Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
Whisky (2) : ว่าด้วยเรื่องของชิม Whisky             
โดย ธีรัส บุญ-หลง
 

   
related stories

Whisky (1) : อารัมภบท
Whisky 3 บทส่งท้าย




ผมเข้าชมรม whisky ของมหาวิทยาลัยมาได้สี่ปี ที่นี่ทำให้ผมได้พบเพื่อนดีๆ หลายคน หนึ่งในนั้นคือ Peter Ellison ที่เป็น flatmate อยู่บ้านเดียวกับผมมาเป็นปีที่สามแล้ว Pete เป็นคนที่หลงใหลใน whisky อย่างแท้จริง ตอนแรกที่เข้ามา เขาไม่ได้คิดอะไรมาก นอกจากอยากลอง อยากสัมผัสกับรสชาติ ที่สำคัญคือปริมาณแอลกอฮอล์ที่เขาจะได้รับมันมากกว่าที่จะได้จาก ในผับในราคาเท่ากัน

แต่เมื่อหนึ่งปีผ่านไปเขาก็ได้หลงใหล whisky อย่างโงหัวไม่ขึ้น 'ดื่มนั้นเพื่อไม่ให้เมาแต่ให้รู้รสชาติอันวิจิตร' ประโยคนี้คงจะใช้ได้ดีสำหรับเขา ในปีนั้นเขาก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเลขาธิการของสมาคม whisky ของมหาวิทยาลัย (ในปีต่อมาเขาได้เป็นประธาน)

เขาพยายามศึกษา whisky อย่างถ่องแท้ การเป็นนักเรียนจะทำอะไรก็ง่ายไปหมดครับ การจะไปดู distillery ต่างๆ ก็ได้ลดราคา จะเชิญวิทยากรจากโรงกลั่นมาสาธิตวิธีการชิม พร้อมด้วยการโปรโมต whisky ของตนเองนั้นก็แค่เขียนจดหมายไปหาโรงกลั่นหรือบริษัทต่างๆ เท่านั้นเอง ภายในไม่กี่อาทิตย์ บริษัทก็จะ ส่งคนของเขามาพร้อมด้วยอุปกรณ์ multi-media (ส่วนมากก็ระดับ master blend มาเลยครับ) แล้วก็ whisky ของบริษัทตั้งแต่ระดับสิบปี ยี่สิบปี สามสิบปีเลยทีเดียว ทุกอย่างฟรีครับ ที่เป็นอย่างนี้เพราะบริษัทต้องการให้นักเรียนจดจำผลิตภัณฑ์ของบริษัทไว้ จะได้บอกต่อแล้ว เริ่มซื้อดื่มต่อไปในอนาคต บางทีก็มาขอเป็นสปอนเซอร์ ให้กับชมรมด้วย (ปีที่แล้วก็ได้ Chivas Regal มาเป็น สปอนเซอร์)

Pete เริ่มรู้จักคนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มทำงานพิเศษ ในร้านขาย whisky เพื่อที่จะได้ทดลองชิม whisky แบบต่างๆ เขาเริ่มเป็นผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ากัน ว่าเขาใช้เวลาศึกษา whisky มากกว่าปรัชญาศาสนา (Divinity) วิชาหลักของเขาในมหาวิทยาลัยเสียอีก (การเรียนไม่เสียนะครับ) ตอนนี้เขารับงานเป็นหนึ่งใน taster (นักชิม) ของสถาบัน The Scotch Malt Whisky Society อันเลื่องชื่อ

The Scotch Malt Whisky Society คือหนึ่งในสถาบัน whisky ที่ทำ whisky แบบ Cask Strength ออกขาย Cask Strength คือ whisky แบบที่ไม่ผสมน้ำ ครับ ปกติ whisky ที่เราดื่มๆ กันอยู่ผสมน้ำมาแล้วให้อ่อนลงนะครับ มาจากถังบ่มยังไงก็ยังงั้นเลยทีเดียว ทีนี้เขาจะเล่นเป็นถังๆ ของแต่ละปีไป กล่าวคือทางสถาบันนี้เขาจะติดต่อไปทางโรงกลั่นให้เก็บถังบ่มของปีนั้นๆ เอาไว้ เมื่อถึงเวลาก็จะมาตีตราของสถาบันแล้วเอามาชิมแล้วขาย ทีนี้จึงจะได้เห็น whisky แปลกๆ เยอะ เช่น Rosebank 14 ปี ถังที่ 15 เป็นต้น บางทีก็เกิดเหตุการณ์ผิดพลาดขึ้น เช่น การสั่งให้ distillery บ่มซอสพริก Tobasco กับ whisky ผลออกมาคือเผ็ดเหลือเกิน จึงต้องมาทำเป็นซอสปรุงอาหารแทน ที่มีขายในสถาบัน เรียกกันว่า Scotch Sauce

วิธีการชิม whisky นั้นมีหลายแบบครับ ซึ่งก็เหมือน wine นักชิมแต่ละคนก็อาจมีเทคนิคมาเพิ่มความแตกต่างกันไป ที่ผมจะกล่าวถึงนี้คือวิธีการชิมแบบเบื้องต้น

