ล้านบาทของเดิม

จุดประสงค์หลักที่ต่างชาติต้องการเป็นสมาชิกบัตรเทวดานั้น คงจะเป็นเรื่องของบริการทาง "วีซ่า" ตลอดชีพมากกว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ถูกวางไว้ในโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นตีกอล์ฟ พักโรงแรมหรู ใช้บริการสปา หรืออื่นๆที่สมาชิกบัตรแทบไม่ค่อยมีเวลาไปใช้บริการเลย

เรียกว่างานนี้เถียงกันแทบเป็นแทบตายระหว่างรัฐบาลกับสนช.ว่าจะให้โครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด อยู่หรือไป แต่ผลประโยชน์กลับตกไปอยู่เอเย่นต์ขายบัตรเสียมากกว่า...แน่นอนเรื่องนี้ยังคงไม่สายเกินแก้ไขหากยิบยกเอาประเด็นสำคัญไปถกกันในครม.เพื่อหาทางออก ไม่เช่นนั้นแล้วรัฐบาลชุดนี้ อาจกลายเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มหนึ่งไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าแผนใหม่ที่กำลังจะคลอดออกมาผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว และไม่สามารถทำได้ตามแผนงานที่วางไว้กลายเป็นปัญหาที่ต้องคอยแก้ไขตลอดเวลา....เชื่อได้ว่าคงไม่มีใครที่กล้าเอาหัวมาเป็นประกันแน่นอน?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us