Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2550
Hobby + Business = Passion2             
โดย สุภัทธา สุขชู
 

   
related stories

จุดเริ่มต้นในวัย 40 ปี ของเครือไมเนอร์
Like Father, Like Son

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น
โฮมเพจ บริษัท ไมเนอร์ เอวิเอชั่น จำกัด

   
search resources

ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
วิลเลียม อี.ไฮเน็คกี้
Aviation
Minor Aviation Limited




อาจถือเป็นความสามารถพิเศษที่ควรค่าแก่การลอกเลียนแบบของไฮเนคกี้ เพราะเขาสามารถนำ "passion" หรืองานอดิเรกเข้ามาผสานกับการทำธุรกิจของเขาได้อย่างแนบเนียน

Passion แรกที่เขานำมาก่อร่างเป็นธุรกิจอย่างรูปธรรม และโกยเงินได้ไม่น้อย นั่นก็คือ การขับเครื่องบินเล็ก

อย่างที่รู้โดยทั่วกัน ไฮเนคกี้โปรดปรานการขับเครื่องบินเล็กเป็นอย่างมาก เล่าต่อกันมาว่า ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเขามีเครื่องบินเล็กเป็นของตัวเองอย่างน้อย 4 ลำ

เพียงไม่นานหลังจากที่กรมการบินพาณิชย์อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเป็นเจ้าของเครื่องบินเล็ก ไฮเนคกี้ก็เริ่มต้นธุรกิจนายหน้าจัดซื้อเครื่องบินเล็กของบริษัทไปเปอร์ทันทีในช่วงกลางปี 2538

นอกจากจะผันตัวเองจากลูกค้ากลายมาเป็นคู่ค้ากับไปเปอร์ ไฮเนคกี้ยังสามารถโน้มน้าวใจเพื่อนนักธุรกิจให้กลายมาเป็นลูกค้าของเขาได้ด้วย

"สาเหตุที่ไมเนอร์สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องบินไปเปอร์ เพราะเห็นว่าเครื่องบินเล็กจะเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตน่าสนใจในประเทศไทย" ไฮเนคกี้เคยกล่าวไว้ในนิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับพฤษภาคม 2539

ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 นักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยหลายคนนิยมขับเครื่องบินเล็กเยี่ยงกีฬาชั้นสูง ขณะที่อีกส่วนชื่นชอบ "เครื่องจักรเร่งเวลา" ที่มีสนนราคาสูงกว่า 5-20 ล้านขึ้นไป ก็เพื่อประหยัดเวลาเดินทาง

นพพร พงษ์เวช, ประจักษ์ สีบุญเรือง, ธีระ ต.สุวรรณ, ภาสุรี โอสถานุเคราะห์, รชฎ กาญจนวณิชย์, ชาญ โสภณพนิช, กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน

สุวิทย์ หวั่งหลี เป็นเพื่อนนักบินคนสนิทของไฮเนคกี้ อีกทั้งยังเป็นหุ้นส่วนธุรกิจและเป็นประธานบริษัทของโรงแรมแมริออท รอยัล การ์เด้น ริเวอร์ไซด์ (ปัจจุบันคือ กรุงเทพฯ แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา)

การเสียชีวิตของสุวิทย์ในอุบัติเหตุเครื่องบินส่วนตัวตกเมื่อปี 2537 จึงทำให้ไฮเนคกี้ต้องเสียใจที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะเขาเป็นคนแนะนำให้เพื่อนเข้าสู่วงการการบิน

ไฮเนคกี้ไม่ใช่นักบินมือสมัครเล่น เขาเคยขับเครื่องบินเล็กบินทั่วประเทศไทย บินข้ามทวีปจากลอนดอนสู่ซิดนีย์ และเขาเป็นนักบินเครื่องบินเล็กคนแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บินสู่ประเทศพม่าในเส้นทางบินรอบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ของเขา

เช่นเดียวกับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายเครื่องบินเล็กของเขา ซึ่งทุกวันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป

"ถึงวันนี้ เราโตเกินกว่าที่จะทำธุรกิจให้กับไปเปอร์อีกต่อไป เพราะเราต้องการรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจการบินและเซสนาก็เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่กว่า"

ไฮเนคกี้ให้เหตุผลในการเปลี่ยนไปซื้อแฟรนไชส์ของบริษัทเซสนาในปี 2544 ทว่าเหตุผลที่แท้จริงก็คือ เซสนาผลิตเครื่องบินเจ็ต ขณะที่เขาเองก็อยากได้เครื่องบินเจ็ตมาโดยตลอดและเพิ่งเรียนจบหลักสูตรขับเครื่องบินเจ็ตจากประเทศสหรัฐอเมริกา

"เครื่องบินเล็กยังไม่ถือว่าเป็นธุรกิจหลัก มีสัดส่วนเพียง 1-3% ของรายได้ในไมเนอร์คอร์ปฯ แต่มีมาร์จินสูง ก็ถือว่าเป็นความชอบที่ทำกำไรได้" ประภารัตน์ ตังควัฒนา สวมบท Investor Relation ให้ข้อมูล

การสำรวจระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยที่จบหลักสูตรการขับเครื่องบินเล็กจากสโมสรการบินพลเรือนไม่ต่ำกว่า 300 คนต่อปีเลยทีเดียว