1) ดูสีของ whisky Malt Whisky แต่ละชนิดจะมีสีเฉพาะตั้งแต่ทองจนถึงน้ำตาลเข้ม สีนี้เป็นผลมาจากการบ่มครับ ที่ใช้ถังต่างๆ กัน เช่น ถังไม้โอ๊ค (Oak) ถังเชอรี่ (Sherry) ถังพอร์ต (Port) ถังเหล้าเบอร์เบิ้น (Bonbon) ถังที่ใช้นี้เป็นถังเก่านะครับ เพื่อที่จะได้มีรสชาติต่างๆ ซึมเข้าไปในถัง เมื่อมาบ่มแล้วจึงมีผลต่อสีและรสชาติของ Malt Whisky

2) ใส่แก้วแล้วปิดแก้วสักพักด้วยมือ เอามือออก นิดหน่อยสักครึ่งฝ่ามือแล้วดม whisky ภาชนะที่ใช้ชิมควรเป็นแก้วชิม (nose) ที่มีปลายแคบเหมือนแก้วดื่มเหล้าเชอรี่ ที่แก้ว 'ชิม' เป็นเช่นนี้เพื่อให้กลิ่นมากระจุก อยู่ตรงปลายแก้ว จมูกนั้นรับสัมผัสได้มากกว่าลิ้น เพราะ ฉะนั้นจะได้รู้สึกถึงความกลมกล่อมและแปลกแยกอันเป็นจุดเด่นของเหล้าแต่ละชนิดได้

3) เอามือออกจากปากแก้ว แล้วหมุนแก้วช้าๆ จะทำให้อะตอมของ whisky นั้นตีกันกระจาย กลิ่นจะค่อยๆ ออกมามากขึ้น

4) จิบ whisky ช้าๆ เอาลิ้นสัมผัสให้ทั่วจะได้รู้รสชาติ แต่ละที่ปากจะได้รสชาติไม่เหมือนกัน เมื่อกลืนลงไปแล้วจะได้รู้สึกว่า aftertaste (รสชาติหลังการชิม) ในปากและลิ้นเป็นอย่างไร ปีที่นานขึ้นจะมี aftertaste มากขึ้น

5) ลองอีกครั้งด้วยน้ำนิดหน่อย เพื่อที่จะได้รสชาติอีกแบบหนึ่ง (น้ำไปทำปฏิกิริยากับเหล้า)

แล้ววิธีการดื่มล่ะ? ครับ ดื่มกับชิมไม่เหมือนกัน ดื่มนั้นแล้วแต่สไตล์ของแต่ละคนครับ ภาชนะที่ใช้ก็แล้ว แต่ว่าคนชอบแบบไหน ที่คนชอบใช้ก็มี

1) แก้ว crystal เพื่อความสวยงาม ดูมีรสนิยม

2) แก้วปกติ ซึ่งหาง่าย ดูสี whisky ง่าย

3) แก้วนักชิม (Nosing glass) ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

4) จอกดื่ม whisky โบราณ (Quaich) Quaich มาจาก Cuach ซึ่งเป็นภาษา Gaelic (ภาษาพื้นเมืองของคนท้องถิ่นที่นี่) แปลว่า ถ้วยก้นตื้น จอกแบบนี้ใช้มา เป็นร้อยปีแล้ว มีหลายขนาด

เวลาดื่มควรจะใส่น้ำแข็งหรือผสมหรือเปล่า คน ที่นี่เขาไม่ผสมเลยนะครับเพราะรสชาติดีๆ อยู่แล้ว พอ ไปผสมจะเสียรสชาติไป ที่ผสมควรจะผสมกับ Blended whisky ที่อายุไม่มากนัก เช่น Red กับ Black หรือไม่ก็ Jack Daniels เสียมากกว่า Malt ดีๆ สำหรับน้ำแข็งคนที่นี่เขาห้ามเลยล่ะครับ เพราะน้ำแข็งจะทำให้รสชาติ เปลี่ยนไปแบบควบคุมไม่ได้ อุณหภูมิค่อยๆ เปลี่ยน บวกกับน้ำแข็งที่ละลายจะไปทำปฏิกิริยาให้รสชาติไม่กลมกล่อม On the Rock จึงไม่ควรใช้กับ Single Malt

เมื่อประมาณปีก่อนผมได้ไปทานที่ห้องอาหาร Madison โรงแรม Regent ที่นี่เขามี Single Malt ดีๆ ให้เลือกหลายชนิด ผมจึงสั่ง whisky มา เขาถามว่าเอาน้ำแข็งไหม เพราะเขาใช้น้ำแข็งพิเศษจากญี่ปุ่นแบบละลายช้ามาก แล้วอุณหภูมิเย็นไม่มาก ผมจึงลองดู ปรากฏว่ารสชาติไม่แตกต่าง ซึ่งก็ดีเพราะว่าถ้าดื่ม whisky ไม่ใส่น้ำแข็งคงร้อนน่าดูในเมืองไทย แต่น้ำแข็ง พิเศษจากญี่ปุ่นราคาคงแพงพอสมควรอยู่ล่ะครับ

ผมคาดว่าคงไม่มีเนื้อที่กระดาษหลงเหลือแล้ว คงต้องต่อฉบับหน้าว่าด้วยเรื่องของรสชาติ whisky ภาคต่างๆ รวมถึงว่าถ้าจะเริ่มเล่นและชิม whisky ควร จะเริ่มยังไงดี ซึ่งคงเป็นเรื่อง whisky ฉบับสุดท้ายล่ะครับ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นคอลัมน์ whisky ไป ผมก็คง จะไม่ได้เขียนเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us