Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
MOVIE BIG MOVE เปิดโฉม "ดารา" ตัวจริง วงการภาพยนตร์ไทย             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

รายชื่อภาพยนตร์ไทยทำรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก ปี 2541-2545
รายชื่อภาพยนตร์ที่มีกำหนดฉายในปีนี้และอยู่ในระหว่างการถ่ายทำในปี 2546
ภาพยนตร์ที่เข้าฉายปี 2533-2545
หนังดีจากอดีตถึงปัจจุบัน
สหมงคลฟิล์ม Business Model
รางวัลของชีวิต
GMM Pictures & RS.Film
"พ่อมด" เบื้องหลังแผ่นฟิล์ม
ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ปี 2546
หนังไทย! เดือด

   
www resources

Touchstone Pictures Homepage
Paramount Pictures Homepage
20th Century Fox Homepage
Sony Pictures Homepage
Universal Pictures Homepage
Walt Disney Pictures Homepage
Metro Goldwyn Mayer Homepage
Warner Bros. Homepage
Columbia Tristar Homepage
New Line Cinema Homepage
Castle Rock Entertainment Homepage
DreamWorks SKG Homepage
Jerry Bruckheimer Films Homepage
Spyglass Entertainment Homepage
Revolution Studios Homepage

   
search resources

วิสูตร พูลวรลักษณ์
อดิเรก วัฎลีลา
Films




อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรง ดุเดือด อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรื่องราวในชีวิตจริงของผู้คนที่โลดแล่นอยู่ในอุตสาหกรรมหนังไทยวันนี้ จึงมันหยดยิ่งกว่าบทภาพยนตร์เรื่องใดๆ ในจอเงิน

ตลาดหนังไทยกำลัง "เดือด" ความร้อนของมันกำลังแผ่รังสีออกมากระทบกับผู้คนในสังคมไทย ส่งผลให้หลายคนที่ไม่เคยสนใจหนังไทยมาก่อนเลยตลอดชีวิต ต้องหันกลับไปมอง

เมื่อกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์เปลี่ยนแปลงไป ความต้องการเสพรสชาติแปลกใหม่แทนที่ รสเดิมๆ ของภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ซึ่งแข่งขันกันในเรื่องเทคนิคมานาน คือความสำเร็จ ส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ไทยย้อนยุคที่กลายป็นตัวจุดกระแสให้ภาพยนตร์ไทยฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมๆ กับการเข้ามาของกลุ่มคลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ

สอดรับไปกับการนำสื่อโฆษณาทุกรูปแบบมาใช้เพื่อกระตุ้นผู้บริโภค ให้หันกลับมาสนใจหนังไทย ธุรกิจภาพยนตร์โดยรวมจึงได้โตขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่ากลัว ตัวเลขการเข้าฉายที่มีเพียง 9 เรื่อง ในปี 2543 เพิ่มเป็น 26 เรื่องในปี 2545 ในขณะที่ปีนี้คาดกันว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 60 เรื่อง

เรื่องราวในชีวิตจริงของผู้คนในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ที่พร้อมใจกันกระโจนเข้าสู่สงครามการแข่งขัน จึงมันหยดยิ่งกว่าบทภาพยนตร์เรื่องใดๆ ที่กำลังโลดแล่นอยู่บนจอเงิน

บริษัทสร้างภาพยนตร์รายเก่าๆ ที่ยังคงยืนหยัดฟันฝ่ามรสุมต่างๆ มาได้อย่าง เช่น ไฟว์สตาร์ สหมงคลฟิล์ม ไทเอนเตอร์ เทนเม้นท์ ต่างก็มีแผนการสร้างภาพยนตร์ เพิ่มขึ้นจากที่เคยสร้างมาในปีก่อนๆ วิสูตร พูลวรลักษณ์ ผู้บริหารค่ายไทฯ บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ปี 2546 เตรียมเปิดเรื่อง ใหม่ 6-7 เรื่องแล้ว ทยอยเปิดในปีหน้าอีก ประมาณ 5 เรื่อง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ยืนยันว่า สหมงคลฟิล์มวางแผนเตรียมภาพยนตร์ฉายในปีนี้ 12 เรื่องเรียบร้อยแล้ว ส่วนปีหน้าวางไว้ 18 เรื่อง ส่วนเจริญ เอี่ยมพึ่งพร แห่งไฟว์สตาร์ ก็เตรียมทยอยเปิดเรื่องใหม่อีกประมาณ 6-7 เรื่องเช่นกัน

