Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 เมษายน 2550
ชี้ลดอาร์พี0.50%ยังไม่พอกระตุ้นศก. ลุ้นกนง.ประชุมนัดหน้าขยับลงอีกระลอก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Economics




แบงก์-นักวิชาการมั่นใจกนง.ปรับอาร์พีลงอีก 0.50% หนุนภาวะเศรษฐกิจชะลอ ขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวลดลง จับตาประชุม กนง.นัดต่อไปเดือน พ.ค.มีลุ้นปรับลงต่อ 0.25% ด้านนักวิชาการชี้ลดดอกเบี้ยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดความผันผวนค่าเงิน ดึงความเชื่อมั่นภาคเอกชนกลับสู่การลงทุน

นายเชาว์ เก่งชน รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)วันที่ 11 เมษายนที่จะถึงนี้ คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์พี 1 วัน)ลง 0.50% จาก 4.50% เหลือ 4.00% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับต้วลดลงอีกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมนี้ แม้ว่าในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ไว้ แต่ในช่วงต่อไปก็จะลดลงเมื่อเทียบกับฐานที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับกว่า 6% ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจะภาคการอุปโภคบริโภคที่ลดลง ทำให้คาดว่าธปท.จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50%

"เงินเฟ้อในเดือนเมษาฯและพฤษภาฯนี้คงจะปรับตัวลดลงมากเพราะได้รับอานิสงส์จากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สูงถึง6%กว่า ขณะที่ในปีนี้จากการอุปโภคบริโภคที่ลดลงทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีก่อน แบงก์ชาติจึงน่าจะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในระดับ 0.50%"นายเชาว์กล่าว

นอกจากนี้ ยังคาดว่าในการประชุมครั้งต่อไปของกนง.ในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ก็ยังคงต้องปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับ 3.75% ซึ่งในส่วนนี้คงต้องรอทิศทางเศรษฐกิจโดยรวมอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2550 นั้นก็เห็นได้ว่ามีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจนต่อเนื่องจากปลายปี 2549 แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทนยังคงเป้าเศรษฐกิจไว้ในระดับเดิมคือ 3.50-4.50% ซึ่งเชื่อว่าในกรอบล่างที่ระดับ 3.50%เพียงพอที่จะรองรับการชะลอของเศรษฐกิจได้ เว้นแต่จะมีปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าคาดการณ์ไว้ อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก หรือเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ถดถอยลงรุนแรง จึงจะมีการทบทวนสถานการณ์อีกครั้ง

นายเชาว์กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจที่ยังคงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไปนั้น เป็นส่วนของภาคการส่งออก ซึ่งยังคงเป็นความหวังที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยได้ และอีกส่วนเป็นกรณีการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมาค่อนข้างจะล่าช้า ซึ่งในส่วนนี้หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบประมาณได้ ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในขณะที่ภาคการอุปโภคและบริโภคไม่สามารถเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองก็ยังมีความเสี่ยงแม้ไม่ใช่นโยบายเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและส่งผลต่อเศรษฐกิจด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อธปท.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในระดับ 0.50% แล้วจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%หรือไม่นั้น ขณะนี้คงไม่สามารถตอบแทนธปท.ได้ แต่เชื่อว่าธปท.คงจะพิจารณาทุกอย่างอย่างรอบคอบก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวเนื่องจากหากมีการยกเลิกไปแล้ว เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วจะนำมาตรการกลับมาใช้อีกก็จะส่งผลเสียต่อระบบได้ แต่ค่าเงินบาทขณะนี้ก็ทรงตัวอยู่ในระดับ 35 บาท ภายหลังจากที่มีมาจรการต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่อง

"ปัจจัยหลักที่ทำให้แบงก์ชาติน่าจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% นั้นน่าจะเป็นเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากกว่าในเรื่องของค่าเงินบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับที่ทรงต้วแล้ว"นายเชาว์

ด้านนางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่าในการประชุมกนง.นัดถัดไปวันที่ 11 เมษายนนี้คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงอีก 0.50% เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังมีทิศทางชะลอตัวลงประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกุมภาพันธ์มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส2 อาจจะชะลอลง ราคาน้ำมันมีทิศทางเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากความขัดแย้งของประเทศอิหร่าน แต่เชื่อว่าราคาน้ำมันไม่น่าจะเกินจากเป้าหมายที่ทางฝ่ายวิจัยธนาคารคาดการณ์ไว้ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์น่าจะอยู่ในกรอบ 2.0-2.5%

"ในไตรมาสแรกเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ 2.4%ซึ่งตรงกับที่เราได้ประมาณการไว้ ส่วนทั้งปีน่าจะอยู่ 2.0-2.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะสามารถทำให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้” นางรัตนา กล่าว

ทั้งนี้หาก กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกก็จะส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐเพิ่มโดยหากการประชุมครั้งนี้ลด 0.50%ก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับมาอยู่ที่ 4% ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐอยู่ที่ 5.25% ซึ่งต่างกัน 1.25% ส่วนทั้งปีอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงต่ออีกหรือไม่นั้น คงต้องรอพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจเดือนมีนาคมประกอบการพิจารณา ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสำหรับ กนง.ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้หรือปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถาบันการเงินจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามทันทีหรือไม่นั้น ที่ผ่านมาเห็นว่าสถาบันการเงินต่างๆได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งในส่วนของเงินฝาก และ MLR ไปแล้วส่วนจะทำการปรับตามอีกหรือไม่นั้นเชื่อว่าสถาบันการเงินต่างๆ คงต้องพิจารณาดูแนวโน้มเศรษฐกิจเนื่องจากที่ผ่านมาการขยายสินเชื่อยังชะลอตัวซึ่งต้องดูว่าจากการลดอัตราดอกเบี้ย 0.50%จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน

ขณะที่นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการคลัง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่าในการประชุม กนง.นัดถัดไปวันที่ 11 เมษายนนี้น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ออีก 0.50% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงค่าเงินบาทในปัจจุบันยังมีทิศทางปรับตัวแข็งค่าขึ้น ประกอบกับมาตรการกันสำรอง 30%ที่ได้ประกาศไว้เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาได้มีการผ่อนคลายบางอย่างเข้ามาก็ยังทำให้ค่าเงินยังแข็งค่าอยู่เช่นเดิม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นมาเสริม ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการใช้อัตราดอกเบี้ยในการดูแลค่าเงิน เพราะดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนของเงิน ซึ่งหากมีการปรับลดดอกเบี้ยลงก็จะทำให้เงินทุนไหลเข้าย้ายออกไปยังแหล่งอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ก็จะช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาบ้าง

“มีความเป็นไปได้สูงต้องลดดอกเบี้ยลง และเพื่อให้เห็นผลคงจะต้องลดลงมากหน่อยน่าจะลง 0.50% เพราะค่าเงินยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของไทยที่ส่งผลต่อการส่งออก เพราะเราพึ่งพาการส่งออกคิดเป็น 60%ของเศรษฐกิจ ถ้าส่งออกยังพอไปได้ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ได้ ประกอบกับเรื่องเงินเฟ้อ โดยในปีนี้อาจจะไม่สูงมากนักเพราะราคาน้ำมันก็ยังเคลื่อนไหวไม่มากโดยในปีนี้คาดว่าเงินเฟ้อน่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา” นายมนตรี กล่าว

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาบรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชนชะลอลงค่อนข้างมาก ฉะนั้นการใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือก็จะช่วยให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้นเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สูงขึ้น ดังนั้นในสถานการณ์แบบนี้การลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยทำให้เกิดผลหลายทางและช่วยให้ค่าเงินอ่อนลงได้ในบางส่วน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us