Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 เมษายน 2550
จับตาแผนต่อรองผุดโรงถลุงเหล็กSSIส่อวืด             
 


   
www resources

โฮมเพจ สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

   
search resources

สหวิริยาสตีลอินดัสทรี, บมจ.
Metal and Steel




โรงถลุงเหล็กสหวิริยาหรือ SSI ยังวนในอ่าง โอกาสแจ้งเกิดเริ่มริบหรี่หลังบริษัทต่อรองลดเงินลงทุนเฟสแรกจาก 9 หมื่นล้านบาทเหลือ 6 หมื่นล้านบาทโดยกำลังผลิต 5 ล้านตันคงเดิม บีโอไอโต้เป็นไปไม่ได้ ขณะที่อุตฯ ฟันธงมีปัญหาเรื่องเงินลงทุนไม่พร้อม แต่ไม่ยอมรับ รอสหวิริยายื่นอุทธณ์ที่ต้องรอบอร์ดบีโอไอตัดสิน ขณะที่ “สหวิริยา”โต้มีเงินลงทุน แต่รัฐไม่ส่งเสริมจริงจังเตรียมยื่นแผนกับรัฐบาลใหม่แทน

นายสาธิต ชาญเชาว์กุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า แผนการลงทุนกิจการเหล็กครบวงจรของเครือสหวิริยาที่แจ้งขอปรับวงเงินการลงทุนใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทางเครือสหวิริยายังไม่ได้ยื่นเข้ามายังบีโอไอแต่อย่างใด ซึ่งหากยื่นมาทางบีโอไอก็พร้อมที่จะพิจารณาส่งเสริมการลงทุนฯ ให้อยู่แล้วเนื่องจากกิจการโรงถลุงเหล็กจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมภาพรวมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อนาคตไทยจะต้องใช้เหล็กอย่างมาก

“ก่อนหน้านี้ทางเครือสหวิริยาเองแจ้งมาที่จะขอลดเงินลงทุนในเฟสแรกใหม่ ซึ่งทางบีโอไอก็ขอให้ทำแผนใหม่เข้ามาก่อนแล้วค่อยมาดูรายละเอียด”นายสาธิตกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้ร่วมพิจารณาแผนการลงทุนกับบีโอไออย่างใกล้ชิดในช่วงที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดโรงถลุงเหล็กในไทย อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญสุดที่ผ่านมาคือเครือสหวิริยาไม่มีทุนเพียงพอที่จะดำเนินการหากไม่หาผู้ร่วมทุนเข้ามาร่วมซึ่งที่ผ่านมาเครือสหวิริยาปฏิเสธมาตลอดว่าไม่ต้องการผู้ร่วมทุนทั้งที่มีนักลงทุนสนใจในขณะนั้นแต่ล่าสุดนักลงทุนอาจต้องลังเลเพราะกิจการเหล็กนั้นมีการแข่งขันสูงและต้องเป็นรายใหญ่ที่มีศักยภาพพอ

ทั้งนี้ การหารือล่าสุดร่วมกับบีโอไอสหวิริยาจะขอลดเงินลงทุนเฟสแรกจากเดิมจะผลิตได้ปี 2551 ขนาด 5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 90,200 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 31,000 ล้านบาทลดเงินลงทุนเหลือ 60,000 ล้านบาทซึ่งทางบีโอไอเห็นว่าการผลิตระดับ 5 ล้านตันต่อปีแต่ลดเงินลงทุนลงเป็นไปไม่ได้ หากจะลดเงินลงทุนก็จะต้องลดกำลังผลิตลงด้วย

ส่วนปัญหาท่าเรือน้ำลึกทางสหวิริยาฯเองก็ต้องการที่จะขอยกเว้นภาษี 8 ปีซึ่งบีโอไอไม่ได้เป็นปัญหาใดๆ เพราะอยู่ในเฟส 3 อยู่แล้วแต่สหวิริยาต้องการเว้นภาษีโดยไม่จำกัดวงเงินที่ได้รับแต่เงื่อนไขบีโอไอให้ได้แต่ละปีไม่เกินหมื่นล้านบาท

“ล่าสุดสหวิริยาอาจจะทำเรื่องขออุทธรณ์ต่อบีโอไอซึ่งปกติจะสามารถทำได้อยู่แล้วหากไม่พอใจกับการเจรจาโดยสามารถนำแผนเก่าเข้ามายื่นแล้วให้บอร์ดบีโอไอเป็นผู้พิจารณาได้”แหล่งข่าวกล่าว

นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.สหวิริยา สตีล อินดัสตรี หรือ SSI กล่าวว่า โรงถลุงเหล็กคงจะต้องยื่นกับรัฐบาลใหม่เนื่องจากแผนที่ขอปรับใหม่ที่ยื่นกับนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมยังไม่ชัดเจนเพราะกระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีนโยบายที่จะส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง

สำหรับกรณีที่มีผู้มองว่าโครงการของสหวิริยาเกิดไม่ได้เพราะขาดเงินทุนนั้น ไม่เป็นความจริงเพราะสหวิริยาพร้อมที่จะลงทุนเองโดยหากไม่มีผู้ร่วมทุนก็สามารถดำเนินการเองได้โดยเฟสแรกที่จะใช้เงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาทก็มีเงินทุนในเครือเองแล้ว 3 หมื่นล้านบาทซึ่งสามารถจัดหาเงินกู้ได้ แต่หากรัฐต้องการให้มีผู้ร่วมทุนบริษัทก็พร้อมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทเองก็ไม่ได้ต้องการผู้ร่วมทุนแต่ฝ่ายรัฐเกรงว่าจะเดินหน้าไม่ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2550 เครือสหวิริยาได้ยื่นขอปรับแผนลงทุนโรงถลุงเหล็กขนาด 30 ล้านตันที่ได้รับส่งเสริมฯจากบีโอไอไปก่อนหน้าตลอด15 ปีลงทุนประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อนายโฆสิตโดยแผนที่ปรับใหม่จะเลื่อนผลิตออกไป 1 ปีจากกำหนดเริ่มปี 2551 กล่าวคือ แผนใหม่จะปรับเป็นผลิตเฟส 1 ปี 2552 ผลิต 1.5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 36,000 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 12,000 ล้านบาท ปี 2553 ผลิต 1.5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 20,000 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 6,700 ล้านบาท ปี 2554 ผลิต 2

ล้านตันต่อปี ลงทุน 34,000 ล้านบาท ทุนจดทะเบียน 11,350 ล้านบาท เฟสที่ 2 ปี 2557 กำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 131,000 ล้านบาท เฟส 3. ปี 2560 กำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 79,800 ล้านบาท เฟส 4 ปี 2563 ผลิต 5 ล้านตันต่อปี ลงทุน 79,800 ล้านบาท เฟส 5 ปี 2566 กำลังผลิต 7.5 ล้านตันลงทุน 117,200 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us