Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 เมษายน 2550
เปิดนโยบาย 'นายกฯ สปาไทย'ยกระดับ – เร่งพัฒนาองค์ความรู้             
 


   
search resources

Spa and Beauty




เร็วนี้ๆ สมาคมสปาไทยได้มีการเลือกตั้งนายกสปาไทยขึ้นเป็นครั้งที่ 3 นับแต่มีการจัดตั้งสมาคมฯ มาซึ่งในสมัยนี้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งได้แก่ "แอนดรู แจคก้า" ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจสปาไทยและเป็นผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาให้กับธุรกิจสปาสไตล์เอเชีย

กับบทบาทใหม่นี้ แอนดรู แจคก้า ให้ข้อมูล “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสปาไทยว่า ที่เน้นเป็นพิเศษคือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับพนักงานวดและผู้จัดการสปา ในเรื่องของคุณภาพพนักงานนวดและระบบการบริหารจัดการของผู้จัดการสปา

ทั้งนี้มองว่าอุตสาหกรรมสปาไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีการเติบโตและพัฒนาค่อนข้างมั่นคงและต่อเนื่อง ถ้าจะมองว่าแข็งแรงแล้วหรือไม่นั้นยังต้องมีการพัฒนา โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาธุรกิจบริการ กระทรวงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี

รวมทั้ง สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อีสเม็ด) มีการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก กรมส่งเสริมการส่งออกสนับสนุนผู้ประกอบการและผู้ผลิตโปรดักส์ที่จะร่วมแสดงงานในต่างประเทศ ซึ่งทางสมาคมฯ จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันในจุดนี้

"เรามองถึงการยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการที่ยาวนานต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2 ปีในการดำรงตำแหน่งนี้ ว่าจะเคลื่อนไปในทิศทางไหน และเน้นการฝึกอบรมใหม่ๆ ให้กับสมาชิกเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้ประกอบการ

จากนั้นจะหาโอกาสทางการตลาด ทางธุรกิจ ให้กับสมาชิกทั้งในเรื่องของพนักงานนวด สปาโปรดักส์ ผู้จัดการสปาและการส่งเสริมธุรกิจสปาไทยในต่างประเทศ กระจายข่าวสารแก่สมาชิกเพื่อต่อยอดไปยังต่างประเทศได้"

แจคก้า วิเคราะห์จุดแข็งสปาไทยว่า วัฒนธรรมไทยทำให้ผู้เข้าใช้บริการสัมผัสได้ถึงสินค้า บริการ บรรยากาศ กริยามารยาท ถ้าจะสู่สากลต้องรักษาความเป็นไทยไว้ให้คงอยู่ เพราะถ้าไม่ย้ำตรงจุดนี้ต่อไปจะเป็นการผสมระหว่างตะวันออก ตะวันตก และผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น สมุนไพรไทยเป็นจุดเด่นที่เสนอเพื่อการส่งออกได้

แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนและยังต้องพัฒนาคือ การแบ่งปันข้อมูลในอุตสาหกรรมสปาไทยด้วยกัน เพราะเทียบในต่างประเทศไทยยังไม่ได้ใหญ่มากหรือมีประวัติที่ยาวนาน แต่สามารถทำให้อุตสาหกรรมสปาเติบโตต่อไปได้ โดยการกระจายข้อมูลเพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต จะเห็นว่าในต่างประเทศจะการแชร์ข้อมูลทั้งโครงการ การทำสปาทรีตเม้นท์ โครงสร้างการให้เงินเดือน และโครงสร้างสปา เพราะไทยยังไม่มีข้อมูลกลางเหล่านี้เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสปาทั้งระบบ

ส่วนด้านการลงทุน ในฟากของนักลงทุนไทยยอมรับว่าความสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจสปาลดลง แต่ถ้าหาเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่จะนำเสนอยังสามารถลงทุนได้

