Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
Modernine TV อุดมคติ VS ธุรกิจ             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (MCOT)
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์




ความเคลื่อนไหวของทีวีช่อง 9 ในช่วง 3-4 เดือนมานี้ สะท้อนความคิดเชิงยุทธ์ของมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น

ที่สำคัญกำลังชี้ว่าเขาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เข้มข้น และยอมรับ "ความจริงของธุรกิจ" มากขึ้นด้วย

ปรากฏการณ์การเปิดตัวให้ดูยิ่งใหญ่ ตามสไตล์นักประชาสัมพันธ์ ในช่วงขั้นที่สองของการปรับตัวของทีวีช่อง 9 นี้ ครั้งล่าสุดเมื่อกลางเดือนมีนาคม มีสาระบางประการที่ควรตีความ

‘ แน่ละ สิ่งสำคัญประการแรกของการบริหารทีวีสาธารณะในยุคนักการตลาด ย่อมมิใช่การบริหาร แบบ "เช่าช่วง" ที่ดูเหมือนการบริหารศูนย์การค้า ด้วยการสร้างตึกแล้วเปิดให้ผู้ประกอบการร้านค้ามารับช่วงดำเนินการ แนวทาง ใหม่คือ การสร้างบุคลิกของทีวีให้มีบุคลิกชัดเจนมากขึ้น พยายามสร้างให้ "ผลิตภัณฑ์" ที่มีบุคลิกเฉพาะขึ้นมา ความพยายามเหล่านี้ บางครั้งดูจะเป็นเพียงหน้าฉากที่ดูค่อนข้างฉาบฉวย แค่การเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสโลแกน เปลี่ยนฉาก หรือแม้แต่ผู้ประกาศบางคนพยายาม เปลี่ยนบุคลิกของตนเอง เลยทำให้ไม่มีบุคลิกไปเลยก็มี

‘ ในครั้งแรกแห่งการเปลี่ยนแปลง ในขั้นที่หนึ่ง มิ่งขวัญมี "ความคิดใหม่" ที่น่าสนใจมาก นั่นคือความพยายามสร้าง สถานีข่าวที่โดดเด่นที่สุด โดยพยายาม ดึง "ศักยภาพ" ของทีมข่าว อ.ส.ม.ท. ซึ่งเป็นทีมข่าวทีมเดียวในประเทศที่ไม่เคยทำงานอย่างคุ้มค่าในเชิงธุรกิจ เป็นทีมนักข่าวที่มีจำนวนมากที่สุดของวงการสื่อมวลชนไทยก็ว่าได้ ในเบื้องต้นเป็นความพยายามในการค้นพบจุดแข็งและบุคลิกเฉพาะของ อ.ส.ม.ท. ที่อาจจะเรียกว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 26 ปีเลยทีเดียว เป็นเป้าหมายเชิงอุดมคติในการสร้างเครือข่ายข่าวสารข้อมูลสำคัญของสังคมไทย และเชื่อมสังคมไทยกับสังคมโลก ที่สำคัญเป็นเป้าหมายเชิงอุดมคติของธุรกิจทีวีสาธารณะ ในความพยายามหลุดพ้นจากโมเดลธุรกิจเดิมที่ทำตัวเป็นเจ้าของศูนย์การค้าดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ความพยายามครั้งนั้น สะท้อนว่าจากนี้ไปทีวีช่อง 9 จะมีสินทรัพย์ของตนเองมากขึ้น มีคุณค่า ของตนเองมากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีมีโอกาสสร้างมูลค่ามากขึ้น ในหลายมิติ รวมทั้งในเชิงธุรกิจที่จะให้ผลตอบแทนสูงว่า "ค่าเช่า" ที่ตายตัวเท่านั้น ดูเหมือนจะสอดคล้องกับแนวทางการสร้างธุรกิจบันเทิงทั่วโลก ที่นักลงทุนในตลาดเงินยึดเป็นโมเดลในการวิเคราะห์ความสามารถของการบริหารทีวี สาธารณะเสียด้วย

ทว่าการปรับผังรายการในครั้งที่สอง ล่าสุด แม้จะดูว่าเพิ่มเวลาของข่าวมากขึ้น แต่ความชัดเจน กลับมาอยู่ "ศูนย์การค้า" ทีวี ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจหลักหรือกระแสหลักของทีวีไทยนั่นเอง

