Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
ปริทรรศน์ เหลืองอุทัย พลังขับเคลื่อนของไทยธนาคาร             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
ปริทรรศน์ เหลืองอุทัย




จากจุดเริ่มต้นสำหรับฝ่ายผลิตภัณฑ์ค้าเงินของไทยธนาคาร เพียงแค่ปีแรกทำรายได้ 30 ล้านบาท ปีถ้ดมากระโดดมาอยู่ที่ 100 ล้านบาท แล้วขยับมาเป็น 150 ล้านบาท และปีนี้คาดว่าตัวเลขอยู่ใกล้ 200 ล้านบาท ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากพลังขับเคลื่อนโดยปริทรรศน์ เหลืองอุทัย

อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจผ่านพ้นไป โดยธนาคารขนาดใหญ่หรือต่างประเทศให้ความสำคัญกับลูกค้ารายย่อย (Retail Bank) และการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่ธนาคารขนาดเล็ก สัญชาติไทยและเพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างไทยธนาคารกลับแสวงหาจุดยืนและความแข็งแกร่งของตนเอง

แม้ว่าไทยธนาคารให้บริการกับ ลูกค้าทั่วๆ ไปในลักษณะ Commercial Bank เช่นเดียวกับแห่งอื่นๆ แต่ภายใต้ ข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนสาขาและความสามารถเชิงการแข่งขัน จึงหันมามุ่งเน้นตลาดเฉพาะทางด้านวาณิชธนกิจ (Investment Bank)

นับเป็นความได้เปรียบของไทยธนาคารที่ได้บุคลากรที่มีศักยภาพอย่าง ปริทรรศน์ เหลืองอุทัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ค้าเงิน เข้ามาจัดตั้งฝ่ายนี้ขึ้นมาในช่วงต้นปี 2543 เพราะนับเป็น ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์และผ่านตลาดต่างประเทศจึงเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่ง

ปริทรรศน์เป็นคนที่เรียนเก่งมากตั้งแต่ระดับชั้นประถม และเป็นที่รับรู้ในวงกว้างเมื่อสอบเอ็นทรานซ์ได้อันดับ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ในปี 2528 แต่เขาไม่ได้เข้าไปศึกษาเนื่องจากมีหน่วยงานต่างๆ เสนอทุนให้แก่เขา เพื่อไปศึกษายังต่างประเทศ

ในปีถัดมาปริทรรศน์ตัดสินใจเลือกทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อไปเรียนปริญญาตรีด้าน Economics/Mathematics ที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) และจบในปี 2533 จากนั้นเขาไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Yale University ทางด้าน Financial Economics ใช้เวลา 2 ปีแล้วก็กลับมาทำงานใช้ทุนที่แบงก์ชาติ ในฐานะนักวิชาการที่ดูแลการพัฒนาระบบการเงิน

จนกระทั่งปี 2538 ได้รับทุนของรัฐบาลญี่ปุ่นให้ไปศึกษามหาวิทยาลัยไหนก็ได้ในโลกโดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น และเขาเลือกเรียนปริญญาโททางด้านไฟแนนซ์ ที่ Columbia Business School และในช่วงซัมเมอร์เขาเก็บเกี่ยวประสบ การณ์กับ Booz-Allen & Hamilton Management Consultants แผนกกลุ่มบริการทางการเงิน ประจำสิงคโปร์เป็นระยะเวลา 4 เดือน

หลังจากจบการศึกษาในปี 2540 แทนที่ปริทรรศน์จะกลับมาใช้ทุนต่อที่ ธปท. เขากลับตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินใหม่ "การที่ไม่ได้ใช้ทุนที่แบงก์ชาติครบกำหนดนั้นได้ขอผ่อนผันโดยให้เหตุผลว่าได้รับทุนจากที่อื่น ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติ" เขาเล่า

โกลด์แมน แซคส์ สถาบันการเงินชั้นนำของโลก คือ โรงเรียนบ่มเพาะความแข็งแกร่งให้กับปริทรรศน์เป็นแห่งแรก โดยเป็นเจ้าหน้าที่ Swap and Derivertives Trader/Structure ฝ่าย Fixed Income, Currencies and Commodities Department ประจำมหานครนิวยอร์ก

