Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
ยกส่วนแวร์ซายมาไว้ที่การสื่อสารฯ             
โดย ลักขณา ศิริวรรณ
 





สวนแวร์ซาย (Versailles) ในประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ Louis ที่ 14 ใช้เวลาสร้างสรรค์ 7 ปี สวนที่เริ่มต้นจาก 250 เอเคอร์ กลายมาเป็น 15,000 เอเคอร์ ยังคงลักษณะของ Star pattern, มี strong Central Axial ที่เล็งไปยังห้องพระบรรทมของ "the Sun King" ที่พระองค์นับถือพระอาทิตย์เป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ซึ่งเป็นการแสดงถึงอำนาจของคนเหนือมนุษย์และเหนือคนทั่วๆ ไป, มีรูปแบบทุกอย่างเป็น symmetrical ที่แสดงความสวยงามของสัดส่วนที่รับกันด้วยเหลี่ยมทรงเรขาคณิต โดยมีน้ำพุ 14,000 แห่งตกแต่งอย่างรื่นรมย์

นั่นคือความอลังการของสวน Versailles

ความคาดไม่ถึงว่าจะมีใครอยากจะนำความอหังการ ยิ่งใหญ่ของสวน Versailles มาสร้างให้เกิดขึ้นในเมืองไทยเราได้

แต่สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้เราก็มักจะได้เห็นกันจนชินตาจนเป็นปกติกันอยู่เสมอ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นสวน Versailles ในเมืองไทยของเรา ที่สำนักงานใหญ่ของการสื่อสารแห่งประเทศ ไทย บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ

เริ่มแรก ความคิดในการนำแบบสวนของ Versailles มาจัดสร้างเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535 เกิดขึ้นมาจากความคิดเบื้องต้นของ อัศวิน เสาวรส อดีตผู้ว่าการการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ความคิดเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นในองค์กรอื่นคงเป็นเรื่องแปลก แต่เนื่องจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย มีผู้นำสูงสุดขององค์กรรุ่นแล้วรุ่นเล่า ล้วนแต่ร่ำเรียน มาจากสำนักซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส เสียแทบทั้งสิ้น กลิ่นอายและลมหายใจในงานศิลปะ ทัศนคติ และรสนิยมแบบฝรั่งเศส จึงอบอวลไม่จางหายไปจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

รูปแบบของสวน Versailles นั้นเป็น Formal style ใช้เส้นสายลายเรขาคณิตเป็นหลักในการปลูกต้นไม้ แม้แต่ความคิดดั้งเดิมของการจัดสร้างสวน Versailles ของกษัตริย์ Louis ที่ 14 เองระหว่าง ค.ศ.1638-1715 เมื่อทรงครองราชย์ปี 1654 ความที่ทรงโปรดชีวิตกลางแจ้ง ทรงใช้พระราชวังVersailles เป็นที่ล่าสัตว์เรียกว่าเป็น Cards house ของพระองค์และพระสหาย เมื่อทรงครองราชย์อย่าง เป็นทางการจึงทรงรวบรวม สถาปนิก ศิลปิน มา สร้างอุทยาน พระราชวัง โดยขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น

เนื่องจากต้นแบบสวน Versailles สมัยนั้นยังนิยมในรูปแบบของ Italian Gardens ที่ใช้รูปปั้น และน้ำพุเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสวนมาเป็น ต้นแบบ กับการที่กษัตริย์ Louis ที่ 14 ถือเอาสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์เป็นตราประจำพระองค์ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบรูปปั้นเทพเจ้ากรีกคือ Apollo สัญลักษณ์ของเทพแห่งดวงอาทิตย์ทั้งภายในและนอกพระราชวัง Versailles