ถือว่าเป็นความพยายามในการปรับตัวทางธุรกิจ ที่ดูยังไม่ลงตัว ในเชิงแนวทางของผู้อำนวยการ คนใหม่

เรื่องนี้น่าจะมีแรงบันดาลใจและแรงกดดันอยู่เบื้องหลังหลายประการทีเดียว

‘ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการคนใหม่ มองความสำเร็จในการบริหารกิจการ โดยยึดเอาโมเดลธุรกิจไว้อย่างเหนียวแน่น ในฐานะนักการตลาด คนหนึ่งที่มีประสบการณ์ยาวนานในภาคธุรกิจ ความ พยายามปรับตัวครั้งล่าสุดของช่อง 9 สะท้อนว่า การปรับตัวครั้งแรกยังไม่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจเท่าที่ควร และด้วยความใกล้ชิดกับวงการธุรกิจ และโฆษณา มิ่งขวัญจำต้องติดตามและปรับตัวตาม กระแสที่คาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้โฆษณาได้ ซึ่ง เป็นเพียงดัชนีเดียวก็ว่าได้ ที่ว่าด้วยความสำเร็จทางธุรกิจ

มันเป็นเรื่องยาก และเป็นเรื่องน่าเห็นใจมาก ทีเดียว สำหรับผู้บริหารองค์กรของรัฐ ที่จะสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายเชิงอุดมคติ (หรือเชิงยุทธศาสตร์) ของสังคมรัฐเข้ากับความสำเร็จในเชิงธุรกิจ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นหลักประกันว่า ผู้มีอำนาจในรัฐจะเข้าใจหรือตีค่าอย่างไร ที่พูดๆ กันไปอย่างสวยหรูนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่ว่า จะยุทธศาสตร์ ว่าด้วยสังคมไทยจะเป็นจุดเชื่อมทาง ยุทธศาสตร์ของสังคมในโลกตะวันออกยุคใหม่ ซึ่งมิ่งขวัญเข้าใจความคิดนี้ดีคนหนึ่งในทีมที่ยืนข้างรัฐบาลชุดนี้ อย่างไรก็ตาม แนวทางนั้นไม่ใช่หลักประกันความมั่นคง ในฐานะมืออาชีพของรัฐ หากไม่ประสบความสำเร็จใจเชิงธุรกิจ อ.ส.ม.ท.เป็นหน่วยงานที่ต้องประกอบด้วยทั้งสองสิ่งพร้อมๆ กัน และดูเหมือนสิ่งหลังจะดูเป็นสรณะมากกว่าเสียด้วย

‘ ในช่วงครึ่งปีมานี้ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ คงได้เรียนรู้ว่า "คุณค่าเก่า" ของสำนักข่าวของรัฐที่ดูยิ่งใหญ่ในเชิงปริมาณนั้น มิใช่จะมาพร้อมกับคุณภาพ ความจริงเรื่องนี้ ผมเข้าใจเองว่าเขาก็เข้าใจ ลางๆ มาแต่ต้น มิฉะนั้นเขาคงไม่ให้ความสนใจ ความสำคัญกับสายสัมพันธ์กับเครือข่ายข่าวทั่วโลกมากเป็นพิเศษ อาจจะหวังว่าเครือข่ายเหล่านี้มาแทน หรือเสริมคุณค่าเก่าได้บ้าง แต่ก็มาค้นพบความจริงว่าเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้น เป็นสินค้าทั่วไปใน ตลาด ทีวีทุกช่องซื้อหาแบบเดียวกัน ที่สำคัญการบริหาร และการใช้ข้อมูลข่าวสารระดับโลกให้มีคุณค่าเฉพาะของตนเอง ก็ยังต้องผ่าน "คุณค่าเก่า" มันเลยหลอมกลายเป็นคุณค่าเก่าไปด้วย อย่างช่วยไม่ได้

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ปรับตัวรวดเร็วมาก ในฐานะนักบริหารที่ไม่เคยมีใครทำได้ในวงการรัฐ เชื่อว่าในการปรับความคิดของเขาและการปรับตัวครั้งต่อๆ ไป ของทีวีช่อง 9 ความสมดุลระหว่างอุดมคติกับธุรกิจจะดูกลมกลืนมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us