|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เกาเหลาลามหน่วยงานรัฐ เศรษฐกิจไทยไร้อนาคต เผย สศค.เตรียมนำมาตรการพยุงเศรษฐกิจแถลงต่อ สนช. 15 พ.ค. แต่ คศร.ไม่ให้ความสำคัญ อ้างแต่ละกระทรวงทำอยู่แล้ว คนคลังสอน "ฉลองภพ" ใช้นโยบายการเงินด้วยการให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย-เลิกมาตรการ 30% แทนมุ่งแต่ให้แบงก์เฉพาะกิจปล่อยกู้ ทั้งๆ ที่ไม่มีโครงการใหม่ จับตาอัตราการว่างงานพุ่ง
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจะมีการมาตรการบรรเทาผลกระทบของการชะลอการใช้จ่ายภายในประเทศที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวง ไปแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการแถลงผลงานของรัฐบาล วันที่ 15 พฤษภาคมนี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการที่ สศค. จัดทำดังกล่าว ได้เคยนำไปเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม (คศร.) ที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ในกรอบกว้างๆ แล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากที่ประชุมมองว่า เป็นสิ่งที่กระทรวงต่างๆ ได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับการจ้างงานต่างๆ เช่น โครงการการจ้างงานเพื่อปลูกป่าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอง ก็ต้องการเน้นที่มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจรากหญ้า โดยผ่านกระบวนการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐก่อน ซึ่งได้สั่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ไปคิดโครงการใหม่ๆ มาเสนอในการประชุมวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ แต่ดูเหมือนสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะไม่ได้มีโครงการใหม่ๆ มาเสนอมากนัก และไม่ได้เพิ่มเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อใหม่
"มาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอคงไม่โดนใจเอกชนนัก ถ้าจะให้โดนใจคงต้องใช้นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็คือการลดดอกเบี้ยลงอีก และการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก"แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของมาตรการลดภาษีเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์นั้น ทางผู้บริหารกระทรวงการคลังไม่ค่อยเห็นด้วย รวมถึงภาคเอกชนที่เป็นสมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์เอง ก็ระบุว่า ไม่ค่อยมีผลมากนัก อย่างไรก็ดี เอกชนด้านอสังหาริมทรัพย์ต้องการให้ใช้มาตรการทางภาษีในการกระตุ้นบ้านมือสองมากกว่า
สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบของการชะลอการใช้จ่ายภายในประเทศ ประกอบด้วย 1.มาตรการบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจฐานรากที่มีอัตราการเพิ่มของรายจ่ายมากกว่ารายได้ 2.มาตรการบรรเทาปัญหาการบริโภคสินค้าคงทนที่ชะลอตัว3.มาตรการบรรเทาปัญหาการลงทุนที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในหมวดก่อสร้าง และเครื่องจักรการผลิต 4.มาตรการบรรเทาปัญหาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง และ 5.มาตรการบรรเทาปัญหาการใช้จ่ายของภาครัฐที่ไม่ลงไปสู่ภาคเศรษฐกิจ และมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบรรเทาผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้จะดำเนินการอย่างเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดผลในการพยุงไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากเกินไป รัฐบาลอาจจะนำไปเสนอต่อ สนช. เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไป
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า รัฐบาลได้เตรียมแถลงผลงานต่อ สนช. โดยรูปแบบที่จะแถลง ประกอบด้วยผลการดำเนินงานในโครงการที่ได้ปรับปรุงจากรัฐบาลชุดก่อน ผลการดำเนินงานในโครงการที่คิดขึ้นใหม่ และแนวทางการดำเนินงานในระยะ 6 เดือนข้างหน้า
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ได้แสดงความกังวลว่า หากเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่ถึง 4% จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ โดยเฉพาะแรงงานจบใหม่ที่มีประมาณปีละ 7 แสนคน อาจจะได้รับการจ้างงานไม่เต็มจำนวน ซึ่งคาดหวังว่า การออกมาตรการของ สศค. แบบเป็นแพ็กเกจจะช่วยรับมือไม่ให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นได้ หากนำมาใช้อย่างทันเวลา
"สศค. กำลังพยายามทำแพ็กเกจอยู่ เราเห็นสัญญาณว่า จะมีผลกระทบต่ออัตราการว่างงาน ส่วนจะรับมือได้แค่ไหนต้องขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่จะออกมา ซึ่งจะช่วยได้"
|
|
|
|
|