สวนของ Versailles จึงเต็มไปด้วยรูปปั้นภายในสวนที่เน้น รูปปั้นเทพกรีก น้ำพุ การจัดวางรูปปั้น น้ำพุ และสระน้ำ จะทำไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ สวยงาม ดอกไม้ที่ปลูกจะนิยมใช้สีแดงเป็นสีหลัก สีดอกไม้จะคำนึงให้สีเข้ากับสีเสาสีแดงทางเข้าวังและประตูด้านหน้าสีครีมเป็นหลักใหญ่ เล่ากันว่า ในสมัยกษัตริย์ Louis ที่ 14 ทรงพระชนม์ชีพอยู่จะทรงโปรดให้เปลี่ยนดอกไม้ในแปลงทุกวัน ทรงโปรดความงามและกลิ่นหอมของดอกไม้มาก ไม่น่าแปลก ใจที่ทรงกล่าวกับข้าราชบริพารว่า "We feel asleep surrounded with the smell of tuberoses and woke up to the scent of jasmine."

ความงามอันวิเศษแห่งสวนสวรรค์แห่งนี้คือแรงบันดาลใจที่ทำให้อัศวิน เสาวรส ต้องการจำลอง สวน Versailles เพียงเสี้ยวหนึ่งมาอยู่ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย ที่เนรมิตสวนสวยงาม 21.65 ไร่ ในปี 2535

หลักในการออกแบบสวนแห่งนี้ จากการคุยกับ สาทิส อจลสุต สถาปนิกใหญ่จากกองสำรวจและ ออกแบบ Hardscape และ ภัทราวดี ผลพูล จากกองอำนวยการกลางผู้ดูแล Softscape เล่าให้ฟังว่า พื้นที่เดิมลุ่มโล่งมาก ต้องถมดินสูงเท่าถนน แล้วปลูกหญ้า ส่วนโครงสร้างหลักเป็นทรงเรขาคณิตแบบสวนที่ Versailles โดยใช้พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 70 X 260 เมตร แบ่งพื้นที่ออกเป็น 9 ส่วน ซึ่งหมายถึงสร้างถวายแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 มีลานอเนกประสงค์สี่มุมที่เชื่อมต่อพื้นที่ 9 ส่วนให้ถึงกันด้วยทางเดินเท้าปูอิฐบล็อก เพื่อความประหยัดจึงใช้ต้นไม้ที่ดูแลง่าย ทนต่อโรคและแมลง เช่น ต้นเข็ม และชาฮกเกี้ยนเป็นไม้หลัก ความหลากหลายของสีสวนใช้สีไม้ใบเป็นหลักใหญ่

แม้งานสวนแบบ formal แห่งนี้จะดูเหมือนดูแลค่อนข้างง่ายที่สุดกว่าสวนแบบอื่น เพราะตาราง เวลาการทำงานที่สามารถกำหนดให้ลงตัวแน่นอน จะยากตรงที่สวนแบบนี้ต้องมีการปลูกซ่อมต้นไม้ให้ได้ขนาดเท่ากับฟอร์มเดิม

ความยิ่งใหญ่ของสวน formal แบบVersailles นั้น นักนิยมสวนล้วนตั้งใจว่าสักครั้ง หนึ่งในชีวิตต้องไปชมให้เห็นความยิ่งใหญ่ให้ได้สัก ครั้ง แม้ความพยายามการจัดสวน formal แบบVersailles ของ กสท. ถึงแม้ว่าตอนนี้จะสามารถจำลองมาได้เพียง 1 ใน 100 ก็ตาม ความพยายาม นี้ก็ยังน่านับถือมากอยู่

ความน่านับถือไม่ใช่เพียงแค่การพยายามรักษาสวนแบบนี้ให้ดูสวยคงรูปร่างที่ดูดีตลอดเวลา 10 ปี ไม่ให้เสื่อมโทรมเท่านั้น ความน่านับถือยังอยู่ตรงที่ว่า ทุกพื้นที่ทุกส่วนอันเป็นพื้นที่สีเขียวใน กสท. ล้วนได้รับการดูแลเป็นอย่างดี นับได้ว่า กสท. กล้าหาญมากที่จะแบกรับความรับผิดชอบเรื่องสวนขององค์กรอย่างเป็นจริงเป็นจัง ไม่แพ้สวนต้นแบบ Versailles ของจริงในฝรั่งเศสเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us