"ที่โกลด์แมน แซคส์ ได้เรียนรู้จากสิ่งที่ในองค์กรของเมืองไทยทำไม่ได้ ต้องยอมรับว่าสถาบันการเงินต่างประเทศพัฒนากว่าบ้านเรามาก โดยเฉพาะกระบวน การทำงาน ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ ระบบการทำงานทันสมัยมาก" ปริทรรศน์ชี้ "อีกทั้งให้ความสำคัญกับผลประกอบการ การพัฒนาคน ดังนั้นคนของที่นั่นเก่งมาก จึงมีโอกาสเรียนรู้อย่างมาก โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานต่างๆ แล้วสามารถนำมาประยุกต์ ใช้กับลูกค้า คิดราคาและบริหารอย่างไร"

อย่างไรก็ตาม ปริทรรศน์ถูกส่งตัวมาประจำที่สาขาฮ่องกงด้วยเหตุผลวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปลายปี 2540 จังหวะนั้นโกลด์แมน แซคส์ ภูมิภาคเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างผลประกอบการสูงเป็นประวัติการณ์จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการชนะประมูลสินทรัพย์ ปรส. ในประเทศไทย

"ผมไม่ได้ทำงานด้านนี้ แต่อยู่ฝ่ายเทรดดิ้งซึ่งมีปริมาณดีลมากมาย เพราะลูกค้าต้องป้องกันความเสี่ยงกันหมด โดยการค้าตราสารอนุพันธ์จากเดิมมีจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่หลังวิกฤติเติบโตก้าวกระโดดเป็นพันเท่า ไม่เฉพาะในตลาดไทย รวมถึงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน หรือจีน อีกด้วย"

อย่างไรก็ตาม หลังจากตลาดเอเชีย นับตั้งแต่ปี 2542 เริ่มซบเซา บรรดาผู้เล่นข้ามชาติเริ่มทยอยถอนตัวออกจากตลาดเอเชียเพื่อลดความเสี่ยง เป็นจังหวะเดียวกับปริทรรศน์เดินทางกลับมาเมืองไทยและมีโอกาสได้พูดคุยกับพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และทวีป ชาติธำรง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ แห่งไทยธนาคาร

"ต้นปี 2543 มีโอกาสพบท่านทั้งสอง แต่เป็นการพูดคุยกันเรื่องสภาพตลาด เมืองไทย ซึ่งได้พบปะกับผู้บริหารระดับสูงหลายๆ แห่ง เช่น แบงก์เอเชียและไทยพาณิชย์ โดยที่ผมไม่ได้คิดว่าจะเข้ามาทำงานกับแบงก์"

หลังจากพีรศิลป์ และทวีปเล่าให้ปริทรรศน์ฟังถึงทิศทางและยุทธศาสตร์ของไทยธนาคารว่าจะเดินไปเส้นทางไหน กระตุ้นให้เขาเริ่มสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเน้นตลาดทางด้านเทรดดิ้ง "ผมไม่สนใจ ทำงานแบงก์ที่เป็น Commercial Bank หรือเน้น Retail Bank ที่มีสินค้าทั่วๆ ไป"

เมื่อแผนงานของไทยธนาคารตรงกับความตั้งใจและความถนัดของปริทรรศน์ ประกอบกับความเชื่อว่าน่าจะเป็นองค์กรที่มีอนาคต เขาจึงตัดสินใจเข้าร่วมงานโดยได้รับความไว้วางใจให้จัดตั้งฝ่ายค้าผลิตภัณฑ์การเงินขึ้นมา

"เริ่มต้นจากศูนย์เลย แต่ค่อนข้างมีความพร้อมจากเดิมธนาคารสหธนาคารให้บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ แต่เป็นลักษณะที่ไม่ซับซ้อน และยังควบรวมกับสถาบันการเงิน 13 แห่ง ยิ่งทำให้เกิดความลำบาก ช่วงแรกจึงวางฐานด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและทำตราสาร อนุพันธ์ควบคู่ไปด้วย"

จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 3 ปีที่ปริทรรศน์สร้างฝ่ายนี้ขึ้นมาจนประสบความ สำเร็จอย่างรวดเร็วจนสามารถปิดดีลได้ตั้งแต่ปีแรกและมีรายได้ 30 ล้านบาทและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่แล้วทำรายได้ 150 ล้านบาท และปีนี้เขาคาดว่าจะมีรายได้ใกล้ 200 ล้านบาท

