Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
GMM Pictures & RS.Film             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

MOVIE BIG MOVE เปิดโฉม "ดารา" ตัวจริง วงการภาพยนตร์ไทย
หนังดีจากอดีตถึงปัจจุบัน
สหมงคลฟิล์ม Business Model
รางวัลของชีวิต
"พ่อมด" เบื้องหลังแผ่นฟิล์ม
ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ปี 2546
หนังไทย! เดือด

   
search resources

อาร์เอส, บมจ.
GMM Pictures
ชูพงษ์ รัตนบัณฑูร
ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล




สิ่งหนึ่งที่ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม แห่งแกรมมี่กรุ๊ป กับสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ แห่งค่ายอาร์.เอส.โปรโมชั่น คิดตรงกันอีกครั้งก็คือ การเข้าไปเป็นบริษัทอำนวยการสร้างภาพยนตร์ในระดับแถวหน้าของประเทศเช่นเดียวกับการสร้างค่ายเพลงให้สำเร็จมาแล้ว

เป้าหมายเดียวกัน แต่มีกระบวนการคิดที่ต่างกัน ในขณะที่แกรมมี่ค่อนข้างระวังตัว ทางฝั่ง อาร์.เอส.โปรโมชั่น กลับรีบประกาศยึดหัวหาดกวาด บุคลากรที่มีความสามารถในวงการตั้งบริษัทในเครือผลิตภาพยนตร์พร้อมๆ กันถึง 8 บริษัท เพื่อความหลากหลายในการทำภาพยนตร์ป้อนบริษัทแม่อย่างต่อเนื่อง

ดูเหมือนว่าทางแกรมมี่ได้พยายามเข้ามาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ระดับแถวหน้ามาแล้วหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อต้นปีที่ผ่าน มา ทางผู้บริหารจึงได้ตัดสินใจแต่งตั้ง ชูพงษ์ รัตน บัณฑูร กรรมการผู้จัดการจากบริษัท Upper Cut บริษัทผลิตภาพยนตร์โฆษณาของบริษัทในเครือเข้ามาเป็นผู้บริหาร GMM Pictures อีกตำแหน่งหนึ่ง

ระบบใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้นมานั้นประกอบ ไปด้วยเนื้องานหลัก 3 เรื่อง คือ 1. บริษัทผลิตภาพยนตร์ 2. ฝ่ายการตลาด และ 3. ทีมงานด้าน ฝึกอบรม

ณ วันนี้ GMM Pictures กำลังต้องการทีมงานผลิตภาพยนตร์ เป็นบริษัทในเครือเพื่อความคล่องตัวในการทำงาน รวมทั้งเข้าร่วมทุน และลงทุนสร้างให้กับบริษัทผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ที่เสนอเรื่องเข้ามา

"15 ค่ำเดือน 11" คือ ภาพยนตร์ที่ผลิตโดยบริษัท หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม โดยมี GMM Pictures เข้ามาเป็นผู้ลงทุน 80 เปอร์เซ็นต์ หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม ลงทุน 20 เปอร์เซ็นต์

"แฟนฉัน" ภาพยนตร์ที่กำลังอยู่ในระหว่าง การถ่ายทำ ลงทุนร่วมกัน 3 บริษัทคือ GMM Pictures 50 เปอร์เซ็นต์ ไทเอนเตอร์เทน เม้นท์ 30 เปอร์เซ็นต์ และหับ โห้ หิ้น ฟิล์ม อีก 20 เปอร์เซ็นต์

ส่วน กุมภาพันธ์ เป็นภาพยนตร์ที่ GMM Pictures อำนวยการสร้าง ผลิตโดย มหการภาพยนตร์ โดยมียุทธเลิศ สิปปภาค เป็นผู้กำกับ

การทำงานจะแบ่งบทบาทกันชัดเจน ว่า หับ โห้ หิ้น ฟิล์ม คือบริษัทที่จัดการดูแลเรื่องการผลิตทั้งหมด จนเสร็จสิ้นส่งไปล้างฟิล์ม ส่วน GMM Pictures จะดูแลในเรื่องเงินทุนส่วนใหญ่ รวมทั้งการวางแผนโปรโมชั่นทั้งหมด โดยในเรื่องแฟนฉัน มีค่ายไทฯ เข้ามาช่วยงาน marketing ด้วย

"คุณทำหนังของคุณให้ดี ทำสินค้าของคุณให้ดีที่สุด ส่วนเราจะพยายามหาวิธีการ โปรโมตสินค้า หาช่องทางการตลาด และทำทุกอย่างให้สินค้าตัวนี้ขายดี สินค้าดี การตลาด ดี ทุกอย่างก็ต้องไปด้วยดี นี่คือนโยบายหลักของแกรมมี่" ชูพงษ์ รัตนบัณฑูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท GMM Pictures ย้ำถึงจุดยืนในการทำงาน

