Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
'ทั่งซังฮะ' เจ้าของตราและตำรับ 'ทิพรส'             
 

   
related stories

โฉมหน้าภาคตะวันออกหลัง 18 ปีอีสเทิร์นซีบอร์ด
เปิดกระบวนการผลิต "ทั่งซังฮะ"

   
search resources

ทั่งซังฮะ
จิตติ พงษ์ไพโรจน์
Food and Beverage




"ทั่งซังฮะ" เป็นเจ้าของกิจการโรงงานน้ำปลารายแรกของประเทศไทย ที่ผ่านการพัฒนาเทคนิคการผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบมานาน จนปัจจุบันตรา "ทิพรส? กลายเป็นตำนานแห่งน้ำปลา ที่ทุกคนต้องรู้จัก นอดีตคนไทยรู้จักวิธีการปรุงอาหารให้อร่อย และมีรสชาติ เค็มพอประมาณ ด้วยการเหยาะเกลือลงในอาหารเพียงเล็กน้อยรสชาติของอาหารก็จะดีขึ้น และถูกปาก และเมื่อมาถึงยุคหนึ่งคนไทยก็เริ่มรู้จักน้ำปลา และกลายเป็นเครื่องปรุงอาหาร ที่จะขาดไปจากห้องครัวไม่ได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ผู้ผลิตน้ำปลาเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยก็คือ ชายชาวจีนผู้หนึ่ง ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออกนี้เอง

ชาวจีนผู้ให้กำเนิดน้ำปลาไทยเพราะเป็นคนแรก ที่เริ่มผลิตน้ำปลาออกสู่ตลาด และทำให้ชื่อของน้ำปลาตรา "ทิพรส" เป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย และต่างชาติก็คือ ไล่เจี๊ยง แซ่ทั้ง

ไล่เจี๊ยง อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ลงหลักปักฐานทำมาหากินในประเทศไทย ที่แรก ที่จังหวัดชลบุรี แต่อาชีพแรก ที่ไล่เจี๊ยงทำก็คือ ทำโรงสีข้าว แต่เนื่องจากการทำโรงสีข้าวในสมัยก่อนถือเป็นงานหนัก เพราะยังไม่มีเครื่องจักรกลต่างๆ มาใช้ และไม่มีใครประดิษฐ์ขึ้น การทำงานต่างๆ ล้วนใช้แรงงานคน สุดท้ายไล่เจี๊ยงไม่สามารถ ทนประกอบกิจการที่ต้องใช้แรงคนจำนวนมากได้ จึงเบนเข็มไปขายปลาเค็ม และปลาสด บริเวณปลายสะพานท่าน้ำฮกเกียน จังหวัดชลบุรี (ปัจจุบันบริเวณนี้คือ ซอยท่าเรือพลี )

ในช่วงนั้น ประเทศไทยยังไม่มีการทำน้ำปลา เพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร แต่ในประเทศจีนเริ่มมีการผลิตน้ำปลากันแล้วในบริเวณตอนใต้ของประเทศภูมิลำเนาเดิม ที่ไล่เจี๊ยงเคยอาศัยอยู่

ความ ที่ไล่เจี๊ยงเป็นผู้มีหัวทางการค้า และด้วยความ ที่เคยทำงานอยู่ในโรงงานน้ำปลามาก่อน ไล่เจี๊ยงจึงลองนำปลาสด ที่ตนเองซื้อมาจำหน่ายมาทดลองผลิตน้ำปลาออกขายในตลาดเป็นเจ้าแรกในปี 2456

การผลิตน้ำปลาครั้งแรกของไล่เจี๊ยง ใช้วิธีการนำปลาชนิดต่างๆ มาหมักกับเกลือในโอ่งดิน และโอ่งไม้ ซึ่งการทำน้ำปลาของไล่เจี๊ยงในช่วงแรกต้องประสบปัญหานานัปการ

