Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 เมษายน 2550
คตส.เค้น8ชม."ยิ่งลักษณ์"ซีดเจอภาษีย้อนหลัง             
 


   
search resources

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
Auditor and Taxation




เมื่อวานนี้(24 เม.ย.)คณะอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขายหุ้น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ เป็นประธาน ได้เชิญน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวคนสุดท้องของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าชี้แจงถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.43 ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในราคาพาร์ คือ หุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 150 บาท ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้นเป็นเงิน 280 ล้านบาท ซึ่งประเด็นดังกล่าวเข้าข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 40(8)

ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางมาพร้อมกับผู้ติดตามอีก 2 คน เมื่อเวลา 09.30 น. และไม่ได้ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด และเมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เสร็จสิ้นการให้ปากคำกับอนุกรรมการฯ โดยใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมง โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์เพียงสั้นๆว่า ที่ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการให้ถ้อยคำ ส่วนรายละเอียด ขอให้ไปถามทางกรรมการ คตส.

นายสัก กอแสงเรือง ในฐานะอนุกรรมาการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ กล่าวว่า ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดการให้ข้อมูลของนางยิ่งลักษณ์ได้ เนื่องจากการให้ถ้อยคำดังกล่าว ถือเป็นความลับที่อยู่ในสำนวนการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ถือว่าข้อมูลที่ได้มา เป็นประโยชน์ต่อสำนวน และยังไม่ทราบว่าต่อจากนี้ อนุกรรมการฯจะต้องเชิญใครมาอีกบ้าง แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ คงไม่ใช่คนสุดท้าย

ส่วนกรณีการประเมินภาษีนิติบุคคล ของบ.แอมเพิลริช กว่า 2 หมื่นล้านบาทนั้นนายสัก กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งแบบประเมินเรียกเก็บภาษีไปให้กรมสรรพากร ซึ่งคาดว่าเมื่อส่งไปแล้ว คงจะเป็นกระบวนการเดียวกับที่เคยทำไปก่อนหน้า คือต้องให้กรมสรรพากรเร่งดำเนินการเรียกเก็บภาษีใน 45 วัน หากไม่มีการจ่ายภาษี ก็ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป

รายงานข่าวจากคณะอนุกรรมการฯ เปิดเผยว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ที่อนุกรรมการสอบถามน.ส.ยิ่งลักษณ์ คือกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นชินคอร์ปฯในราคารพาร์ 10 บาท ให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำนวน 2 ล้านหุ้น ขณะที่ราคาตลาดขณะนั้น อยู่ที่ 150 บาทต่อหุ้น โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า เคยคุยกับพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าตนเป็นน้องคนสุดท้อง และต้องการมีทุนในการทำธุรกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็รับปากว่าถ้ามีโอกาส ก็จะขายหุ้นชินคอร์ปฯให้ จนกระทั่งในช่วงปี 43 พ.ต.ท.ทักษิณ ก็บอกว่า จะขายหุ้นให้ในราคาพาร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงได้ซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ โดยใช้เช็ค มีเอกสารเป็นเช็คเงินสด 20 ล้านบาท ที่โอนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เมื่ออนุกรรมการฯสอบถามว่า มีเอกสารเช็คดังกล่าวหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ไม่ได้นำมา แต่จะนำมาส่งให้อนุกรรมการฯในภายหลัง

นอกจากนี้ อนุกรรมการฯ ยังได้สอบถามว่า ทำไมในช่วงนั้น ถึงไม่ยื่นแบบประเมินภาษีเงินได้ เพื่อเสียภาษีจากรายได้ส่วนต่างของราคาหุ้นประมาณ 280 ล้านบาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ แจ้งว่าสาเหตุที่ไม่ได้ยื่นแบบเพราะเป็นการซื้อหุ้นมาแล้วก็เก็บไว้ ไม่ได้นำหุ้นดังกล่าวไปขายต่อในตลาดหลักทรัพย์ จึงเห็นว่ายังไม่เกิดรายได้ เมื่อไม่เกิดรายได้ จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องยื่นเสียภาษี