"โชคดีที่ได้เพื่อนร่วมงานที่มีประสบการณ์สูงที่ผ่านตลาดต่างประเทศ เพียงปีแรกสร้างฐานได้แข็งแกร่ง สามารถทำผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ครบวงจรได้ จากนั้นปีถัดมาจนถึงปัจจุบันเน้นความสามารถในการทำกำไรและปริมาณของดีล"

ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเขากลายเป็นฟันเฟืองที่สำคัญสำหรับขับเคลื่อนให้ไทยธนาคารเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคงท่ามกลางการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่กำลังปรับกลยุทธ์กันเพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาด

"ทุกวันนี้ ธนาคารไม่ได้ทำหน้าที่รับเงินฝากและปล่อยสินเชื่อเท่านั้น แต่มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจด้านวาณิชธนกิจด้วย ซึ่งเป็นทิศทางของตลาดทั่วโลก"

ในอดีตที่ผ่านมาธนาคารท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับฝ่ายวาณิชธนกิจ แม้ว่าจะมีธุรกรรมค้าเงินตราต่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในฐานะแผนกปริวรรตเงินตรา ซึ่งความจริงเป็นเพียงการให้ บริการแลกเปลี่ยนเงินตราเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อไทยธนาคารถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยพิจารณาให้เข้ากับทิศทางของตลาดโลก และตำแหน่งที่ดีที่สุดของไทยธนาคาร คือ เน้นผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ทาง การเงินค่อนข้างเป็นนวัตกรรมทางการเงิน เช่น Structure Note หรือ Interest Rate Swap : IRS

"กำลังเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจ จากตลาดมากที่สุด จากความกลัวเรื่อง ดอกเบี้ย สังเกตแบงก์ขนาดใหญ่ ประกันภัย กองทุนรวมมีหุ้นกู้ที่มีดอกเบี้ยคงที่จำนวนมาก ดังนั้นหากดอกเบี้ยขึ้นจะขาดทุนจึงต้องการเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และเครื่องมือที่ดีที่สุด คือ IRS"

นอกเหนือไปจากนี้ปริทรรศน์ยังเน้นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ Long Forward, Currency Swap (CRS), FRA, FX Option ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่มีความสลับซับซ้อน เหตุผลที่เขาให้ความสำคัญเกิดจากแนวโน้มตลาดในเมืองไทยกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องและกำลังเหมือนตลาดในสิงคโปร์จากนั้นรูปแบบเหมือนฮ่องกงและโตเกียว

"ตลาดตราสารอนุพันธ์ในเมืองไทย เริ่มมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และมีการประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งเปิดช่องให้เกิดความ ต้องการของลูกค้าจากความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นและค่าเงินผันผวน"

เมื่อปริทรรศน์วางตำแหน่งการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ดังนั้นคู่แข่งจึงเป็นธนาคารพาณิชย์ข้ามชาติไม่ว่าจะเป็นสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด และซิตี้แบงก์ ขณะที่ธนาคารท้องถิ่นอันดับต้นๆ ยังไม่นับเป็นคู่แข่งที่สำคัญ เนื่องเพราะมีผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์ที่ให้บริการแก่ลูกค้าไม่ค่อยสลับซับซ้อน คือ อยู่ในระดับเรียกว่า Commo-dity Product

กระนั้นก็ดี นอกจากเป็นคู่แข่ง ธนาคารต่างชาติทั้งหลายยังถือเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยธนาคารอีกด้วย โดยได้ให้วงเงิน (Trading Line) ในการร่วมทำธุรกิจด้วยทั้งในส่วนของการค้าเงินตราต่างประเทศและตราสารอนุพันธ์เป็นจำนวน จากวงเงิน 20,000 ล้านบาทปัจจุบันตัวเลขเพิ่มเป็นระดับแสนล้านบาทภายในระยะเวลาแค่ 3 ปี โดยเฉพาะ Trading Line ตราสารอนุพันธ์มีสูงถึง 50,000 ล้านบาท

นี่คือก้าวแรกแห่งความสำเร็จของปริทรรศน์ภายใต้ธงไทยธนาคาร แต่อาจจะเร็วเกินไปสำหรับคำว่า ความสำเร็จเพราะธุรกิจนี้เป็นเรื่องจินตนาการและการเล่นกับตัวเลข

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us