ปีนี้เช่นกันที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเพลงอย่าง อาร์.เอส.โปรโมชั่น และค่ายแกรมมี่ ประกาศเข้าสู่ธุรกิจภาพยนตร์อย่างเต็มตัวโดย อาร์.เอส.ฯ ตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ในเครือไว้รองรับแล้วถึง 8 บริษัท ส่วนค่ายแกรมมี่ หลังจากพยายามเข้ามาแทรกตลาดอยู่หลายครั้งในปีนี้ได้มีนโยบายโฟกัสชัดเจนขึ้น โดยให้ภาพยนตร์เป็นตัวสร้างรายได้หลักเช่นเดียวกับธุรกิจเพลง (อ่านเรื่องประกอบใน GMM Pictures & RS.Film)

พร้อมๆ กับการเข้ามาของบริษัทสร้างภาพยนตร์รายใหม่ๆ อย่างเช่น บริษัท พระนครฟิล์ม, CM ฟิล์ม และสยามฟิล์ม ที่กำลังทยอยสร้างภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง รวม ทั้งค่ายใหม่อีกหลายค่ายที่กำลังซุ่มตัวเงียบรอจังหวะในการเปิดตัว

และที่สำคัญคือ การเข้าร่วมทุนสร้างระหว่างผู้สร้างเมืองไทยและต่างประเทศ เช่น ค่ายอาร์.เอส.ฯ ร่วมกับบริษัทไฮฟิล์ม ซึ่งทำธุรกิจบันเทิงหลายรูปแบบจากฮ่องกง มาร่วมลงทุนสร้างภาพยนตร์เรื่อง "The Park" ค่ายไฟว์สตาร์ร่วมทุนกับค่ายหนัง 5 ชาติ โดยดึงเอาคริสโตเฟอร์ ดอยล์ ผู้กำกับภาพให้ผู้กำกับชื่อดังของโลก "Wong Kar-Wai" มาร่วมกำกับภาพในเรื่อง "เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล" (อ่านรายละเอียดในเรื่องประกอบภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ ปี 2546)

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นส่งผลให้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เกิดบริษัทด้านโปรดักชั่น รับ ผลิตภาพยนตร์มากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในบ้านเรา และบริษัทเหล่านี้ได้ต่อยอด จ้างทีมงานฝ่ายต่างๆ เข้ามาอีกมากมาย พร้อมๆ กับการวางระบบใหม่ๆ ในเรื่องผลตอบแทนให้เป็นมาตรฐานขึ้น

บริษัทเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือ บริษัทในเครือของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ตั้งขึ้นเพื่อหวังผลในการผลิตงานป้อนบริษัทแม่อย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งจะเป็นบริษัทอิสระรับผลิตหนังให้กับผู้สร้างทั่วไป และผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้บริหารบริษัทผลิตภาพยนตร์เหล่านี้คือ บรรดาผู้กำกับชื่อดังที่เคยประสบความสำเร็จในการกำกับภาพยนตร์ มาแล้วนั่นเอง เช่น นนทรีย์ นิมิบุตร ไปนั่งป็นผู้บริหารบริษัทผลิตภาพยนตร์ 2 บริษัท คือ ฟิล์มหรรษา ผลิตหนังป้อนสหมงคลฟิล์ม และบริษัทฟิล์มเนมาเซีย (ประเทศไทย) รับผลิตหนังให้กับค่ายต่างๆ

ปรัชญา ปิ่นแก้ว เคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ให้กับค่ายอาร์.เอส.ฯ ปัจจุบัน เป็นผู้บริหารบริษัทบาแรมยูทำหนังป้อนบริษัทสหมงคลฟิล์ม

ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับฯ ที่ประสบความสำเร็จจากมือปืน/โลก/พระ/จัน และกุมภาพันธ์ วันนี้ตั้งบริษัทมหการภาพยนตร์ ผลิตหนังให้กับทุกค่าย

คมสัน พงษ์สุธรรม หลังจากประสบความสำเร็จในเรื่องผีหัวขาด บริษัท อำนวยการสร้าง พระนครฟิล์ม ก็เลยมอบตำแหน่งผู้บริหารรับผิดชอบด้านการผลิต โดยดึงดาราตลกอย่างเช่น เทพ โพธิ์งามและหม่ำ จ๊กม๊ก เข้ามาเป็นผู้กำกับ

บริษัทผลิตภาพยนตร์กับบริษัทของผู้อำนวยการสร้างจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน เมื่อบริษัทผลิตภาพยนตร์รับเงินก้อนหนึ่งมาจากผู้อำนวยการสร้าง ก็จะลงมือถ่ายทำไปตามกระบวนการจนเสร็จสิ้นเป็นฟิล์มออกมา ขั้นตอนต่อไปคือล้างฟิล์ม ตัดต่อ ประกอบเสียงทำเทคนิค เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสร้าง ที่ทำหน้าที่ไปพร้อมๆ กับการวางแผนด้าน การตลาด เพื่อทำการขาย

"เมื่อมีหนังมากขึ้น บางเรื่องจึงมีเวลาแค่ฉายในโรงภาพยนตร์เพียง 3 วัน คือ วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เขาเรียกกันว่า 3 วันอันตราย ซึ่งจะรู้เลยว่าเรื่องนี้มีคนดูหรือเปล่า 3 วันแรกคนไม่ดู อย่าหวังเลยว่าอาทิตย์ต่อไปจะมีคนดู ดังนั้นหลังจาก 3 วันหนังก็อาจจะถูกถอดจากโปรแกรมปกติ ไปอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ดีก็ได้" อดิเรก วัฏลีลา ผู้บริหารฟิล์มบางกอกเล่าปัญหาอย่างหนึ่งให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

เมื่อไรที่ภาพยนตร์ถูกปลดจากโรงภาพยนตร์ชั้น 1 เมื่อนั้นถือว่าภาพยนตร์เรื่องนั้น หมดอายุ และเวลาเพียงไม่นานคนจะลืมทั้งผู้สร้าง ผู้กำกับ ได้สนิท หากภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีอะไรพิเศษที่ควรกล่าวขาน

การวางแผนโฆษณา "สินค้า" ที่มีอายุสั้นนี้ ให้ติดตลาดอย่างรวดเร็วจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ

ผู้บริหารหลายค่ายยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ตรงกันว่าปัจจุบันงบการผลิตกับการประชาสัมพันธ์มีสัดส่วนที่เท่ากัน ส่วนใหญ่งบการผลิตภาพยนตร์ที่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นฟอร์มใหญ่ของแต่ละค่ายจะอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท ดังนั้น งบประมาณในการโฆษณา ก็คือ 20 ล้านบาทเช่นกัน

เมื่อเม็ดเงินถูกหว่านเต็มที่ กลยุทธ์ต่างๆ ในการใช้สื่อจึงเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง สปอตโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ การติดคัตเอาต์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมๆ กับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างบรรดานักแสดงนำกับคนดู จะเกิดขึ้นเสมอตามหน้าโรงภาพยนตร์ ที่กำลังเข้าฉาย

รายการทอล์คโชว์ เกมโชว์ จะถูกวางแผนให้นักแสดงนำ และผู้กำกับ ไปร่วมเล่น และร่วมพูดคุยถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังการถ่ายทำ และจุดต่างๆ ในเรื่องที่ประทับใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไปกระตุ้นให้คนทางบ้านมีความต้องการที่จะดู ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ช่วงเวลาดีหลังข่าวทางช่อง 3 ถูกปูพรมโฆษณาเต็มที่จากเรื่องกุมภาพันธ์, ส้มแบงค์มือใหม่หัดขาย ส่วนช่อง 7 สีก็จะมีเรื่ององค์บาก