ทุกวันนี้ ไมเนอร์คอร์ปฯ ยังทำธุรกิจให้บริการด้านการบิน หรือ chartered flight โดยจัดตั้งเป็นบริษัท Minor Aviation จำกัด ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นไมเนอร์คอร์ปฯ เคยร่วมหุ้นใน บริษัท SGA (Siam General Aviation) กับพรรคพวกที่รักเครื่องบินเล็กมาแล้ว เพื่อเรียนรู้ธุรกิจชาร์เตอร์ไฟลต์

นอกจากการขับเครื่องบินเล็ก ไฮเนคกี้ยังหลงใหลการขับรถแข่งอย่างมาก โดยรถแข่งแต่ละคันของเขา ล้วนแต่เป็นเครื่องยนต์ระดับโปรในการแข่งรถ

แม้จะไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง แต่เมื่อปี 2510 สมัยเพิ่งสร้างธุรกิจไฮเนคกี้เคยใช้ความชอบตรงนี้มาหาทุนทำธุรกิจ ผ่านการขอเงินสปอนเซอร์จากบริษัทฟอร์ด ในการสร้างสถิติขับรถเร็วจากสิงคโปร์สู่กรุงเทพฯ ภายในเวลาไม่เกิน 30 ชั่วโมง

ข้อตกลงก็คือ ถ้าเขาทำได้เขาจะได้เงินสปอนเซอร์ไปใช้ แต่ถ้าทำไม่ได้เขาต้องออกเงินเอง ด้วยสภาพของถนนในยุคนั้น และภัยร้ายตามแถบชายแดน การขับรถทำสถิติครั้งนี้ กลายเป็นเรื่องท้าทาย และกลายเป็นข่าวระดับภูมิภาคเลยทีเดียว ดังนั้น ไม่ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ ไฮเนคกี้ก็ดังไปแล้วเรียบร้อย

หลังจากชนะพนันครั้งนั้น ก็ตามมาด้วยการแข่งรถอีกหลายหนทั้งในและนอกสนามแข่งขัน พร้อมกับชื่อเสียงของเขาในฐานะนักแข่งรถ

ในปีหลังๆ ไฮเนคกี้ใช้การแข่งรถในการสร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจของตัวเอง

ครั้งที่สำคัญก็คือ การสร้างแบรนด์ผ่านการเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักแข่งรถวัยเพียง 17 ปีที่ชื่อ James Grunwell เข้าแข่ง 2006 Formula BMW Asia ภายใต้ชื่อทีม "The Pizza Company Team Meritus" ซึ่งจะส่งผลให้แบรนด์เดอะพิซซ่าฯ โชว์หราท้าสายตาชาวโลก โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก

เบื้องต้น แบรนดิ้งครั้งนี้จะส่งผลดีต่อ เดอะพิซซ่าฯ ในประเทศจีน อันเป็นตลาดหลักในต่างประเทศที่ไฮเนคกี้มุ่งมั่นจะทำกำไรให้ได้ก่อนปี 2553 เพราะกีฬาแข่งรถเป็นกีฬายอดฮิตติดอันดับต้นๆ ของชาวจีน

เชื่อกันว่า เหตุผลที่ไฮเนคกี้เลือกเป็นสปอนเซอร์ให้กับ James Grunwell เพราะเด็กหนุ่มนักแข่งตาน้ำข้าวคนนี้มีอะไรคล้ายกับเขา คือเติบโตและอาศัยในเมืองไทย อีกทั้งยังมุ่งมั่นจะเป็นนักแข่งรถระดับโลก ขณะที่ไฮเนคกี้ก็อยากให้แบรนด์ พิซซ่าของเขาขึ้นเวทีโลกเหมือนกัน

บ้างก็เชื่อว่า James Grunwell คือตัวแทนความฝันในวัยเยาว์ของไฮเนคกี้ เพราะถ้าวันนั้นเขาไม่เลือกเป็นนักธุรกิจชั้นนำ วันนี้เขาอาจจะเป็นนักแข่งรถมืออาชีพที่มีชื่อเสียงก้องโลกไปแล้ว

การดำน้ำ scuba เป็นอีก passion ที่ไฮเนคกี้พยายามจะหาเวลาว่างให้ตัวเอง ให้ได้อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อปลีกวิเวกดำดิ่งสู่โลกแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริงที่อยู่ใต้ทะเลลึก

แม้จะเป็นการพักผ่อน แต่ครั้งหนึ่งไฮเนคกี้ก็เคยนำงานอดิเรกนี้มาใช้กับธุรกิจของเขา นำภาพตอนที่เขาดำน้ำลงไปป้อนอาหารปลาฉลามขาวในทะเลแดง ไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ "เชื่อหรือไม่" ริปลีย์ที่พัทยาและฮ่องกง

ว่ากันว่า ความสัมพันธ์ของนักธุรกิจมักเริ่มที่กีฬา และกีฬาทั้ง 3 ประเภท ล้วนแต่ทำให้ไฮเนคกี้สามารถสั่งสมและสานสัมพันธ์กับนักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยได้หลายคน เช่น ม.ล.อัศนี ปราโมช ที่มักไปดำน้ำกับเขาบ่อยๆ หรือสุวิทย์ หวั่งหลี ที่เคยเป็นเพื่อนนักบินคนสนิทของเขา

สำหรับไฮเนคกี้ เกมกีฬายังเป็นเรื่องของเป้าหมายในชีวิตอีกอย่างที่ผู้บริหารในทีมของเขาต้องพยายาม "achieve" ให้ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นสัญชาตญาณนักต่อสู้บ่อยๆ "ผมเชื่อว่า ทีมผู้บริหารของผมประสบความสำเร็จในเกมกีฬาของเขาระดับหนึ่ง"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us