Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
เอ็มดีคนใหม่             
 


   
www resources

Deloitte & Touch Homepage

   
search resources

Deloitte Touche Tohmatsu
สุภศักดิ์ กฤษณามระ




ในฐานะกรรมการผู้จัดการคนใหม่ จากนี้ไปเขาจะต้องพิสูจน์ฝีมือการทำงานภายใต้แรงกดดันจากความตกต่ำของอุตสาหกรรมที่ปรึกษาเพื่อให้ดีลอยท์ ทูช โธมัทสุ ไชยยศ หนึ่งใน "big four" ในตลาดเมืองไทยก้าวไปอย่างมั่นคง

เสาร์ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะ กรรมการของดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ บริษัทที่ปรึกษาด้านบัญชีอันดับ 2 ของโลก มีมติ แต่งตั้ง William Parrett เป็นประธาน เจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่แทน James Copeland และก่อนหน้านั้นเพียง 4 วัน ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ได้ประกาศต่อ หน้าสื่อมวลชน ให้สุภศักดิ์ กฤษณามระ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน แอนดรูว์ เบิร์นส

อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ในความเป็นจริง จังหวะดังกล่าวผ่านการตัดสินใจและกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี โดย Parrett ขึ้นแทนคนเดิมเนื่องจาก Copeland ทนความบีบคั้นจากภาวะอุตสาหกรรมไม่ได้ ทั้งๆ ที่กลางปีนี้เขาจะเกษียณ

ขณะที่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ถูกกำหนด เอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม สุภศักดิ์เข้ามารับหน้าที่สำคัญนี้ และตัวเขาเองก็รับรู้มาโดยตลอด

เหตุผลที่มาสนับ สนุน ก็คือ กฤษณามระ เป็นตระกูลที่ก่อตั้งบริษัทนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ภาย ใต้ชื่อ สำนักงานไชยยศ โดยพระยาไชยยศ สมบัติ จากนั้นได้พัฒนาการด้านธุรกิจที่ปรึกษาโดยเน้นบริการด้านบัญชี จากคนของครอบครัวกฤษณามระรุ่นต่อมาอย่างต่อเนื่องในลักษณะกิจการครอบครัว

จนกระทั่งปี 2540 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจท่าม กลางความผันผวนทางด้านเศรษฐกิจ และ การเติบโตอย่างรวดเร็วของผู้ทรงอิทธิพลแห่งธุรกิจที่ปรึกษาที่รู้จักกันนาม "big five" และปัจจุบันเหลือเพียง "big four"

กระนั้นก็ดี หลังจากเปลี่ยนชื่อเป็น ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ครอบครัวกฤษณามระยังคงถือหุ้นใหญ่เกินครึ่ง แต่เพื่อความอยู่รอดในระยะยาวและความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก บริษัทจึงดึงตัวแอนดรูว์ เบิร์นส กรรมการผู้จัดการดีลอยท์ ประจำสวิตเซอร์แลนด์เข้ามาบริหารงานเป็นระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่รวมเป็นหนึ่งเดียว

ช่วงระยะเวลาดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเป็นจังหวะแห่งการเรียนรู้งานของ สุภศักดิ์อย่างแท้จริง หลังจากเดินทางกลับ ประเทศไทยเมื่อปี 2536 เพื่อเข้ารับตำแหน่ง ผู้จัดการอาวุโสของทีมบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ (Management Consulting Service) ในดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ แต่จากประสบการณ์ 14 ปี กับธุรกิจในเครือดีลอยท์ทำให้เขาไม่ต้องปรับตัวในการทำงานอะไรเลย

สุภศักดิ์จบปริญญาตรีคณะวิทยา ศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี จากมหา วิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร แล้วเดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทสาขา บริหารธุรกิจจาก Kellogg Graduate School of Management มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในปี 2532 เขา เริ่มงานกับดีลอยท์ คอนซัลติ้ง ในแคนาดา (ปัจจุบันแยกตัวออกจากบริษัทแม่แล้ว) ใน ฐานะที่ปรึกษา "ผมมีหน้าที่รับผิดชอบ ตั้งแต่เก็บข้อมูลจนถึงวิเคราะห์ข้อมูล ถือเป็นกระบวนการทำงานขั้นเริ่มต้นของงานสายอาชีพด้านที่ปรึกษา" สุภศักดิ์เล่า