สำหรับความสนใจเข้ามาลงทุนน้อยลงเกิดจาก เดิมมีสถานที่นวดจำนวนมาก แต่เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาจัดระเบียบโดยการจัดมาตรฐานสถานประกอบการเหล่านี้ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบการ ทำให้รายเดิมที่ดำเนินการอยู่ไม่ปรับมาตรฐานตามที่กำหนดต้องออกจากระบบ ส่วนรายที่เตรียมเข้ามาใหม่มองเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เป็นส่วนในการตัดสินใจเข้ามาทำธุรกิจนี้

นายกสมาคมฯ มองว่าเป็นอุปสรรคที่ดีเพื่อที่จะรักษามาตรฐานของสปาไทยไว้ แต่อย่างไรก็ตามสมาคมสปาไทยยังเป็นที่ปรึกษาหรือมีส่วนร่วมในการพิจารณากฎระเบียบต่างๆ หรืออย่างล่าสุดได้ขยายเวลาการให้บริการของสถานประกอบการจาก 22.00 น. เป็น 24.00 น. เพื่อสอดรับพฤติกรรมการเข้าใช้บริการของกลุ่มลูกค้า

ถ้ามองถึงมุมมองของนักลงทุน ซึ่งธุรกิจสปาก็เหมือนธุรกิจอื่นๆ แรกเริ่มมีความสนใจทั้งนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งต่างมองถึงดีมานด์ที่สูงแต่ทุกรายเปิดอย่างเดียวกันหมดซัปพลายก็สูงตาม จึงมีคู่แข่งในธุรกิจจำนวนมากขณะที่กลุ่มลูกค้าอยู่ในจำนวนจำกัด ซึ่งถ้ารายใดไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องก้าวออกจากการทำธุรกิจ

2 ปีที่ผ่านมาพบว่า สปาจะมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าต่างชาติ แต่ทั้งนี้กลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจะขึ้น-ลงกับสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ควรมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าชาวไทยซึ่งมีปริมาณที่มากพอ มองว่าการรักษาลูกค้าเดิมสำคัญมาก แต่การกลับมาของลูกค้าในต่างประเทศ การเข้ามาใช้บริการซ้ำเป็นไปได้ยาก ขณะที่ลูกค้าชาวไทยการเข้ามาใช้บริการซ้ำทุกสัปดาห์ความเป็นไปได้มีมากกว่า

ขณะเดียวกัน เขายังให้ข้อมูลความสนใจของนักลงทุนต่างชาติต่อการลงทุนธุรกิจสปาไทยว่า จะติดต่อขอข้อมูลเป็นระยะๆ ทั้งการเปิดสปาในไทยและเปิดในต่างชาติ และนักลงทุนหลายรายสนใจทั้งสินค้า พนักงานนวด และใช้บริการที่ปรึกษาสปา

ถ้ามองศักยภาพธุรกิจสปาในการขยายไปยังต่างประเทศทั้งเซอร์วิส สินค้า และการให้คำปรึกษานั้น มีศักยภาพทั้ง 3 ส่วน แต่ต้องพิจารณารายละเอียดในการนำเข้าสินค้า บริการ ของแต่ละประเทศเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ในฐานะนายกสมาคมสปาไทยคนล่าสุด มีมุมมองต่อนโยบายการส่งเสริมจากภาครัฐว่า อุตสาหกรรมสปาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลส่งเสริม ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมสินค้าไทยไปต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ หรือนำผู้ประกอบการต่างประเทศมาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ไทย ในแต่ละปีก็จะมีไฮไลท์ของแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไป

ข้อมูลที่สนับสนุนล่าสุด จะเห็นว่าจากการสำรวจความสนใจต่อการลงทุนในธุรกิจสปาของนิตยสารสปาเอเชีย พบว่า 83% สนใจธุรกิจสปา ฉะนั้น ภาครัฐยังต้องสนใจตัวเลขของโลกเพราะคนยังให้ความสนใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us