Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
Trouble on the Tops             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





"Let's not forget for whom we work?"

คติพจน์ของพ่อค้าชาวดัตช์ Albert Heijn ผู้ก่อตั้งกิจการค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลก-บริษัท Royal Ahold NV ที่กล่าวเตือนสติไว้เมื่อ 116 ปีที่แล้วใช้ไม่ได้ผล เมื่อ เกิดคดีอื้อฉาว กรณีบริษัทแจ้งตัวเลขบัญชีรายได้เกินจริง ไปถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ปรากฏตั้งแต่ปี 2001-2002 ส่งผลให้ประธานกรรมการบริหารอย่าง Cees van der Hoeven และ Michiel Meurs กรรมการบริหารที่รับผิดชอบทางการเงิน (CFO) ต้องลาออกจากตำแหน่ง ไปในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ปีนี้

ราคาหุ้น AHO ตกร่วงเหลือ 3.18 ยูโร/หุ้น (6 มี.ค.2003) จากที่เคยสูงสุด 30.29 ยูโร (3 เม.ย.2002) หุ้นของ AHO จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ขณะที่ หุ้น Ahold เทรดในตลาดหุ้น Amsterdam ในเนเธอร์ แลนด์ และที่ Zurich ในสวิตเซอร์แลนด์ด้วย

เมื่อปลายปีที่แล้ว Cees van der Hoeven เคย ยืนยันหนักแน่นว่า "This is what some commentator forget : we are a real company, made up of real people working real hard everyday to service real customers in order to make real money for shareholder. Customer satisfaction, as I have said before, is our only reason for being in business, and we will never forget that." แต่ไม่ทันไร เขาก็ลืมเสียแล้วว่าใครคือใครในยามวิกฤติ

เป็นที่รับรู้กันว่า Royal Ahold บริษัทยักษ์ใหญ่ค้าปลีกอันดับ 3 ของโลกเติบโตเร็วมากขยายซูเปอร์ มาร์เก็ตกว่า 8,500 สาขาทั่วโลกในระยะ 10 ปี ที่ Cees van der Hoeven บริหารด้วยยุทธศาสตร์รุกซื้อกิจการ กว่า 50 บริษัท ก่อหนี้เมื่อปีที่แล้วถึง 12.3 พันล้านยูโร ที่ต่างจากยักษ์ใหญ่วอล มาร์ต และคาร์ฟูร์ โดยเฉพาะตลาดใหญ่ในสหรัฐฯ Ahold เป็นเจ้าของกิจการ Stop-Shop, Giant-Landover, Giant-Carlisle, Tops, BI-LO, Bruno's บริหารซูเปอร์สโตร์กว่า 1,600 สาขา ที่ทำรายได้ปีที่แล้ว กว่า 60% ของยอดขายทั่วโลกหรือประมาณ 43.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2002

ที่สำคัญในปี 2000 Ahold ซื้อธุรกิจ U.S.Food service บริษัทลอจิสติก ยักษ์ใหญ่บริการจัดส่งที่โตเร็วมากทำรายได้ถึง 19 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการบริหารของ James L.Miller ที่ทำงานเข้าตาจนได้เป็นกรรมการ Royal Ahold ด้วย แต่สองปีที่บริษัท U.S. Foodservice ได้หมกเม็ดตกแต่งบัญชีที่น่าสงสัยที่มา "promotional allowances" เกินจริงไป 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วนที่ภาคพื้นประเทศยุโรป Ahold มีสาขาถึง 6,500 แห่ง ครอบคลุม 13 ประเทศโดยเฉพาะทางยุโรป ตอนเหนือ Ahold ได้ร่วมลงทุน 50/50 กับกลุ่ม ICA ปีที่แล้ว ยอดขายประมาณ 23.20 พันล้านยูโร หรือประมาณ 30% ของยอดขายทั่วโลก

ในเอเชีย Ahold มีโอกาสลงทุนขยายธุรกิจช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในนาม Tops Supermarket ที่กระจายไปทั่ว 112 สาขา ทำยอดขาย 456.5 ล้านยูโร

ขณะที่ซูเปอร์สโตร์ในประเทศละตินอเมริกา มีประมาณ 600 สาขา ทำยอดขาย 2.75 พันล้านยูโร โดย 236 สาขาของ Disco Supermarket ในชิลี เปรู และปารากวัย ทำยอดขายมากที่สุดอย่างน่าสงสัยถึง 2.1 พัน ล้านยูโร ภายใต้พันธสัญญาที่ Ahold จำต้องควักจ่าย 492 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อหุ้นธุรกิจ Velox Retail Holdings (VRH) ของตระกูล Peirano ที่เป็นเจ้าของDisco และแบงก์ Banco Montevideo ในอุรุกวัย ที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ดังนั้นแทนที่เงินจะเข้า VRH กลับเข้าแบงก์แทน