ประการแรกคือ คนไทยไม่รู้จักการใช้น้ำปลาปรุงอาหาร ไล่เจี๊ยงต้องหาทางทำให้คนไทยลองใช้น้ำปลา ที่เขาผลิตในการปรุงอาหารให้ได้ และต้องใช้เวลาอยู่นานในการแนะนำผลิต ภัณฑ์น้ำปลา พร้อมทั้งแจกจ่ายให้กับผู้คนในละแวกใกล้เคียงทดลองชิม

เพื่อให้คนไทยกับน้ำปลาง่ายขึ้น การผลิตน้ำปลาในช่วงแรกไล่เจี๊ยงจำเป็นต้องใช้น้ำ เคย ที่นำมาผลิตกะปิ เป็นส่วนผสม เนื่องจากคนไทยในอดีตนอกจากจะใช้เกลือปรุงอาหารแล้ว ยังใช้น้ำ เคยด้วย

กว่าคนไทยจะยอมรับผลิต ภัณฑ์น้ำปลาของเขา ไล่เจี๊ยงต้องใช้เวลานานหลายปี และในระยะเวลาหลายปีนี้ เขาได้ทดลองนำปลาชนิดต่างๆ มาหมัก เพื่อหารสชาติที่ดีที่สุด สุดท้ายจึงพบว่าปลากะตัก คือ วัตถุดิบชั้นดี ที่จะทำให้รสชาติของน้ำปลาถูกปากคนไทยมากที่สุด

เมื่อชาวบ้านในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียงเริ่มรู้จักน้ำปลาของเขามากขึ้น ไล่เจี๊ยงจึงตัดสินใจผลิตออกจำหน่าย อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และน้ำปลายี่ห้อแรก ที่ถูกเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักในจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงก็คือ น้ำปลาตราดอกไม้ และตราโบแดง

กิจการน้ำปลาของไล่เจี๊ยงเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับบ่อหมักปลาจากเดิม ที่เคยเป็นบ่อไม้ และบ่อโอ่ง ได้ขยายจาก

2-3 บ่อ เป็นจำนวนนับสิบๆ บ่อ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2462 ไล่เจี๊ยง แซ่ทั้ง ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตน้ำปลา "ทั่งซังฮะ? ขึ้น ที่ท่าน้ำฮกเกียน จังหวัดชลบุรี พร้อมกับสร้างบ่อหมักคอนกรีตขนาดใหญ่ยื่นออกไปในทะเล โดยไล่เจี๊ยงเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างเอง พื้นที่โรงงานผลิตน้ำปลาของไล่เจี๊ยง ได้ขยายตัวจากพื้นที่ไม่ถึง 1 ไร่เป็นพื้นที่ 15 ไร่ในปัจจุบัน

จิตติ พงศ์ไพโรจน์ คือ ทายาทรุ่นที่ 2 ที่เข้ามาทำให้ชื่อเสียงของโรงงานน้ำปลาทั่งซังฮะ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่ยังเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ

จิตติเป็นบุตรชายของไล่เจี๊ยง เริ่มเข้ามาบริหารกิจการน้ำปลาต่อจากผู้พ่อตั้งแต่อายุ 22 ปี งานแรก ที่จิตติต้องทำ เพื่อพัฒนาการผลิตก็คือ สร้างสะพานเชื่อมต่อจากบ่อหมัก ไปยังถนนใหญ่ เพื่อช่วยให้การขนส่งน้ำปลาออกขายในตลาดสะดวกขึ้น เพราะในอดีตการขนถ่ายสินค้าต้องใช้แรงงานคน งาน ที่ 2 ของจิตติ คือ การพัฒนาคุณภาพน้ำปลาจาก ที่เป็นอยู่ให้มีรสชาติดียิ่งขึ้น

ตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาเมื่อกิจการที่จิตติเข้ามาบริหาร ต่อจากผู้เป็นพ่อเริ่มขยายตัวขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ จิตติมีความคิดว่าหากจะเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำปลา เพื่อขยายตลาดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การใช้ถังไม้ บ่อหมักคอนกรีต และโอ่งดิน คงไม่สามารถทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นได้ เขาจึงเริ่มนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ เพื่อทุ่นแรงงานคนในโรงงานน้ำปลา และในปีนั้น จิตติได้เริ่มผลิตน้ำปลาในชื่อ "ทิพรส? ออกสู่ท้องตลาด

