|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา สมาคมฯได้มีการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ ถึงแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงปลายเดือนเมษายน-ธันวาคม 2550 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น ทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันและข้อเสนอแนะให้แก่รัฐบาล
รวมถึงแนวโน้มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน คาดการณ์ EPS Growth ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ กลุ่มธุรกิจและหุ้นที่แนะนำให้ลงทุน รวมถึงความคิดเห็นว่านักลงทุนต่างชาติจะซื้อสุทธิหรือไม่ และคำแนะนำให้นักลงทุน โดยมีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 22 แห่ง
ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงปลายเมษายน - ธันวาคม 2550 อันดับแรก ที่นักวิเคราะห์91% เห็นตรงกัน คือ การที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง อันดับที่สอง ได้คะแนนเท่ากันสองอันดับ 64% คือ สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลาย มีกำหนดการเลือกตั้งชัดเจน หรือเป็นไปตามกำหนดเดิม และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงโครงการเมกะโปรเจกต์ มาตรการด้านภาษี และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
สำหรับปัจจัยลบที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นตรงกัน เป็นอันดับแรก คือ ปัจจัยทางการเมือง ที่นักวิเคราะห์ 100% ระบุเป็นปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่จะที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการและผู้ลงทุน การชุมนุมของกลุ่มต่างๆ และความล่าช้าของการเลือกตั้ง
อันดับสอง สัดส่วน 59% คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ที่ชะลอตัวลงจากตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจและคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ลดลง รวมถึงการชะลอตัวของการลงทุน อันดับที่สาม 32% คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาคส่งออกชะลอตัว อันดับที่สี่ มีสองประเด็น คือ สถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้และการก่อการร้ายต่างๆ และ การแข็งค่าของเงินบาท มีผู้ตอบ 23% เท่ากัน
ด้านความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์ในการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่า ในด้านเศรษฐกิจนั้น นักวิเคราะห์48% มีความเชื่อมั่นเล็กน้อย 43% มีความเชื่อมั่นปานกลาง และมี 10% ที่ไม่มีความเชื่อมั่น ส่วนด้านสังคมและการเมือง นักวิเคราะห์ 53% เชื่อมั่นเล็กน้อย ขณะที่ผู้ที่เชื่อมั่นปานกลาง และไม่มีความเชื่อมั่น มีจำนวนเท่ากันที่ 24%
นายสมบัติ กล่าวว่า นโยบายสำคัญที่นักวิเคราะห์มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐดำเนินการ อันดับแรกที่นักวิเคราะห์เห็นตรงกันถึง 81%คือ มาตรการด้านเศรษฐกิจ โดยแนะให้เร่งการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงค์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและนักลงทุน โดยอาจลดภาษีภาคธุรกิจ รวมทั้งมาตรการลดดอกเบี้ย อันดับที่สอง มีผู้ตอบ 24% คือ ด้านการเมือง โดยแนะรัฐให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และดำเนินการให้มีการเลือกตั้งได้ตามกำหนด
ทั้งนี้ จากผลสำรวจประมาณการตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2550 พบว่า นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการตัวเลขต่างๆ เล็กน้อยจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth เฉลี่ยของปีนี้ลดลงเล็กน้อยเป็น 4.0% เทียบกับการสำรวจครั้งก่อนที่ 4.2% ขณะที่ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth เฉลี่ยมีการปรับขึ้นจากเดิม 2.6% เป็น 3.2% จากค่า EPS กลุ่มอสังหาฯเพิ่มขึ้นเป็น 32% จากครั้งก่อน18%และกลุ่มแบงก์เพิ่มขึ้น 22.2% จากครั้งก่อนที่10%
สำหรับตัวเลขสำคัญ ณ สิ้นปี นักวิเคราะห์คาดว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ. ณ สิ้นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 35.2 บาท แข็งขึ้นเล็กน้อยจากเดิมที่คาดไว้ 35.7 บาท สำหรับอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ในปลายปีนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index สิ้นปีนี้เฉลี่ยคาดว่าใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้เดิม คือ อยู่ที่ 731 จุด จากเดิม 729 จุด แต่เชื่อดัชนีจะมีการเคลื่อนไหวไม่มากจากการเมืองกดดัน โดยมีสำนักวิจัยที่พยากรณ์ดัชนีสิ้นปีสูงสุดที่ 770 จุดและสำนักวิจัยที่คาดการณ์ดัชนีวันสิ้นปีไว้ต่ำที่สุดที่ 700 จุด
นายสมบัติ กล่าวว่า นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือคิดเป็น 77 % เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องจากปีก่อน เพราะ ราคาหุ้นไทยนับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับตลาดอื่นในภูมิภาค โดยกลุ่มธุรกิจที่น่าลงทุนนั้น นักวิเคราะห์แนะนำ ธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ เป็นอันดับต้น ๆ สำหรับกลุ่มอื่นที่แนะนำรองลงมาคือ พลังงาน โรงไฟฟ้า รับเหมาก่อสร้าง และชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคส์
ทั้งนี้ เชื่อว่ากลุ่มธนาคารจะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาลง ที่จะกระตุ้นยอดสินเชื่อและช่วยให้ผลประกอบการของกลุ่มนี้มีการเติบโต อสังหาริมทรัพย์ก็จะได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเช่นกัน และยังได้ผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วยโดยหุ้นที่วิเคราะห์แนะนำให้ลงทุน ตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ AP, BBL, KBANK, SPALI, TOP เป็นต้น
นอกจากนี้ รวมถึงแนะนำให้แก่นักลงทุนให้หาจังหวะลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีอัตราเงินปันผลสูง ใช้ความระมัดระวังและรอบคอบในการตัดสินใจลงทุน รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางการเมือง
|
|
|
|
|