Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
การศึกษาและการเรียนรู้ในทัศนะของศาสตราจารย์จาก Stanford             
 


   
search resources

Larry Friedlander




บรรยากาศภายในห้องท่าหลวง ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ได้มีโอกาสทำหน้าที่ที่แตกต่างออกไปจากบริบททางธุรกิจอีกครั้ง เมื่อนักการศึกษาและนักธุรกิจ ชั้นนำของไทยต่างเข้าร่วมในการบรรยายพิเศษว่าด้วยนวัตกรรมการศึกษา โดยมี Larry Friedlander ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Stanford Center for Innovations in Learning: SCIL แห่งมหาวิทยาลัย Stanford เป็นผู้บรรยาย

เนื้อหาหลักที่ Larry Friedlander บรรยายในค่ำคืนนั้น เน้นไปที่การปรับเปลี่ยนทัศนะของคำว่าการศึกษาในแบบเดิม มาสู่มิติที่ใกล้เคียงกับกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น ท่ามกลางสื่อการเรียนการสอนและวิธีการที่ได้รับการพัฒนาให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้อย่างหลากหลายและด้วยความเข้าใจ มากกว่าที่จะเป็นการท่องจำตำราเพื่อสอบวัดผลให้ได้คะแนนดีอย่างที่เคยปฏิบัติ

เขาได้บอกกล่าวประสบการณ์ที่หลากหลายในฐานะศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีอังกฤษ และการละคร รวมถึงการเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Stanford Learning Lab ซึ่งถือเป็นต้นทางของ SCIL ในปัจจุบัน โดยระบุว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสานเนื้อหา ทางวิชาการเพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ได้เปลี่ยนบรรยากาศของการศึกษาในห้องเรียนไปอย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อน

Larry Friedlander ได้อ้างถึงเครือข่ายและตัวอย่างของการเรียนรู้ตามแนวทางของ Constructionism ที่มูลนิธิศึกษาพัฒน์ และมูลนิธิไทยคม ให้การสนับสนุนโดยมีพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประหนึ่งหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการเผยแพร่แนวความคิด ซึ่งเขามีโอกาสได้เยี่ยมชมในโอกาสที่เดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ อย่างชื่นชมในความพยายาม และเป็นตัวอย่าง ที่น่าสนใจติดตาม ในฐานะที่กำลังจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงประพฤติกรรมทางการศึกษาในอนาคต

กระนั้นก็ดี ดูเหมือนว่า "อนาคต" ที่ Larry Friedlander กล่าวถึงนี้จะยังอยู่ไกลออกไปจากบริบทปัจจุบันพอสมควร สอดคล้องกับการตระหนักรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อย ที่ต้องเผชิญกับสภาพการณ์ที่ตีบตันอยู่ในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us