ในสถานการณ์เช่นนี้ดูเหมือนว่า ฟิล์มบางกอก และค่ายสหมงคลฟิล์มจะอยู่ในภาวะที่ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่น เพราะ ฟิล์มบางกอกคือ บริษัทในเครือของช่อง 3 ส่วนสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ กับสุรางค์ เปรมปรีดิ์ แห่งช่อง 7 สี ก็เป็นพันธมิตรกันมายาวนาน นอกจากภาพยนตร์โฆษณา แล้ว ภาพใบปิดภาพยนตร์ของสองค่ายนี้จึงปรากฏในจอของแต่ละช่องให้เห็นจนคุ้นตา

หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของบริษัทผู้อำนวยการสร้างคือ การหาช่องทางรายได้ใหม่ๆ

รายได้ของภาพยนตร์ไทยที่ผ่านมา จะได้จากเงินที่ซื้อตั๋วชมภาพยนตร์เป็นหลัก โดยแบ่งรายได้กันคนละครึ่งกับทางเจ้าของโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่ทำรายได้ 100 ล้านบาท ที่พูดๆ กันนั้น ในความ หมายก็คือ เจ้าของภาพยนตร์ได้ 50 ล้านบาท เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้ 50 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นรายได้ของผู้สร้างจากการขายสิทธิ์ให้กับสายหนังไปขายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ ซึ่งมีสายสำคัญอยู่ประมาณ 6 สาย รายได้จากการขายทุกสายรวมกัน การันตีอยู่ที่เรื่องละประมาณ 6-10 ล้านบาท

ปัจจุบันรายได้จากการขายสิทธิ์ให้กับบริษัทผลิตวิดีโอ และวีซีดี ก็เป็นรายได้อย่างหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมา เช่นเดียวกับตลาดในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทผู้สร้างเริ่มจัดการ อย่างมีระบบขึ้น โดยมีทั้งการทำตลาดเองในงานเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ และการขายสิทธิ์ผ่านบริษัทตัวแทนต่างๆ

จะว่าไปแล้วภาพยนตร์ไทยเริ่มไปสร้างชื่อในต่างประเทศมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 ในเรื่องสันติ-วีณา โดยได้มาถึง 3 รางวัล จากประเทศญี่ปุ่น ปี 2533 คนเลี้ยงช้าง ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ตั้งใจสร้าง เพื่อส่งเข้าประกวดชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศ หลังจากนั้นก็ยังมีอีกหลายๆ เรื่องที่มีโอกาสออกไป แต่เมื่อกระแสส่วนใหญ่ไม่ตอบรับ เลยไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่ง ภาพยนตร์ย้อนยุค 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อปี 2540 ไปคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอด เยี่ยมจากการประกวดหนังที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ต่อจากนั้น นางนาก สตรีเหล็ก ภาค 1 ตลก 69 ฟ้าทะลายโจร บางระจัน ก็ตบเท้าออกสู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง ตามงานเฟสติวัลต่างๆ และที่สำคัญหลายเรื่องได้รางวัลกลับมา เช่น เรื่องฟ้าทะลายโจร ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในเทศกาลหนังยิ่งใหญ่ของโลกที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส

ภาพยนตร์เรื่อง "One Night Husband" ชื่อภาษาไทยว่า "คืนไร้เงา" ของค่ายแกรมมี่ฯ ได้เปิดตัวรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังนานาชาติที่กรุงเบอร์ลิน ครั้งที่ 53 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา นับว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

