Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 เมษายน 2550
'ผู้นำ' กับการบริหารความเสี่ยงองค์กร             
 


   
search resources

Knowledge and Theory




ผู้นำในยุคโลกกภิวัฒน์จำเป็นต้องก้าวให้ทันกับยุทธศาสตร์การบริหารที่มีเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง การสื่อสารไร้พรมแดน รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการองค์กรที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นเครื่องมือที่มาช่วยเพิ่มทั้งศักยภาพและประสิทธิภาพขององค์กร แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ท้าทายความสามารถของผู้นำในการที่จะนำพาองค์กรก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อองค์กรจึงควรได้รับความสำคัญและได้รับการบริหารในระดับกลยุทธ์ขององค์กร จะว่าไปแล้วการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ คือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี อันเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ซึ่งอีกสององค์ประกอบ คือ ความพอประมาณ และ ความมีเหตุมีผล

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการเป็นผู้บริหารองค์กรภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จึงมิได้ขัดแย้งกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะผู้บริหารภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ย่อมต้องให้ความสำคัญกับทั้งความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการบริหารความเสี่ยง โดยการคำนึงถึงศักยภาพและทรัพยากรขององค์กร ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ และไม่นำพาองค์กรไปเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถสร้างความสูญเสียให้กับองค์กรโดยไม่ได้วางแผนป้องกันหรือรองรับผลลบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร

วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงองค์กรในปัจจุบันไม่ได้เป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงขององค์กรอย่างเช่นในอดีต หากแต่เป็นไปเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร กล่าวคือ การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพย่อมสามารถช่วยลดโอกาสหรือขนาดของความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลดความผันผวนของรายได้ และส่งผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่าขององค์กรนั่นเอง

ผู้บริหารที่เข้าใจการบริหารความเสี่ยงองค์กรอย่างแท้จริงและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว จึงนับได้ว่าเป็นผู้บริหารที่สามารถดำรงบทบาทที่สอดคล้องกับความต้องการผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น เจ้าของบริษัท ได้อย่างแท้จริง

เมื่อกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงที่ผู้นำองค์กรในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเราควรให้ความสำคัญ ในปัจจุบันนี้ หลายท่านอาจนึกถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง ความผันผวนของปัจจัยทางเศรษฐกิจ สภาพการแข่งขันทางธุรกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ประเทศอินเดีย หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนาม รวมถึงความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติหรือภาวะโลกร้อน เป็นต้น

ทั้งที่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญกับประเทศกำลังพัฒนาที่ก้าวตามกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่กลับถูกมองข้าม คือ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากบทบาทของสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศผู้นำในตลาดทุนโลก เพราะเราคงจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้แสดงบทบาทผู้นำในตลาดทุนโลกอย่างชัดเจน ความเจริญก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในประเทศจีนและอินเดีย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบทบาทการเป็นผู้นำเชิงนโยบายของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกานั่นเอง

รวมตลอดจนบทบาทและอิทธิพลของประเทศสหรัฐอเมริกาในการก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศอย่าง World Trade Organization (WTO) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เดินเข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างสุดโต่งคือ ความไม่แน่นอนของการดำรงบทบาทผู้นำตลาดทุนโลกของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อไรก็ตามที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาอ่อนแอ เศรษฐกิจของประเทศที่เหลือซึ่งพึ่งพาบทบาทความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาในตลาดโลกก็จะอ่อนแอไปด้วย

ทฤษฏีการบริหารความเสี่ยงองค์กรจึงได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us