Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
โฉมหน้าภาคตะวันออกหลัง 18 ปีอีสเทิร์นซีบอร์ด             
 

   
related stories

'อาหลีกรุ๊ป' เติบโตกับทางน้ำ
ศุภรสหัสรังสี เจ้าตำรับโรงแรมสามดาวพัทยา
'ทั่งซังฮะ' เจ้าของตราและตำรับ 'ทิพรส'
แผนอีสเทิร์นซีบอร์ด จากระยะ 1 สู่ระยะ 2

   
search resources

Industry




ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกโดย เฉพาะจังหวัดชลบุรี และระยอง ที่กลายสภาพเป็นเมืองอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ศูนย์กลางการขนส่งทั้งทางน้ำ และทางบกนั้น เป็นผลมาจากโครงการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด

แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะ ที่ 1 เริ่มตั้งแต่ปี 2525 ภายใต้นโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ที่มุ่งเน้นพัฒนาภาคตะวัน ออก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมจากส่วนกลาง และการย้ายฐาน การผลิตเข้ามาของอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขต 3 จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

จังหวัดระยอง ถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญ ที่มีทั้งอุตสาหกรรมหนัก อาทิ ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมเครือข่าย เช่น อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลไม้ เพื่อการส่งออก

ผลจากการถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม ทำให้ราคา ที่ดินในจังหวัดระยองขยับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น ในจังหวัดจำนวนมาก

ขณะที่จังหวัดชลบุรีถูกกำหนดให ้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อการส่งออก ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง มีกำหนดเปิดบริการในปี 2534 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางน้ำ และการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทั้งนำเข้า และส่งออก ตามแผนการผลักดันให้ภาคตะวันออกเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ทั้งทางน้ำทางบก และทางอากาศ โดยทางอากาศนั้น มีสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งตั้งอยู่ตรงรอยต่อจังหวัดชลบุรี และระยอง เป็นจุดศูนย์กลาง

นอกจากนี้ได้กำหนดให้ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลากหลาย ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมหนัก มีเพียงจันทบุรี และตราด ที่มีการเติบโตของอุตสาหกรรมน้อยที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดของการขนส่งเพราะอยู่ไกลศูนย์กลางเกินไป

รายงานของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ระบุว่าการเติบโตทาง เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออกสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากโครงการ พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกกำเนิดขึ้น เพราะปัจจัยบวกของการมี ระบบขนส่งทั้งทางบก และทางน้ำ ในช่วงของการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด รัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณพัฒนาถนนหนทางสายต่างๆ ที่มุ่งสู่ภาคตะวันออก ทั้งการตัดถนนใหม่ และขยายถนนเดิม โครงการสำคัญ อาทิ มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี ที่อำนวยความสะดวกให้กับการเดินทาง-ขนส่งมายังภาค ตะวันออกอย่างยิ่ง

การเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการของท่าเรือแหลมฉบังตั้งแต่ปี 2534 ถือเป็นการก่อกำเนิดท่าเรือสินค้า เพื่อรองรับการให้บริการขนถ่ายสินค้าทางน้ำ จนถึงปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง มีเรือสินค้าขนาดต่างๆ เข้าเทียบท่าในแต่ ละปีไม่ต่ำกว่า 3.7 พันเที่ยว และปัจจุบันมีตู้สินค้าขนถ่ายยังท่าเรือแหลมฉบังมากถึง 1.7 ล้านทีอียู เกินขีดความสามารถ ที่รองรับได้เพียง 1.5 ล้าน ทีอียู ถึง 0.25 แสนทีอียู ท่าเรือแหลมฉบังจึงต้องเร่งพัฒนาท่าเรือในระยะ ที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของจำนวนตู้สินค้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

การหลั่งไหลเข้ามายังภาคตะวันออกของโรงงานอุตสาหกรรมประเภท ต่างๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2533-2534 ในครั้งนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เข้ามาเป็นกลุ่มแรกคือ โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของกลุ่มทีพีไอ ตาม ด้วยโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กของสวัสดิ ์หอรุ่งเรือง และกลุ่มผาแดงอินดัสตรี เป็นต้น

การขยายตัวสูงสุดของอุตสาหกรรมในอีสเทิร์นซีบอร์ด เกิดขึ้นในปี 2535 เมื่อเริ่มมีการลงทุนจากต่างชาติเข้ามา ผลที่ตามมาคือ การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับนักลงทุน จนปัจจุบันภาคตะวันออกถือเป็นภาค ที่มีนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดถึง 28 แห่ง จังหวัดระยองมีมากที่สุด รองลงมาคือ ชลบุรี และปราจีนบุรี

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีสเทิร์นซีบอร์ด เริ่มเต็มรูปแบบเมื่อปี 2539-2540 ซึ่งเป็นช่วง ที่มีการพัฒนาถนนหนทางการขนส่งทางอากาศ ที่มีสนามบินอู่ตะเภาเป็นจุดศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาทางการเมือง และการที่สนามบินอู่ตะเภาอยู่ภายใต้ การดูแลของกองทัพเรือ ทำให้ การพัฒนาเป็นสนามบิน เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากกองทัพเรือ และรัฐบาลยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องของการบริหาร และการดูแล ทำให้ระบบขนส่งทางอากาศของอีสเทิร์นซีบอร์ดยังไม่สมบูรณ์เต็มที่นัก