รายงานข่าวแจ้งว่า หลายคำถามของอนุกรรมการฯ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามไม่ให้การผูกมัดตัวเอง คำถามไหนที่ตอบไม่ได้ โดยเฉพาะข้อกฎหมายประมวลรัษฎากร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็จะบอกว่าจะส่งเอกสารชี้แจงมาให้

แหล่งข่าวจากอนุกรรมการฯ กล่าวว่า คำให้การของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คล้ายกับกรณีของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่เคยให้ปากคำกับอนุกรรมการฯ กรณีได้รับโอนหุ้น บ.ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จากคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งนายบรรณพจน์ ก็ไม่ได้ยื่นแบบประเมินภาษีจากกำไรส่วนต่างที่ได้จากการรับโอนหุ้นวงเงิน 778 ล้านบาท โดยนายบรรณพจน์ ก็อ้างว่า สาเหตุที่ไม่ยื่นแบบประเมินภาษี เพราะไม่ได้มีการนำหุ้นออกขาย จึงเห็นว่าไม่มีรายได้ จึงไม่ยื่นประเมินภาษี อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังอนุกรรมการฯ ก็สรุปผลการสอบสวน ให้นายบรรณพจน์ ต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง แต่ทั้งหมดอนุกรรมการฯ ต้องนำบันทึกการให้การของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาตรวจสอบในการประชุมครั้งต่อไป

มั่นใจส่ง"แม้ว-อ้อ"ขึ้นศาลได้

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กรรมการคตส.ในฐานประธานอนุกรรมการไต่สวนการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ระหว่างกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า ในวันนี้(25 เม.ย.)อนุไต่สวนจะมีการสรุปผลการไต่สวนทั้งหมดหลังจากที่ได้มีการเชิญ ม.ร.ว.ปริดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ มาให้ข้อมูล เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยในเบื้องต้นจากการให้ข้อมูลของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นในลักษณะเดียวกับที่คณะอนุฯไต่สวนได้เคยเชิญมาให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ และคาดว่าจะส่งให้ที่ประชุม คตส.ชุดใหญ่พิจารณาได้ภายในวันที่ 30 เม.ย.นี้

นายอุดม กล่าว่า แม้ว่าอดีตผู้ว่าฯธปท.จะระบุว่า การซื้อขายดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย หรืออ้างข้อกฎหมายในพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ว่านายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจในการมาดูแลกองทุนฯ ก็ไม่มีผลต่อมติของคตส.ที่ได้เคยสรุปไปแล้วว่า คุณหญิงพจมาน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำผิด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราการทุจริต(ป.ป.ช.)พ.ศ.2542 มาตรา 100 และยังผิดประมวลกฎหมายอาญาอีกหลายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 157 และ 152

"ในทางกลับกัน การชี้แจงของอดีตผู้ว่าฯ ธปท.ก็ชี้แจงว่า ในการจะเสนอขายพันธบัตรของ ธปท.ก็ได้นำเรื่องเสนอต่อ รมว.คลัง ก่อนที่จะให้ครม.พิจารณา และในการบริหารประเทศที่ผ่านมา ก็มีนายกรัฐมนตรีหลายคนได้ใช้อำนาจในการสั่งการโยกย้ายข้าราชการ ปลัดกระทรวง เข้ามาทำงานในสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเพียงแค่ความเห็นทางกฎหมายที่ยังไม่สามารถจะตัดสินอะไร เพราะกระบวนการสุดท้ายจะต้องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นคนตัดสิน"นายอุดม กล่าว