วิธีการที่ใช้กับภาพยนตร์เรื่อง คืนไร้เงา นำแสดงโดย นิโคล เทริโอ และสิริยากร พุกกะเวส โดยไปเปิดตัวฉายรอบปฐมทัศน์ ในงานเทศกาลหนังนานาชาติที่กรุงเบอร์ลิน โดยฉายในโปรแกรม The International Forum of New Cinema ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้ความสำคัญจากหนังทางเลือกทั่วโลก การวางแผนไปร่วมประกวดหนังนานาชาติที่ฮ่องกง ในเดือนเมษายน และเทศกาลอื่นๆ ในยุโรป และอเมริกา เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะสร้างมูลค่าให้กับตัวภาพยนตร์ และหากได้รางวัลใดรางวัลหนึ่งกลับมาก็จะเป็นจุดขายที่ยอดเยี่ยมทีเดียว

ในจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ บริษัท อราทิสท์ แมเนจ เม้นท์ คือบริษัทที่มีกระบวนการปั้น "คน" ให้เป็น "นักร้อง" สำเร็จมาแล้ว ใน GMM Pictures ก็เช่น เดียวกัน กระบวนการปั้นคนให้เป็นบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตภาพยนตร์ก็ถูกวางแผนแล้วเช่นกัน

"ผมกำลังเซ็ทอัพทีมใหม่ จัดหลักสูตรขึ้นมาเอง โดยเอาบรมครูบ้านเรานี่แหละ ช่วยเขียน ช่วยสอน เด็กจบมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ผมจับเทรนนิ่งเลย 6 เดือน ผมจะลงทุนในเรื่องเวิร์คชอปเต็มที่ อย่างที่รู้ๆ กัน บ้านเราไม่มีฟิล์มสคูลดีๆ เรียนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว คนที่จะรู้จริงน้อย เมื่อก่อนอาจจะไม่รู้ ทำกันผิดๆ ถูกๆ อาศัยลูกลุย คราวนี้ผมก็จะเอาทางด้านวิชาการใส่เขาด้วย" ชูพงษ์อธิบาย

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ GMM Pictures ประกาศสร้างภาพยนตร์ในปีนี้ทั้งหมด 10 เรื่อง โดยเป็นเม็ดเงินการลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท

ผมมั่นใจว่าจะสามารถประสานศิลปะกับธุรกิจ ให้ไปด้วยกันได้ ผมให้เวลาอีก 2 ปี แล้วจะบอกได้อีกครั้งว่า มันสำเร็จหรือล้มเหลว"

ส่วนค่ายอาร์.เอส.โปรโมชั่นนั้น สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ได้วางแผนการไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่ปี 2535 โดยเริ่มมีการทดลองทำภาพยนตร์เรื่องแรก "รองต๊ะ แล่บแปล๊ป" แสดงนำโดย ทัช ตะกั่วทุ่ง ศิลปินในค่าย เป็นหนังที่ประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากนั้น 2 ปี ขั้นตอนที่ 2 ที่เกิดขึ้นตามมาคือ การ ตั้งฝ่าย อาร์เอส.ฟิล์ม เพื่อสร้างภาพยนตร์ไทยอย่าง จริงจังในปี 2538 จากผู้กำกับ 3 คนคือ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล และคมสัน ศรีสวัสด์ ทั้ง 3 คน มาจากผู้กำกับมิวสิกวิดีโอของ อาร์.เอส.โปรโมชั่น ภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องคือ เกิดอีกทีต้องมีเธอ, โลกทั้งใบให้นายคนเดียว และเด็กระเบิดยืดแล้วยึด ทั้ง 3 เรื่องล้วนแล้วแต่ใช้ดารา ที่เป็นทรัพย์สินของค่ายเป็นดารานำ โดยกลุ่มคนดูหลักก็คือ กลุ่มลูกค้าเดิมของค่าย เพลงนี้เป็นส่วนใหญ่

การมีภาพยนตร์หลากหลาย 3 เรื่องทยอยฉายอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานั้น แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่า ค่ายนี้เตรียมบุกตลาดหนังไทยแน่นอน โดยผู้บริหารมีความเห็นชัดเจนว่าภาพยนตร์ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ลงทุนไปเพียงเรื่องเดียว รอดูฟังผล แล้วค่อยมาตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำเรื่องต่อไป แต่ต้องอาศัยความต่อเนื่อง