ปัจจุบันแม้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ โครงการศูนย์ กลางการขนส่งทางบก, โครงการ ขนส่งสินค้าทางรถไฟราง คู่สู่ภาคตะวันออก จะยังไม่สำเร็จเป็นรูปธรรมทั้ง 100% แต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกก็พัฒนาถึงขีดสุด จากการเข้ามาของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากต่างชาติ เช่น กลุ่ม GM ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา การขยายไลน์การผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ของกลุ่มมิตซูบิชิ เป็นต้น

ก่อน ที่โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกจะเกิดขึ้น อุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก ส่วน ใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมฟอกย้อม แต่เมื่อเกิดอีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ อุตสาหกรรมประเภทดังกล่าวถูกควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนมือผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมดั้งเดิมเริ่มเลือนหายไปในปัจจุบัน

ขณะที่การท่องเที่ยวเติบโตขึ้นมาควบคู่กับอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างเด่นชัด หลังจากการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักภาคตะวันออกมากขึ้น การพัฒนาเส้นทางคมนาคมสู่ภาคตะวันออกมีมากขึ้น การเข้ามาของแรงงานต่างถิ่น และกลุ่มวิศวกร และแรงงานจากต่างชาติ การขยายตัวของอุตสาหกรรมการให้บริการ และการท่องเที่ยวได้ขยายตัวตามมา

จนปัจจุบันเมืองพัทยา แหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออก ที่มีคนรู้จักมากที่สุด มีห้องพักมากถึง 4 หมื่นกว่าห้อง มีผู้ประกอบการโรงแรมทั้ง ที่ดำเนินการถูกต้อง และไม่ถูกต้องในทุกระดับมากเกือบ 300 แห่ง ขณะที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้พัฒนาตัวเอง จากเดิม ที่ดำเนินการ และบริหารโดยคนในครอบครัวทำกิจการเล็กๆ ก็เริ่มกระเถิบสู่ความเป็นสากล และขยายไปทำธุรกิจ บริการเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเรือท่องเที่ยว สถานบริการ ต่างๆ แหล่งบันเทิง เป็นต้น

พร้อมๆ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการท้องถิ่น ที่เป็นเจ้าของอุตสาหกรรมขนาดกลาง และเล็ก ก็ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเช่นกัน เพื่อสอดรับการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่หลากหลายมากขึ้นในภาคตะวันออก

กลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่นเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของกลุ่มทุนพื้นที่ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง และสอดรับกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่เข้ามา อาทิ อาหลีกรุ๊ป ที่หันมาทำธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินเรือ เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง และการขนส่งทางน้ำ ส่งเสบียงอาหารให้กับเรือท่องเที่ยว-เรือเดินทะเล และเรือสินค้าขนาดใหญ่ ที่เข้าเทียบท่ายังท่าเรือแหลมฉบัง นอกจากนั้น ยังให้บริการน้ำจืด สำหรับเรือใหญ่ และธุรกิจเรือแท็กซี่ เพื่อบริการขนส่งนักท่องเที่ยวไปยังเกาะแก่งต่างๆ รวมทั้งบริการขนส่งพนักงานจากบริษัทต่างๆ ไปส่งยังเรือใหญ่ ที่ลอยลำอยู่กลางทะเล ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มนี้ใน แต่ละปีนับเป็นจำนวนมหาศาล

ขณะที่ตระกูลศุภรสหัสรังสี สามารถพัฒนาตัวเองจากอาชีพค้าวัสดุก่อสร้าง ก่อนนำประสบการณ์ทางธุรกิจมาสร้างโรงแรมระดับ 3 ดาว เพื่อรับนักท่องเที่ยวจากยุโรป ที่ถือเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกๆ ที่เดินทางเข้ามายังพัทยา จนปัจจุบันสามารถมีโรงแรมในเครือถึง 8 แห่ง และเตรียมขยายการลงทุนสู่เมืองท่องเที่ยวอื่นๆ

ส่วนกลุ่มทั่งซังฮะ ผู้ผลิตน้ำปลารายแรกของประเทศไทย ยังคงพัฒนารูปแบบการผลิตน้ำปลาของตนเองมาอย่างต่อเนื่อง และใช้ประโยชน์จากการ มีท่าเรือน้ำลึกในภาคตะวันออก ในการขยายการส่งออกไปยังต่างประเทศ

กิจการเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม ในภาคตะวันออก ที่เริ่มพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของพื้นสังคมภาคตะวันออก และการรุกเข้ามาของอุตสาหกรรมจากส่วนกลาง และต่างชาติ สามารถอยู่ได้ และเติบโตด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาทุนจากส่วนกลางหรือต่างชาติแต่อย่างใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us