โดยประวัติ Cees van der Hoeven เป็นชาวดัตช์ที่เรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยGroningen เริ่มทำงานกับบริษัทเชลล์ เคยไปประจำที่อังกฤษ และประเทศโอมาน ทำอยู่ 15 ปี ก็ลาออกเป็น Financial Director ของบริษัท de NAM ระหว่างปี 1980-1984 ก่อนย้ายมาอยู่กับบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ อย่าง Royal Ahold ในปี 1985 ในตำแหน่ง EVP/Finance & Administration และได้เป็น President และCEO ตั้งแต่ปี 1993 เคยเป็นกรรมการที่ปรึกษาบอร์ดของ แบงก์ ABN AMRO, บริษัท Royal Dutch Telecom และ Louis Vuitton

ยุทธวิธีแตกแล้วโตของ Ahold ที่ทำในช่วงปี 1998 ให้ผลกำไรงดงามเพิ่มขึ้น 28% จนทำให้คู่แข่งต้องเริ่มทำตาม เช่นกันในปีนั้น คาร์ฟูร์ซื้อซูเปอร์มาร์เก็ต เชน Copmtoirs Modernes และวอล มาร์ตซื้อเชนของ เยอรมนีชื่อ Wertkauf ตามมา แต่ทั้งสองยักษ์ใหญ่ต่างใช้แบรนด์เนมตัวเองครอบธุรกิจที่ซื้อมาต่างจาก Ahold ที่ยังคงใช้ชื่อตามท้องถิ่นนิยม

แต่หลังเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐฯ ปรากฏการณ์ ล่มสลายของยักษ์ใหญ่ธุรกิจเกิดขึ้นเด่นชัด จากกรณีตกแต่งบัญชีตบตานักลงทุนใน ENRON และ World Com จนมาถึงกรณี AHO ที่นักลงทุนถึงกับผวาว่า "Is Ahold Dutch for Enron or Kmart?" และสงสัยถึงมาตรฐานการตรวจสอบบัญชีของบริษัท Deloitte & Touche โดยเฉพาะกรณีที่ปรากฏว่า กำไรสำหรับปี 2001 ที่ปรากฏจำนวน 120 ล้านยูโร ภายใต้กฎระเบียบการตรวจสอบบัญชีในระบบอเมริกัน แตกต่างอย่างมากกับระบบตรวจสอบแบบดัตช์ ที่แสดงผลปรากฏตัวเลขพุ่งสูงถึง 1,000 ล้านยูโร

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในวิธีการตีความรายการในบัญชี ระหว่างผู้กำกับตรวจสอบในระบบอเมริกันกับระบบยุโรป ที่ขัดแย้งและแตกต่างกันมหาศาลในการตีความการกระทำใดเข้าข่าย "ฉ้อโกง" โดยเฉพาะในสหรัฐฯ กฎหมายฉบับใหม่ Sarbanes-Oxley ที่ว่าด้วยธรรมาภิบาล บังคับให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลงนามสัตยาบันรับรองบัญชี หากผู้ใดกระทำผิดต้องโทษอาญาร้ายแรงทีเดียว แต่ของดัตช์กลับมองว่านี่คือเรื่องภายในบริษัท "an internal business matter"

นี่คือแนวคิดการสอบบัญชีแบบยุโรปที่ยึดหลักprinciple-based" ที่รักษาหน้ามากกว่าระบบอเมริกันที่ยึดหลัก "rules-based"

ท่ามกลางมรสุมใหญ่ที่ซัดกระหน่ำ Royal Ahold ในภาวะที่ไร้ผู้นำ และการจัดการปัญหา ภาระหนี้สินก้อนใหญ่มหาศาล ความหวังเดียวคือเงินกู้อัดฉีดพยุงฐานะกิจการจาก 5 สถาบันการเงิน ABN AMRO, Goldman Sachs, ING, J.P.Morgan Chase และ Robobank ที่ตกลงปล่อยกู้ประมาณ 3.1 พันล้านยูโรหรือ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's ได้ downgrade พันธบัตรเงินกู้ของ Ahold อยู่ในสถานะ "Junk" !

ในอนาคต หากแก้ไขไม่ได้ วิกฤติของ Ahold จะกลายเป็นโอกาสของคู่แข่งที่จ้องเทกโอเวอร์ธุรกิจ เช่น วอลมาร์ตสนใจซื้อธุรกิจ logistic และ online retailer ในสหรัฐฯ หรือ Tesco ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ อาจสนใจธุรกิจในเอเชียและยุโรป ขณะที่ Daniel Bernard ประธานบริหารของคาร์ฟูร์ กล่าวว่า

"We are not candidates to acquire Ahold, but if portions of the company were up for sale, we would look at them with our investment criteria in mind."

บทเรียนอันเจ็บปวดของ Cees van der Hoeven ที่บริหาร Royal Ahold แบบใหญ่เกินจริง อาจทำให้อนาคตของยักษ์ใหญ่ค้าปลีกอายุนับร้อยกว่าปีแห่งนี้ต้องแปรเปลี่ยนอย่างคาดไม่ถึง!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us