ปัจจุบัน หนังไทยบางเรื่อง เช่น บางระจัน ฟ้าทะลายโจร สตรีเหล็ก ยังคงเก็บรายได้จากต่างประเทศอยู่อย่างเงียบๆ วิสูตร พูลวรลักษณ์ จากค่ายไทฯ ยืนยันว่าสตรีเหล็ก ภาค 1 ไปฉายมาแล้ว 33 ประเทศทั่วโลก รายได้ที่ฮ่องกง 15 ล้านเหรียญฮ่องกง สิงคโปร์ 5.6 แสนเหรียญ ในญี่ปุ่นมาแรงมากประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนภาค 2 มีกำหนดฉายที่ฮ่องกง ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ ในเดือนเมษายนจะไปฉายที่ฮ่องกง และปลายปีนี้กำหนดลงโรงในประเทศญี่ปุ่น

ในเดือนมิถุนายนปีนี้ ภาพยนตร์แห่งสยามประเทศ เรื่อง "สุริโยไท" ในเวอร์ชั่นที่ถูกตัดต่อ และเพิ่มเติมใหม่ เหลือเวลาฉายเพียง 2 ชั่วโมง และรับประกันการจัดจำหน่าย โดยบริษัทดังของโลก "โซนี่" จะลงโรงฉายพร้อมกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นอีกเรื่องที่น่าจับตามองว่าความแปลกใหม่ของหนังจากเอเชีย ยังเป็นที่น่าสนใจหรือไม่ในตลาดโลก

เมื่อทำสินค้าดี มีการวาง แผนการอัดโฆษณาอย่างหนักหน่วง ทำให้รายได้ของภาพยนตร์ ไทยหลายเรื่องในปีที่ผ่านมา สร้างายได้เกิน 50 ล้านบาท เมื่องบประมาณการผลิตส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่เรื่องละ 30-40 ล้านบาท ตัวเลขโดยเฉลี่ยจึงเป็นที่พอใจทั่วกัน และยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้สร้างต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย

ท่ามกลางการเติบโตเหมือนฟองสบู่ แต่เมื่อมองข้าม ช็อตกลับมาก็จะพบปัญหาสำคัญหลายเรื่องที่กำลังก่อตัวค่อนข้างรุนแรงทางด้านการผลิต

ถึงแม้ว่า จะมีเม็ดเงินก้อนใหม่จากผู้สร้างหลาย กลุ่มทะลักเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ แต่การขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้านคอยรองรับคือปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญ ผู้กำกับภาพยนตร์ 100 ล้าน ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่า เมื่อสร้างเรื่องต่อไป จะทำได้ 100 ล้านอีก เพราะหัวใจสำคัญ อยู่ที่บทภาพยนตร์ เมื่อขาดคนเขียนบทที่ดีผนวกกับความ เร่งรีบในการผลิต ทำให้ความพิถีพิถันกับบทมีน้อยลง และ เนื้อหาที่ออกมาจะใกล้เคียงกัน เช่น เมื่อคนเห็นผีทำเงินเรื่อง ผีหัวขาด ตะเคียน เฮี้ยนก็ทยอยออกตามมา เช่นเดียวกับภาพยนตร์ของคนกลุ่มเพศที่ 3 มี ว้าย บึ้มกระหึ่มโลก, สตรีเหล็ก 2, บิวตี้ฟูลบ๊อกเซอร์ หรือหนังบู๊แอกชั่นที่ปีนี้จะมีเรื่องครุฑดำ, เสาร์ห้า, มหาอุตม์, 102 ปิดกรุงเทพฯ ปล้น, ขบวน การไทยถีบ

นอกจากบทแล้ว ผู้กำกับหลายคนก็กำลังถูกแย่งตัว เกิดผู้กำกับฯ รุ่นใหม่ที่ความสามารถยังไม่เพียงพอเข้ามา เช่น เดียวกับตำแหน่งผู้ถ่ายภาพ ผู้กำกับศิลป์ ผู้ออกแบบภาพยนตร์ ผู้ออกแบบฉาก คนดูแลเสื้อผ้า ฯลฯ

ปริมาณที่มากขึ้นทำให้ควบคุมคุณภาพไม่ได้ อาจทำให้ มนต์เสน่ห์ของหนังไทยจืดจางลงเร็วกว่าที่คิด ใครคือผู้เข้มแข็ง ที่อยู่รอด ไม่นานเกินรอคงได้เห็น โปรดติดตามตอนต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us