Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
ประเมินด้านบวก ปรับเรตติ้งประเทศไทย             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 





เมื่อเร็วๆ นี้มีนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ไทยหลายคนที่เสนอมุมมองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในระยะ 1-2 ปีบวกกับแนวโน้มการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง น่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสากลหลายแห่ง นอกจากจะปรับมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยแล้ว น่าจะปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ด้วย

อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย บอกว่าความกังวล เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการคลัง (Fiscal risk) ซึ่งถือเป็น อุปสรรคสำคัญต่อการพิจารณาปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนของไทยในช่วงที่ผ่านมา ขณะนี้มีแนวโน้มลดลงแล้ว

ในเดือนพฤศจิกายน 2545 มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่ทรงอิทธิพล ได้ทำการปรับมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจไทยจากระดับเป็นบวก (Positive Outlook) ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีอย่างมาก และในตอนนั้นนายกรัฐมนตรีก็ออกมาบอกว่าจะมีการปรับอันดับเครดิตให้กับไทย เร็วๆ นี้ แต่นั่นก็เป็นการพูดล่วงหน้านานเกินไป ขณะที่ในตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์เริ่มพูดประเด็นนี้อีกครั้งเพราะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนในหลายเรื่อง

อุสราบอกว่า ประเด็นสำคัญที่สุดของความเสี่ยงทางด้านการคลังที่ถูกจับตามอง คือเรื่องการจัดการปัญหาหนี้สาธารณะและโครงสร้างการก่อหนี้ของรัฐบาล

สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับ 54.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่โครงสร้างของหนี้สาธารณะจำนวนนี้มีการเปลี่ยน แปลงไปจากสมัยปี 2540-41 ที่ไทยเผชิญภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ กล่าวคือตอนนั้นไทยมีหนี้เงินกู้ระยะสั้นที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีโดยเฉพาะการกู้เงินจากตลาดซื้อคืนพันธบัตรมีสัดส่วนสูงถึง 65% ของหนี้ทั้งหมดที่รัฐบาลกู้ภายในประเทศ แต่ปรากฏว่าในปี 2545 สัดส่วนนี้ลด ลงเหลือเพียง 17% โดยหนี้ระยะสั้นถูกแปลงให้เป็นหนี้ระยะยาวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี ซึ่งในปี 2545 หนี้ระยะ ยาวก้อนนี้มีจำนวน 57% ของหนี้ทั้งหมดที่รัฐบาลกู้ภายในประเทศ

นอกจากเปลี่ยนสัดส่วนอายุของหนี้สาธารณะแล้ว ยังมีการเปลี่ยนโครงสร้างแหล่งเงินกู้ด้วย โดยมีการลดเงินกู้ต่างประเทศลงจากระดับ 35% ในปี 2540 มาอยู่ที่ 25% ในปี 2545 ทำให้หนี้สาธารณะปัจจุบันเป็นการกู้จากแหล่งเงินในประเทศ 75%

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหนี้สาธารณะดังกล่าว อุสราบอกว่าช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งความเสี่ยงในเรื่องการ Rollover หนี้อีกด้วย ทำให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวขึ้นมาก นอกจากนี้ระบบธนาคาร พาณิชย์ไทยที่ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ในระดับสูง บวกกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่ายังจะเกินดุลอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้การ Refinance หนี้ของรัฐบาลและกองทุนฟื้นฟูที่จะครบกำหนดในอีก 1-2 ปีข้างหน้ามีความเสี่ยงต่ำ

เธอบอกด้วยว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในขณะนี้ยังอำนวยให้รัฐบาลสามารถ Rollover หนี้ที่กำลังจะครบกำหนดด้วยต้นทุนทางการเงินที่ถูกกว่าเดิมอีกมากด้วย

นอกจากประเด็นหนี้สาธารณะแล้ว สิ่งที่สถาบัน จัดอันดับความเสี่ยงจับตามองอีกเรื่องคือ การแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาที่ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทยร่วมมือกับกระทรวงการคลังจัดทำขึ้นตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยแบ่งภาระการรับผิดชอบที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานทั้งสองและนโยบายการออกพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่สุด

ภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ มีอยู่ทั้งหมด 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งได้นับรวมเข้าไว้ในตัวเลขหนี้สาธารณะ ที่มีอยู่ประมาณ 2.93 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 54.2% ของ GDP แล้ว นั่นเป็นข้อที่ทำให้นักเศรษฐศาสตร์เบาใจว่าหนี้ก้อนนี้มีการรับผิดชอบชัดเจน แม้เม็ดเงินส่วนหนึ่งคือจำนวน 8 แสนกว่าล้านบาทเท่านั้นที่จัดอยู่ ในระบบงบประมาณของรัฐบาล ส่วนอีกเกือบ 6 แสนล้านบาทนั้น ยังอยู่ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งได้รวม ความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 245,000 ล้านบาทเอาไว้ด้วยแล้ว (ดูตาราง)

โดยภาพรวมแล้ว การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะของไทยมีแนว ทางที่ชัดเจน บวกกับการประกาศจะทำนโยบายงบประมาณสมดุลในอีก 4 ปีข้างหน้า สะท้อนว่าหนี้สาธารณะจะไม่กลับมาเป็นประเด็นความกังวลต่อผู้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยอีก อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องคือการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ประเมินว่าการใช้จ่ายตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการธนาคารประชาชน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น คิดเป็นภาระหนี้ผูกพันของรัฐบาลประมาณ 39% ของ GDP ซึ่งประเด็นนี้อาจจะสร้างความกังวลขึ้นมาได้

อุสราตอบว่าภาระหนี้ตัวนี้ถือว่าไม่มากเมื่อเทียบ กับความสามารถในการจัดเก็บภาษีและแหล่งรายได้อื่นๆ ของรัฐบาลในอนาคต เธอยกตัวอย่าง 3 เรื่องใหญ่ ที่จะเป็นแหล่งที่มารายได้ของรัฐบาลนอกจากการจัดเก็บภาษีในระบบปกติ นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 3% ที่รัฐบาลยังไม่ได้จัดเก็บ, การบริหารหนี้ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยหรือ TAMC ซึ่งหากสามารถทำ Recovery Rate ได้สูงกว่าอัตรา 40-45% ก็ถือว่ามีกำไร และราคาสินทรัพย์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามการฟื้นตัวและเติบโตของเศรษฐกิจ

ในส่วนของด้านฐานะการเงินระหว่างประเทศของไทยที่ดีขึ้นตามลำดับ จากการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศที่สูงขึ้น ขณะที่ยอดหนี้ต่างประเทศปัจจุบันก็ปรับตัวลดลงจากเดิมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ออกจะเป็นมุมมองที่ดีอย่างมากๆ ของนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ไทย แม้สถานการณ์ทั่วโลกจะไม่เป็นใจสักเท่าใดก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us