จากนั้นย้ายไปร่วมงานกับสำนัก งานดีลอยท์ในสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ในด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบองค์กร และ การดำเนินการเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการดำเนินงาน กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการบริหารจัดการด้าน การเงิน

จนกระทั่งปี 2536 สุภศักดิ์กลับมาร่วมงานกับดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ และเป็นหนึ่งในทีมที่ได้ทำงานในโครงการ Re-engineering ของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ "ได้เห็นหลายๆ มุมในวิธีการทำงานทั้งในและต่างประเทศ ภาครัฐและเอกชน"

ด้วยประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงสำคัญในชีวิตของ สุภศักดิ์จากวิกฤติเศรษฐกิจย่อมส่งผลให้เขาสามารถเรียนรู้และพลิกให้เป็นโอกาสได้ในอนาคต "ได้ฝึกฝนการทำงานจากแอนดี้ (แอนดูรว์ เบิร์นส) เป็นอย่างมาก" เขาบอก "ช่วงปีที่ผ่านมาธุรกิจที่ปรึกษา การตรวจสอบบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากกรณี Enron ซึ่งส่งผลกระทบต่ออาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น ทำให้เป็นสิ่งท้าทายสำหรับการบริหารงานค่อนข้างมาก"

หลังจากถูกหล่อหลอมด้วยหม้อต้มขนาดใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่สุภศักดิ์จะต้องพิสูจน์ฝีมือ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และการปรับตัวของธุรกิจ และกุญแจสำคัญ ต่อความสำเร็จในระยะยาวสำหรับแผนกลยุทธ์ที่ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ เชื่อมั่นก็คือ การมีผู้นำที่มีความเหมาะสม

"ช่วงที่ผ่านมาผมได้เผชิญกับความท้าทายต่างๆ ซึ่งบางครั้งอาจมากเกินไปในความรู้สึกของตนเอง แต่จากนี้ไปแน่ใจว่าภายใต้การนำของสุภศักดิ์จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งและกลายเป็นผู้นำในธุรกิจได้" เบิร์นสกล่าว

ภารกิจแรกของสุภศักดิ์ คือ การลงทุนด้านการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้โครงการ Firm of Choice โดยใช้เม็ดเงินประมาณ 55 ล้านบาท หรือประมาณ 10% ของ รายได้ของบริษัทสำหรับการดำเนินการ

"การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจนี้เป็นในแง่ที่ว่าธุรกิจทำได้หรือไม่ได้ ซึ่งพวกเราต้องปรับตัวตลอดเวลา เช่น ลูกค้าเริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกันทั้งความยากง่าย ความยืดหยุ่นในการทำงาน มีระบบเชื่อมโยงสลับซับซ้อนมากขึ้นและเราต้องตามให้ทัน" สุภศักดิ์อธิบาย

จากการลงทุนดังกล่าวเขาเชื่อว่าจะสามารถสนับสนุนให้ผลประกอบการ ของ ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ใน 2 ปี นับจากนี้จะเติบโตขึ้น 20% โดยมีมูลค่าประมาณ 550 ล้านบาท และ 660 ล้านบาท ตามลำดับ "ตลาดบริการที่ปรึกษาทางธุรกิจในประเทศไทยมีศักยภาพการเติบโตสูง"

ด้วยความเชื่อมั่นดังกล่าว ส่งผลให้ บริษัทพยายามเน้นการให้บริการธุรกิจที่ไม่ใช่บริการการตรวจบัญชี เช่น บริการที่ปรึกษาทางภาษี ที่ปรึกษาทางการเงิน การจัดการความเสี่ยง หรือที่ปรึกษาระบบสารสนเทศ จากการคาดการณ์ว่าภายใน 3 ปีข้างหน้าธุรกิจเหล่านี้จะขยายตัวมากขึ้น

"ทุกวันนี้ธุรกิจการสอบบัญชีทำรายได้ให้บริษัทประมาณ 60% แต่จากแนวโน้ม ที่เปลี่ยนไปรายได้ตรงนี้จะลดลงเหลือ 40% ซึ่งไม่ได้หมายความว่าปริมาณงานลดลง เพียงแต่สัดส่วนรายได้จากธุรกิจ อื่นๆ เติบโตเพิ่มสูงขึ้น" สุภศักดิ์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us