ในระยะเวลา 50 ปีที่จิตติเข้ามาบริหารงานต่อจากผู้เป็นพ่อ นอกจากจะสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับน้ำปลาตราทิพรสได้แล้ว จิตติยังสามารถขยายโรงงานผลิตน้ำปลา จากเดิม ที่มีอยู่บริเวณท่าน้ำฮกเกียนเพียงแห่งเดียว ด้วยการตั้งโรงงานแห่ง ที่ 2 ในเนื้อ ที่ 20 กว่าไร่ ที่บริเวณเขาสามมุข จังหวัดชลบุรี และในปี 2542 จิตติ ได้ขยายโรงงานผลิตน้ำปลาแห่ง ที่ 3 ในเนื้อ ที่ 100 กว่าไร่ ที่ย่านบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำปลาสู่ตลาดได้อย่างทั่วถึง

ไม่เพียงเท่านั้น จิตติยังเพิ่มจำนวนบ่อหมักปลาจากไม่กี่ร้อยบ่อ ให้เป็น 5 พันบ่อในปัจจุบัน ล่าสุดจิตติใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อซื้อ ที่ดินในเนื้อ ที่กว่า 100 ไร่บริเวณอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เพื่อขยายบ่อหมักปลาอีก 2 พันบ่อ

"ปัจจุบัน ที่โรงงานผลิตน้ำปลาของเรา จะมีห้องแล็บสำหรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำปลา การลงทุนสำหรับเครื่องจักรในช่วง ที่ผ่านมาเราใช้เงินประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าถูกมากเพราะเราซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ ในช่วง ที่ค่าเงินบาทยังไม่ลอยตัว และในเร็วๆ นี้เรากำลังสั่งซื้อเครื่องหยิบขวดมูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตจะสามารถลดแรงงานคนได้มาก? จิตติกล่าว

จิตติบอกว่าแม้ปัจจุบันตนจะอายุถึง 72 ปี แต่ก็ยังคงดูแลการผลิตด้วยตนเอง โดยลูกๆ ทั้ง 5 คนประกอบด้วยวิมล ศรีสุข, มีชัย พงษ์ไพโรจน์, วันทนี พงษ์ไพโรจน์, ธวัชชัย พงษ์ไพโรจน์ และเกียรติชัย พงษ์ไพโรจน์ นั้น สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศทุกคน บางคนเป็นทันตแพทย์ บางคนรับราชการ และบางคนเลือกไปทำงานยังต่างประเทศ แต่มี 2 คนที่เข้ามาช่วยดูแลกิจการของครอบครัวขณะนี้คือ วิมล ศรีสุข รับผิดชอบเรื่องห้องแล็บควบคุมคุณภาพน้ำปลา และธวัชชัย พงษ์ไพโรจน์ ซึ่งจบการศึกษาด้านเคมีจากต่างประเทศดูแลเรื่องระบบการผลิตในโรงงาน

จิตติย้อนกลับมาเล่าถึงวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตน้ำปลาว่า โรงงานน้ำปลาของตนยึด ที่จะใช้ปลากะตักเป็นวัตถุดิบเพราะปลากะตัก คือ ปลา ที่ให้คุณค่าทางอาหารโดยมีโปรตีนมากที่สุด และแม้ในบางพื้นที่จะมีปัญหาเรื่องการจับปลากะตักเพราะเกิดความขัดแย้งกับชาวประมงพื้นบ้าน ที่จับปลาชายฝั่ง แต่ในภาคตะวันออกปัญหานี้มีน้อย และโรงงานของตนยังไม่เคยประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะภาคตะวันออกมีเกาะแก่งมากมายให้ปลากะตักอาศัยอยู่ดังนั้น การหาปลากะตักในภาคตะวันออกจึงไม่ใช่เรื่องยาก และแหล่งวัตถุดิบ ที่สำคัญของโรงงานก็คือ น่านน้ำจังหวัดตราด