นายอุดม กล่าวว่า ตนมั่นใจว่าในวันนี้ อนุกรรมการไต่สวนจะสามารถสรุปสำนวนดังกล่าวเพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่คตส. ส่งให้อัยการสั่งฟ้องได้ทัน แต่ทั้งนี้อาจจะติดในเรื่องของปัญหาทางธุรการ เช่น การจัดเรียงเอกสารที่มีจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อการส่งเรื่องฟ้องให้กับอัยการสูงสุด โดยคดีดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคน จะต้องขึ้นเบิกความต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถึงแม้ว่าคุณหญิงพจมาน จะไม่ใช่นักการเมืองก็ตาม เพราะเป็นคดีที่ คตส.ตั้งข้อกล่าวหากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นการฟ้องคดีจะต้องไปด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม ถ้าทางอัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ตรงกับ คตส. ก็จะต้องมีการตั้งกรรมการร่วมกันขึ้นมาจากสองฝ่ายคือ คตส.และอัยการเพื่อพิจารณา และถ้ายังเห็นไม่ตรงกันอีก โดยที่ คตส.ก็ยังยืนยันตามความเห็นเดิม คตส.ก็สามารถใช้อำนาจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ฉบับที่ 30 ในการยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้

นายอุดม กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า มีการถามข้อกฎหมายกันภายหลังจากที่มีการดำเนินโครงการดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งการสอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ตรงนี้จึงไม่มีหน่วงงานใดกล้าที่จะออกมาระบุว่า การกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง

เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะระบุความผิดแก่กรรมการของกองทุนฯ ที่อนุมัติให้มีการซื้อขายที่ดินดังกล่าว นายอุดม กล่าวว่า จากพยานหลักฐาน ทั้งบุคคล และเอกสารที่ คตส.ไม่สามารถที่จะเอาผิดกับกรรมการกองทุนฯได้ ซึ่งจากการให้ข้อมูลที่ผ่านมานั้น ทางกองทุนฯ ก็ไม่ได้ทราบว่า หากมีการซื้อขายแล้วจะมีการขัดต่อกฎหมาย ป.ป.ช.หรือไม่ แต่กองทุนฯมาทราบเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เมื่อมีการซื้อขายไปแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ คตส.ไม่สามารถเอาผิดได้

คตส.ไม่ห่วงถูกเช็กบิลย้อนหลัง

นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายการเมืองเป็นห่วงรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 299 ในเรื่องนิรโทษกรรม การทำงานของ คตส.จะทำให้ประชาชนไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ว่า เท่าที่ทราบ ในร่างรัฐธรรมนูญ ระบุเพียงว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับ ชั่วคราว พ.ศ.2549)ว่า เป็นการชอบด้วยกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่ต่อเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่า ก่อนหรือหลัง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้น และการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น จะเห็นว่า ในรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้ระบุถึงคตส.อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ ตรงนี้ตนก็เห็นด้วยว่า ไม่ควรระบุในรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ผ่านมานั้นจะมีขั้นตอนในการรองรับการทำงาน โดย คตส.กำลังร่างระเบียบเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของ คตส.ที่ผ่านมา เพื่อส่งให้ รัฐบาลเห็นชอบ เพื่อให้มีกฎหมายมารองรับ ในการทำงานที่ผ่านมา ต้องนี้ต้องทำไปตามขั้นตอนอย่างไปเร่งรัด

"ตรงนี้ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะยังเหลือเวลาในการทำงานอีกกว่า 7 เดือน ซึ่งยังมีเวลาที่จะร่างระเบียบที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของ คตส.ในกรณีที่ถูกบุคคลฟ้องร้อง จากการปฏิบัติหน้าที่ ของ คตส.และตรงนี้จะมีความชัดเจนก่อนที่ คตส.จะครบวาระ และเชื่อว่าการทำงานของ คตส.ในการตรวจสอบที่ผ่านมานั้น ยืนยันว่า ทำไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ตรวจสอบตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งใคร อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ ซึ่งหาก คตส.ไม่ทำตามกฎหมายก็จะถูกฟ้องร้อง เพราะระเบียบที่จะออกนั้นจะคุ้มครองคตส.ที่ดำเนินการภายใต้กฎหมายเท่านั้น"นายนาม กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us