Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
House-n โครงการบ้านแห่งอนาคตของ MIT             
 





ตลอดศตวรรษที่แล้วทั้งสถาปนิก และนักออกแบบต่างพากันติดข้องอยู่ในใจว่า ทำไมอุตสาหกรรมสร้างบ้านจึงไม่สามารถขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ แบบเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์หรือผลิตเครื่องบิน.... นิตยสาร Metropolis ฉบับเดือนธันวาคม เกริ่นนำแล้วร้อยเรียงเรื่องราวต่อไปว่า ทั้งอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และเครื่องบินต่างอยู่ตรงจุดสูงสุดของยุคเครื่องจักร มีระบบวิศวกรรมโดยละเอียด (precision-engineering) ครบครันอยู่ในโรงงานพร้อมวัสดุและเทคโนโลยี ทันสมัยล่าสุด โดยเฉพาะการเน้นเรื่องรูปทรงเพรียวลมแบบ aerodynamic นั้น ล้วนเป็นไปตามความต้องการใช้งานทั้งสิ้น

แต่ในส่วนของอุตสาหกรรมสร้างบ้านกลับตรงกันข้าม เพราะต้องก่อสร้างและประกอบตัวบ้านอย่างเหนื่อยยาก ณ จุดที่สร้าง ทำให้นักออกแบบ สถาปนิก และรัฐบาล ต้องทุ่มเทเวลา และงบมหาศาลสำหรับความพยายามในการบีบให้อุตสาหกรรมก่อสร้างหันมาใช้วิธีสร้างบ้านเป็นส่วนๆ แล้วนำไปประกอบทีหลัง (prefab)

และเมื่อ 3 ปีที่แล้ว Kent Larson สถาปนิกแห่ง Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ใช้ความพยายามทุ่มเทคิดค้นระบบการสร้างบ้านแห่งอนาคต ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสร้างบ้านอย่างแท้จริง และตลอดไป โดยบ้านอัจฉริยะ (smart home) แห่งศตวรรษที่ 21 ของ Larson จะถูกกำหนดโดยความต้องการของ ผู้อยู่อาศัยโดยแท้จริง "มันเป็นเรื่องของการคิดค้นวิธีการสร้างบ้านที่สามารถปรับให้เข้ากับภูมิอากาศและผู้คนที่แตกต่างกันได้ สิ่งที่เรากำลังผลักดันก็คือ บ้านที่สร้างด้วยกระบวนการที่สามารถปรับตามความต้องการทีละมากๆ ได้ (mass-customization process)"

ในสมุดปกขาวที่ MIT ตีพิมพ์ในเดือนกันยายนปีที่แล้วคือ A New Epoch พูดถึง mass-customization process ว่า "เป็นการแผ้วถางทางให้บริษัทก่อสร้างหน้าใหม่ๆ มีโอกาสเข้าสู่ตลาดก่อสร้างมูลค่า 8.52 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีได้"

MIT จึงได้ตั้งชื่อโครงการบ้านแห่งอนาคตนี้ว่า House-n โดยตัว "n" เป็นตัวอักษร สัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของคำว่า variable นั่นเอง

หนึ่งในตัวเร่งโครงการนี้ก็คือ การสร้างบ้านอัจฉริยะที่ติดตั้งเครือข่าย sensing networks ซึ่งจะช่วยบรรเทาวิกฤติการณ์ของระบบ health-care system ในอเมริกาที่กำลังส่อแววว่า ต้องรับภาระหนักเกินไป เพราะอีก 30 ปีหรือกว่านั้น สหรัฐอเมริกาจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มเป็น 2 เท่า ซึ่งเป็นภาระอันหนักอึ้งเกินไปของระบบ health-care

คำตอบของ MIT สำหรับปัญหานี้ก็คือ การยกระดับให้บ้านมีสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อ ให้สามารถรองรับความต้องการของประชากรสูงอายุได้ โดยบ้านต้นแบบที่สร้างขึ้นจะมีระบบติดตาม (monitoring system) ที่สามารถติดตามกิจกรรมของผู้อยู่อาศัยได้ เช่น การส่งสัญญาณเตือนในกรณีที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจล้มเหลว หรือการเตือนให้รับประทานยา เป็นต้น

หากเปรียบเทียบกับการผลิตรถยนต์ หัวใจของ House-n ก็คือ chassis ที่มีอุปกรณ์ sensing ราคาถูกติดตั้งอยู่เต็ม อาทิ LEDS, ลำโพง, จอ display, ระบบไฟอัตโนมัติ, เครื่อง heat sensor และกล้องถ่ายรูปขนาดมินิที่สามารถเสียบปลั๊กใช้งานได้ทุกเมื่อ

ปัญหาตามมาก็คือ ถ้าโครงการ House-n สามารถหลุดจากโครงการทดลองมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง เมื่อลูกค้าสามารถออกแบบ บ้านของตัวเองได้ แล้วสถาปนิกจะมีงานทำหรือ?

สมุดปกขาว A New Epoch ให้คำตอบว่า ในที่สุดแล้ว mass-cutomization จะทำให้สถาปนิกมีบทบาทสำคัญในการออกแบบบ้านสำหรับตลาดระดับล่าง (mass market) จากการที่สถาปนิกใช้ระบบออกแบบ Web-based ซึ่งสถาปนิกสามารถเข้าไป มีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มแรกของการสร้างระบบออกแบบที่ลูกค้ารายได้ต่ำสามารถกำหนด และพัฒนาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตนเองได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us