Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ชื่อ : สัญญาณการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ             
 


   
search resources

Industry




ภาวะเศรษฐกิจ ที่ล่มสลายลง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากในโครงสร้างภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ร่วมทุนรายใหม่

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศ สัญญาณของการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญคือ การเปลี่ยนชื่อบริษัท ซึ่งเป็น การบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างผู้ถือหุ้น ตลอดจนทิศทาง และลักษณะธุรกิจ

สัญญาณดังกล่าว ได้เริ่มปรากฏ ขึ้นตั้งแต่ปี 2541 หลังจากมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเพียง 5 เดือน และเริ่มมีมากขึ้นอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา

จากการรวบรวมข้อมูลของ "ผู้จัดการ? เฉพาะบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีบริษัท ที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่ออย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 13 บริษัท ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงิน

เหตุผลการเปลี่ยนแปลงชื่อของแต่ละบริษัท เกือบทุกแห่งจะคล้ายคลึงกัน คือ มีผู้ร่วมทุนรายใหม่ หรือมีการปรับเปลี่ยนทิศทางของธุรกิจ

ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะธนาคาร ที่มีการเปลี่ยนชื่อทั้ง 3 แห่ง คือ ธนาคารไทยทนุ ธนาคารนครธน และธนาคารรัตนสิน เกิดขึ้นจากการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่เข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น

กลุ่มสถาบันการเงิน นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากนโยบายแยกบริษัทเงินทุนออกจากบริษัทหลักทรัพย์ ของแบงก์ชาติ ที่มีการปฏิบัติตามกันมาแล้วหลายแห่ง

จะมีแปลกแยกออกไปบ้างก็คือ กรณีของบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ที่ต้อง การสร้างภาพพจน์ใหม่ให้เป็นสากลขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทลูกคือ ชินแซทเทล ไลท์ต้องมีการเปลี่ยนชื่อตาม

ที่น่าสนใจคือ กรณีของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร และเอฟซีบี โฮล- ดิ้ง ที่เป็นการเปลี่ยนชื่อเนื่องจากมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวโน้ม ที่จะเกิดขึ้นอีกมากกับบริษัทอื่นๆ ในอนาคต (รายละเอียดการเปลี่ยนชื่อบริษัทดูในตาราง)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us