Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 เมษายน 2550
ธปท.หั่นจีดีพีเหลือ3.8 "บริโภค-ลงทุน"ทรุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




วานนี้ (24 เม.ย.) นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2550 ลงอีก 0.2% ทำให้จีดีพีล่าสุดเหลือเพียง 3.8-4.8% จากเดิมอยู่ที่ระดับ 4-5% เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคชะลอตัวลงกว่าที่ กนง.คาดการณ์ไว้ แต่ กนง.เชื่อว่าจะมีการใช้จ่ายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เป็นผลมาจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองปรับตัวดีขึ้น และจะช่วยกระตุ้นให้การลงทุนฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปี 2551

“ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลงมีผลต่อจิตวิทยาของนักลงทุนเท่านั้น ปีนี้คาดว่าการลงทุนจะฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่มีเพียงโครงการต่อเนื่องเท่านั้นยังคงเดินหน้าต่อไปได้ แต่โครงการใหม่ๆ คาดว่าจะยังชะลอการตัดสินใจการลงทุนต่อไปจนถึงต้นปีหน้า หลังจากที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก่อน ถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการอุปโภคบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเอกชน รวมถึงปัจจัยการลงทุนเช่นกัน ดังนั้นหากเงินเฟ้อต่ำ ดอกเบี้ยไม่สูงมาก และการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นจะช่วยเสริมความมั่นใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมากขึ้นในอนาคต”

ทั้งนี้ ในปีนี้ กนง.คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลออยู่ที่ 2-3% จากเดิมที่ได้ประเมินไว้ครั้งที่แล้วในระดับ 4.5-5.5% ส่วนการลงทุนของภาครัฐขยายตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ 9-10% จากเดิม 10-11% โดยการลงทุนที่ชะลอตัวทั้งภาคเอกชนและภาครัฐส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ชัดเจนด้านการเมืองในปีนี้เป็นสำคัญ ทำให้นักลงทุนมีการเลื่อนการลงทุนออกไปอีก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนยังคงชะลอต่อเนื่องคาดว่าปีนี้ขยายตัวอยู่ที่ 2.5-3.5% จากเดิม 3.5-4.5% แต่การบริโภคในส่วนของภาครัฐเชื่อว่าขยายตัวดีกว่าที่ประมาณการณ์ครั้งที่แล้วอยู่ที่ระดับ 8-9% จากเดิม 4.5-5.8% เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 ในการบริโภคสูงกว่าการลงทุน

สำหรับภาคการต่างประเทศ การส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวดีขึ้นมากกว่าที่คาด ขณะที่การขยายตัวของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะฟื้นตัวได้ในปีหน้า เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)มีการลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐ ดังนั้น กนง.คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.4% จากการประมาณการครั้งก่อนที่ 4.2%

กนง.เชื่อมั่นว่าการส่งออกจะเป็นอีกตัวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ จึงได้ปรับเพิ่มการประมาณการการขยายตัวของการส่งออกเป็น 9-12% จาก 7.5-10.5% ในการประมาณการครั้งก่อนเช่นเดียวกันและได้เพิ่มประมาณการนำเข้าเป็น 7.5-10.5% จาก7-10% ในครั้งก่อน จึงคาดว่าประเทศไทยจะเกินดุลการค้าทั้งปี 3,000-5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าการประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะเกินดุล 2,000-4,000 ล้านเหรียญฯ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 4,000-6,000 ล้านเหรียญฯ จาก 2,500-4,500ล้านเหรียญฯ ต่อปี ซึ่งเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม แม้ กนง.จะตั้งสมมติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 56.5 เหรียญต่อบาร์เรล เป็น 58.8 เหรียญต่อบาร์เรล แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกนง.ได้ประมาณการเท่ากับครั้งก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1-2% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.5-2.5% และใน 8 ไตรมาสข้างหน้า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ก็เชื่อว่าจะไม่กดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปกว่าเป้าหมายที่กนง.กำหนดไว้ที่ระดับ 0-3.5%

“ในการประมาณการเศรษฐกิจในครั้งนี้ไม่มีการตั้งสมมติฐานว่าหากในอนาคตรัฐธรรมนูญไม่ผ่านและการเลือกตั้งไม่เกิดขึ้นจะมีผลต่อเศรษฐกิจหรือเครื่องชี้เศรษฐกิจอื่นๆ อย่างไรบ้างในอนาคต เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นไปตามที่รัฐบาลชุดนี้คาดว่าจะเกิดการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้” นายเมธีกล่าว

สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2551 กนง.ประมาณการว่าจะขยายตัวในระดับ4.3-5.8% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัว 4-5.5% คงประมาณการการอุปโภคภาครัฐและเอกชนที่จะขยายตัว4-5%การลงทุนรวมของภาครัฐและเอกชนที่จะขยายตัว 7.5-8.5% และประมาณการการขยายตัวของการส่งออกที่ 5.5-8.5% เท่ากับประมาณการครั้งก่อน ขณะที่ปรับเพิ่มการขยายตัวของการนำเข้าเป็น 8-11% จาก 7-10% ในการประมาณการครั้งก่อนโดยคาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 300 ล้านเหรียญฯและดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1,000-4,000 ล้านเหรียญฯ

ทั้งนี้ ตั้งแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ ธปท.โดย กนง.ได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจและเครื่องบ่งชี้เศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง นับจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 ที่ผ่านมา มีการปรับประมาณการมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งแรกช่วงปลายปีปรับลดเหลือ 4.5-5.5% ต่อมา 26 ม.ค.50 ปรับลดเหลือ 4.0-5.0% และล่าสุดปรับมาเป็น 3.8-4.8%

ช่วงเช้าวานนี้ ก่อน ธปท.ปรับลดจีดีพี นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียน ให้ความเห็นถึงแนวทางการปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ ธปท.จะประกาศในช่วงบ่ายว่า หากอยู่ในระดับร้อยละ 4 ไม่น่าจะมีปัญหาต่อภาพรวม และไม่ส่งผลต่อจิตวิทยาด้านการลงทุนมากนัก เพราะเป็นการสะท้อนภาพที่แท้จริง แต่หากต่ำกว่าร้อยละ 4 คงอาจจะเกิดปัญหา แต่เชื่อว่าการปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจคงไม่มีผลต่อความเชื่อมั่น หรือกระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค เพราะเป็นการสะท้อนภาวะที่แท้จริง

ขณะที่นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลัง ธปท.แถลงการณ์ ว่า จะไม่มีผลต่อภาคการลงทุน เนื่องจากเห็นว่าตัวเลขหลังการปรับลดแล้วยังอยู่ในระดับใกล้เคียงที่ได้ประเมิณไว้ที่ร้อยละ 4-4.5 แต่ยอมรับว่าปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคเป็นเรื่องหลักที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยภาครัฐควรเร่งฟื้นความเชื่อมั่นกลับคืน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การปรับลดดอกเบี้ย สถานการณ์ราคาน้ำมันในภาวะปัจจุบันจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 นี้.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us