Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
20 ปี โตเกียวดิสนีย์แลนด์             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

โตเกียวดิสนีย์แลนด์




โตเกียวดิสนีย์แลนด์ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคนญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน ซึ่งกำลังจะฉลองครบรอบ 20 ปี ในวันที่ 15 เมษายน 2003 นี้ นับว่าดิสนีย์ประสบความสำเร็จอย่างเกินคาด เพราะในปัจจุบันตัวการ์ตูนดิสนีย์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของคนญี่ปุ่นไปแล้ว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างชื่นชอบ Disney character กันทั้งนั้น

จึงไม่น่าแปลกใจอะไรนัก ที่จะเห็นตัวการ์ตูนดิสนีย์ปรากฏอยู่กับของใช้ในชีวิต ประจำวันที่ญี่ปุ่น เช่น strap (สายคล้องโทรศัพท์มือถือ) ของผู้ใหญ่บางคน จะเป็นหมีพูห์ (รวมทั้ง professor บางท่านที่มหาวิทยาลัยของผมด้วย!) ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ดิสนีย์มีผลิตภัณฑ์ ทุกอย่างที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันและได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งๆ ที่มีราคาแพงกว่า สินค้าปกติก็ตาม เช่น เครื่องครัวทุกชิ้นสำหรับแม่บ้าน เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าว โต๊ะ เตียง ที่คลุมโถส้วม สวิตช์ไฟฟ้า ฯลฯ รวมไปถึงรถไฟดิสนีย์ที่แล่นอยู่รอบๆ ดิสนีย์รีสอร์ต เรียกว่ามีทุกอย่างจริงๆ

ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ชอบการ์ตูนเป็นทุนอยู่แล้ว ดังนั้นการที่ดิสนีย์ข้ามน้ำข้ามทะเล (ที่จริงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก) มาในช่วงที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน (Americanization) และมีเศรษฐกิจที่กำลังรุ่งเรือง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทำให้ โตเกียวดิสนีย์แลนด์ประสบความสำเร็จอย่างสูงที่ญี่ปุ่น

โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกดิสนีย์แห่งแรกที่สร้างนอกอเมริกา เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ 15 เมษายน 1983 เพียง 1 เดือนให้หลังมีคนเข้าไปใน park ครบ 1 ล้านคน ใน วันที่ 23 พฤษภาคม 1983 และครบ 10 ล้านคน ในวันที่ 2 เมษายน 1984 จนถึงปัจจุบันอาจพูดได้ว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เคยไปเที่ยวโตเกียวดิสนีย์แลนด์แล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง (ถ้าถามเด็กญี่ปุ่นที่อยู่ต่างจังหวัดว่า ถ้าได้ไปโตเกียวอยากจะไปเที่ยวที่ไหน คำตอบที่น่าจะเดาได้เลย คือ โตเกียวดิสนีย์แลนด์) ซึ่งเด็กๆ ที่อยู่ในแถบคันโต (รอบๆ โตเกียว) จะมาเที่ยวได้ง่ายกว่าเด็กๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดไกลๆ เพราะสามารถไป-กลับได้ในวันเดียว แต่ถ้าจะต้องค้างคืน ทางโตเกียวดิสนีย์แลนด์ก็สร้างโรงแรมใหญ่ๆ ไว้บริการ 5 แห่ง (สามารถจองที่พักได้ทางเว็บไซต์ www.tokyodisneyresort.co.jp แล้วคลิกที่ hotel information) ในวันหยุด เสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการจะมีคนไปเที่ยวกันเยอะมาก เป็นหลักหมื่นจนถึงแสนคน จึงไม่แนะนำให้ไปในวันหยุด (ถ้าไม่จำเป็น)

ปกติโตเกียวดิสนีย์แลนด์จะเปิดบริการตลอดปี ซึ่งจะมี special event เป็นช่วงๆ เช่น Valentine, Halloween, Christmas, New Year ซึ่งจะมี countdown ภายใน park ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม และอยู่ได้ถึงตี 2 ของเช้าวันที่ 1 มกราคม นับว่าเป็นช่วงที่แน่นที่สุด ของปี และจำเป็นต้องจองตั๋วล่วงหน้าด้วย ซึ่งในแต่ละ event จะมีการตกแต่งภายใน park รวมทั้งการแสดงและพาเหรดที่แตกต่างกัน จึงทำให้คนที่เคยมาแล้วไม่เบื่อที่จะมาอีก