"ช่วงแรกเราใช้ปลากะตักในน่านน้ำจังหวัดชลบุรี ต่อมาเมื่อมีโรงงานเกิดขึ้นจำนวนมากน้ำเสียต่างๆ ก็ถูกปล่อยจากโรงงาน ปลากะตัก ที่เคยอาศัยอยู่ก็อยู่ไม่ได้ และย้ายไปอยู่ ที่เกาะสีชังเราก็ต้องเปลี่ยน ที่หาวัตถุดิบออกไป? จิตติเล่าให้ฟัง

การดำเนินธุรกิจของจิตติ ใช่ว่าจะราบรื่น ทุกช่วงล้วนมีปัญหานับตั้งแต่การเริ่มเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่ต้องเจอภาวะแข่งขันจากผู้ประกอบการรายอื่น และเมื่อประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ ยอดขายของน้ำปลาตราทิพรสลดลงประมาณ 20% ส่งผลให้แผนการขยายกำลังการผลิตต้องหยุดชะงักไป ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดน้ำปลาตราทิพรส ยังเผชิญกับปัญหามีผู้ผลิตน้ำปลาเลียนแบบออกจำหน่าย โดยน้ำปลาเลียนแบบเหล่านี้จะใช้ตรา รูปแบบฉลาก และรูปแบบขวดของทิพรส แต่ใช้น้ำเกลือในการผลิต ทำให้รสชาติต่างจากน้ำปลา ที่ผลิตจากปลากะตัก

ผลที่ตามมาคือ โรงงานน้ำปลาทั่งซังฮะ ถูกต่อว่าจากผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการร้านอาหารในต่างจังหวัด จิตติแก้ปัญหาด้วยการส่งเอเยนต์จำหน่ายน้ำปลาตราทิพรสออกเยี่ยมเยียนลูกค้า และแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อสืบหาเบาะแสผู้ผลิตน้ำปลาปลอม ไม่เท่านั้น จิตติยังเตรียมทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ สั่งทำฉลากน้ำปลาใหม่จากต่างประเทศ เพื่อป้องกันการเลียนแบบ และเตรียมออกโฆษณาประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริโภคให้เข้าใจ

"ปัญหาน้ำปลาปลอมสร้างผลกระทบทางการตลาดสำหรับเรามาก แต่ขณะนี้เรายังประเมินไม่ได้ว่าเราต้องสูญเสียทางธุรกิจเท่าไหร่ เพราะน้ำปลาปลอมเหล่านี้เลือก ที่จะจำหน่ายในร้านอาหารต่างจังหวัด ในราคา ที่ถูกกว่าเราประมาณโหลละ 10 บาท การสังเกตน้ำปลาปลอมกับของจริงทำไม่ยาก คือ น้ำปลาจริงสีจะแดงสด ส่วนของปลอมสีจะออกเหลือง และมีกลิ่นเกลือ ที่สำคัญบริเวณฝาจุกถ้าเป็นของปลอมจะไม่มีลาย แต่หากเป็นของจริงจะมีลาย?

จิตติบอกว่าสมัยก่อนผลิตภัณฑ์ในเครือทั่งซังฮะ ไม่ได้มีเพียงน้ำปลา แต่จิตติเคยลงทุนทำน้ำส้มสายชู และผงชูรส โดยใช้โรงงานผลิต ที่บางปูแต่เป็นเพราะสภาพตลาดไม่เอื้ออำนวย จิตติจึงต้องยกเลิก และมุ่งเน้น ที่การผลิตน้ำปลาเพียงอย่างเดียว

"ปัจจุบันเรามียอดขายรวมในแต่ละปีหลายร้อยล้านบาท ส่วนทรัพย์สินโดยรวมของเรานั้น ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีทั้งสิ้นเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าการทำธุรกิจจากอดีตถึงปัจจุบันมูลค่าทรัพย์สินรวมของเรา น่าจะถึงพันล้านบาท? จิตติกล่าวทิ้งท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us