ระหว่างภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องทยอย เข้าฉาย การเปิดกว้างให้ผู้กำกับข้างนอกก็เริ่มเข้ามาและเรื่องสุดท้ายที่ผลิตภายใต้ชื่อของฝ่ายอาร์เอส.ฟิล์มคือ ภาพยนตร์แนวแอคชั่น-ไซไฟ-ทริลเลอร์ "โคลนนิ่ง คนก๊อบปี้คน" รวมทั้งหมด 10 เรื่อง ในเวลาประมาณ 5 ปี โดยมีผู้จัดการฝ่าย 2 คนคือ ปรัชญา ปิ่นแก้ว และดิเรก วัฏลีลา ผู้บริหารฟิล์มบางกอก คนปัจจุบัน

ส่วนขั้นตอนที่ 3 ก็คือการยุบฝ่ายอาร์เอส.ฟิล์มไป และจัดตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ขึ้นมาแทน

ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล คือคนแรก ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท อาวอง บริษัทภาพยนตร์ที่มี อาร์.เอส.โปรโมชั่นถือหุ้นเต็มร้อย และมีผลงานไปแล้วในเรื่อง มือปืน/โลก/พระ/จัน ผีสามบาท และพันธุ์ร็อคหน้าย่น และหลังจากนั้นไม่นาน ก็มีบริษัทภาพยนตร์ในเครือเกิดขึ้นตามๆมาอีก 7 บริษัทคือ

บริษัท อาคาเซีย จำกัด มีชวลิต พงศ์ไชยยงค์ เป็นกรรมการผู้จัดการ กำลังเตรียมเปิดกล้องเรื่องขบวนการไทยถีบ บริษัทอาร์เอส.ฟิล์ม แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด มีพละ บุตรเพชร เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทนี้นอกจากกำลังผลิตภาพยนตร์เรื่อง The Park แล้ว ยังรับผิดชอบจัดจำหน่ายหนังของบริษัทในเครืออีกด้วย บริษัท ฟิล์ม เซิร์ท จำกัด มีผลงานเรื่องตะลุมพุก โดย คมสัน ศรีสวัสดิ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทอาละดิน เฮ้าส์ องอาจ สิงห์ลำพอง เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส.เทเลวิชั่น จำกัด มีภัทธิรา ปาลวัฒน์วิชัย เป็นกรรมการ ผู้จัดการ และบริษัท เรดดราม่า จำกัด มีนพดล มงคลพันธ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ

และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางค่ายอาร์.เอส.ฯ ยังได้มีโครงการ "Step To Asia" ก้าว สู่การร่วมทุนและสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทสร้างภาพยนตร์ในฮ่องกง โดยบริษัทอาร์เอส.ฟิล์ม แอนด์ ดิสทริบิวชั่น ได้ประกาศร่วมทุน กับ Mr.Robert Li กรรมการ ผู้จัดการ บริษัทไฮฟิล์ม ซึ่งเป็นบริษัททางด้านบันเทิงหลายรูปแบบจากฮ่องกง ลงทุนสร้างภาพยนตร์สยองขวัญร่วมกันในเรื่อง "The Park" ในงบประมาณ 60 ล้านบาท และยังได้แอนดรู เลา มานั่งเป็น Director อีกด้วย

ในแต่ละบริษัทการบริหารงานจะมีอิสระแยกจากกันเด็ดขาด โดยจะมีนโยบายต่างกันไปตามมุมมองของผู้บริหารบริษัทนั้นๆ ไม่ได้กำหนดชัดเจนว่า บริษัทนี้ทำหนังประเภทไหน โดยมีผู้บริหารของแต่ละบริษัทควบคุมแนวทางของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง โดยมี สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เป็นที่ปรึกษาดูบท และวางแผนการทางด้านการตลาด

จุดประสงค์สำคัญของผู้บริหารบริษัท อาร์.เอส.ฯ ที่มีแนวความคิด "แยกกันโต" เป็นเพราะมั่นใจว่าภาพยนตร์ที่หลากหลายและถูกใจคนดู ต้องมาจากความหลากหลาย ต่อเนื่อง และมุมมองของบุคลากรที่แตกต่างกันออกไปแต่ละบริษัท มีกำลังความสามารถ ที่จะทำภาพยนตร์ 3-5 เรื่องต่อปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 35-40 ล้านบาทต่อเรื่อง

GMM Pictures และอาร์.เอส.โปรโมชั่น จะสามารถเข้าไปเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของผู้สร้างหนังไทย ได้หรือไม่ เร็วๆ นี้ น่าจะมีคำตอบที่ชัดเจน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us