นอกจากนี้ ที่ร้านค้าดิสนีย์ก็เป็นอีกปัจจัยที่คนญี่ปุ่นอยากมาเพื่อซื้อสินค้าใหม่ที่ทำมา เฉพาะช่วงเทศกาลนั้นๆ คนญี่ปุ่นจะซื้อกันชนิดที่เห็นแล้วคิดว่าอาจจะมีรายการลดราคาครั้งมโหฬาร หรือมีรายการแจกแถมพิเศษที่ร้านไหนสักร้านหนึ่ง ตรงกันข้ามไม่เคยมีการลดราคาสินค้าที่ขายในโตเกียวดิสนีย์แลนด์เลย แถมสินค้าแต่ละชิ้นก็ใช่ว่าจะมีราคาถูก แต่ก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เรียกว่ายิ่งแพงยิ่งซื้อ ซื้อกันจนทาง park ต้องประกาศว่าใกล้ถึงเวลาปิดทำการแล้ว หลังจาก park ปิดทำการ (ประมาณ 4 ทุ่ม) จะมีการเช็กจำนวนคนเข้าออก จนแน่ใจว่าแขกที่มาในวันนั้นได้ออกจาก park ไปหมดแล้ว จะมีการทำความสะอาดตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า ซึ่งมีการควบคุมมาตรฐานความสะอาดอย่างเข้มงวด ทุกครั้งที่ไปโตเกียวดิสนีย์แลนด์ จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมถึงสะอาดได้ทุกตารางนิ้วตลอดวัน น้ำในสระก็ใสได้ทุกครั้งที่ไป

ครบรอบ 20 ปีทั้งที ทางโตเกียวดิสนีย์แลนด์จัด Special Event เป็นงานใหญ่ที่จัดฉลองกัน 15 เดือนเต็ม ส่วนราคาค่าตั๋ว (Passport) ราคาเท่าเดิม ซึ่งมีตั๋วหลายประเภท ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ www.tokyodisneyresort.co.jp (แล้วคลิกที่ Ticket Information) สำหรับคนที่อยากจะมาร่วมฉลอง 20 ปีโตเกียวดิสนีย์แลนด์ซึ่งยาวไปถึงปีหน้านั้น ในแต่ละช่วงก็จะมี event ที่แตกต่างกันดังนี้

1. Disney's dreams on Parade ตั้งแต่ 25 มกราคม 2003 ถึง 11 เมษายน 2004

เป็นพาเหรดช่วงบ่ายที่จัดเป็นพิเศษสำหรับฉลองครบรอบ 20 ปี ใช้คนมากกว่า 200 คน พาเหรดมีความยาวประมาณ 40 นาที ความสวยงามและความอลังการของขบวนพาเหรดนี้ สามารถดึงดูดให้คนญี่ปุ่นบางคนมาเพื่อบันทึกภาพโดยเฉพาะเลยทีเดียว

2. Cinderellabration : Lights of Romance ตั้งแต่ 25 มกราคม 2003 ถึง 20 มีนาคม 2003 และเริ่มใหม่อีกทีต้นเดือนมกราคม 2004 ถึง 11 เมษายน 2004 ปราสาทของ เจ้าหญิง Cinderella และรอบๆ ถูกประดับด้วยไฟสีฟ้าในช่วงกลางคืน โรแมนติกและสวยมาก ซึ่งสวยที่สุดตั้งแต่เคยไปมาครับ

หลังจากนี้เป็นโปรแกรมพิเศษที่จะมีจนกระทั่งเมษายนปีหน้า ใครที่จะไปร่วมฉลองไม่ควรพลาดเด็ดขาด!

3. Mickey's Gift of Dreams ตั้งแต่ 15 เมษายน 2003 ถึง 19 กันยายน 2003 จะมีการแสดงพิเศษบนเวทีที่ลานด้านหน้าปราสาท และจะมีของขวัญจากมิกกี้เมาส์ให้กับแขก บางท่านด้วย

4. Blazing Rhythms ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2003 ถึง 19 กันยายน 2003 เป็นงาน dance กลางคืน

5. Disney's Halloween ตั้งแต่ 20 กันยายน 2003 ถึง 31 ตุลาคม 2003 มีของรางวัลสำหรับผู้ที่เล่นเกม tricks and treats ด้วย ลูกค้าที่มาในวันฮาโลวีนจะแต่งแฟนซีกัน เป็นอีกวันที่ไม่ควรพลาดถ้ามีโอกาสมาญี่ปุ่นในช่วงนั้น

6. Christmas Fantasy ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2003 ถึง 25 ธันวาคม 2003 เป็นงานที่ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นญี่ปุ่นที่ไปกันเป็นคู่ๆ ในช่วง Christmas

7. Finale Program ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2004 ถึง 11 เมษายน 2004 เป็นงานฉลองช่วงสุดท้าย ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะมีรูปแบบอย่างไร (ความลับ) คงต้องรอดูว่า โตเกียวดิสนีย์ แลนด์ จะมีอะไรพิเศษในช่วงสุดท้ายของฉลอง 20 ปี โตเกียวดิสนีย์แลนด์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us