Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 เมษายน 2550
จับทิศทางธุรกิจ 'สปาไทย' ชี้ช่องผู้ประกอบการลดเสี่ยง             
 


   
search resources

Spa and Beauty




ธุรกิจสปาไทยจะก้าวเดินอย่างไรในปีนี้? ผู้นำแนะช่องทางธุรกิจในประเทศให้เล็งทำเลที่ยังมีช่องว่าง อย่าแข่งในสมรภูมิเดือด อานิสงส์แรงโปรโมทลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่คุมไม่ได้ สร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ขยายตลาด ชี้ชัดผู้ประกอบการสามัคคีเป็นจุดแข็งต่อการยกระดับภาพรวมธุรกิจ ผลพวงภาครัฐรุมสนับสนุนเพิ่มโอกาสเติบโตสู่อินเตอร์ฯ เบียดคู่แข่ง กระซิบดังๆ ปีนี้ระดมเพิ่มจุดแข็งต่อเนื่อง

"ในประเทศ" ต้องตั้งหลักให้ดี

อภิชัย เจียรอดิศักดิ์ เจ้าของบริษัท สปาโอเวชั่น จำกัด ในฐานะรองประธานสมาพันธ์สปาไทย กล่าวถึงแนวโน้มของธุรกิจสปาว่า สำหรับตลาดในประเทศในปีนี้มีแนวโน้มการลงทุนชะลอตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากความไม่มั่นใจซึ่งเป็นผลมาจากการเมืองโดยเฉพาะตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลครั้งล่าสุด รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงและผลกระทบต่อารมณ์ความรู้สึกตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงปีใหม่ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการที่จะลงทุนใหม่หรือรายเก่าต้องตั้งหลักให้ดี

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคในกลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว จะเห็นจากแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยเฉพาะเมืองหลัก เช่น แถบอันดามัน อ่าวไทย และเชียงใหม่ และจะเห็นได้ว่าโครงการของโรงแรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นยังคงลงทุนด้านสปาเช่นเดิม เพราะความต้องการของผู้บริโภคที่ยังมีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว เพราะฉะนั้น สปาประเภท Hotel&Resort Spa ยังคงขยายตัว แต่ Day Spa กับ Independent Spa จะชะลอลง

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของตลาดในประเทศ คือเรื่องของความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เพราะจำนวนของสปาค่อนข้างกระจุกตัวในบางทำเล เช่น กรุงเทพฯ ชั้นในกับแหล่งช็อปปิ้ง อย่าง ย่านถนนสุขุมวิทกับพหลโยธินต้นๆ ซึ่งปัจจุบันมีการปิดตัวลงหลายแห่งเพราะแข่งขันไม่ได้ แต่สำหรับกรุงเทพฯ ย่านชานเมืองและแหล่งที่อยู่อาศัยยังมีโอกาส รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวยังมีความต้องการของนักเดินทางและนักท่องเที่ยว

"สังเกตุว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการใช้สปามากขึ้น เพราะการประชาสัมพันธ์สปากำลังส่งผลช่วยสร้างให้เกิดการเปลี่ยนความคิดและไลฟ์สไตล์ใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้เดือนละ 3-4 หมื่นบาท หันมาใช้สปาเพื่อผ่อนคลายและดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น"

โดยรวมแนวโน้มของธุรกิจสปายังไปได้ดี เพราะเรื่องสุขภาพเป็นคุณค่าที่แท้จริงซึ่งผู้บริโภคได้รับ จึงไม่ใช่ธุรกิจที่เป็นไปตามกระแสหรือแฟชั่นจะเลิกฮิตง่ายๆ จากตัวเลขคนไทยใช้บริการสปาเพียง 30% ที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยว ขณะที่คนสิงคโปร์ใช้สปาถึง 80% แต่ค่าบริการที่เหมาะสมเป็นตัวแปรของจำนวนผู้บริโภค แม้ว่าปัจจุบันระดับราคามีหลากหลายอยู่แล้ว แต่มองว่าต่อไปน่าจะมีการพัฒนารูปแบบสปาใหม่เป็น "สปาโลว์คอสต์" ขึ้นมา เป็นสปาที่นำแก่นมาใช้จริงๆ นำเสนอการดูแลสุขภาพเป็นหลัก ไม่ใช่กระพี้

เสริมจุดแข็งบุก "ต่างประเทศ"

อภิชัย กล่าวถึงภาพรวมของสปาในต่างประเทศว่า สำหรับการเติบโตของสปามีการเติบโตเป็นแห่งๆ อย่างเช่น ในยุโรปจะเป็นที่รู้จักในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ส่วนตลาดใหม่ที่เพิ่งจะเกิดไม่นาน เช่น ยุโรปตะวันออก อย่าง สเปน โปรตุเกส ซึ่งในเอเชีย มีไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยเฉพาะในตะวันออกกลางกำลังเป็นตลาดใหญ่ของสปาไทยที่เข้าไปขยายฐานได้มากเพราะความมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นด้านการบริการเป็นจุดแข็ง

เพราะเมื่อเปรียบกับ "Modern Spa" ซึ่งเป็นสปาทั่วๆ ไปที่ใครๆ ก็ทำได้ แต่สปาไทยซึ่งแม้จะเกิดใหม่แต่มีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งบุคลากรและตัวสินค้า เมื่อนำศิลปวัฒนธรรม การออกแบบภายใน ของตกแต่ง และวัตถุดิบสมุนไพรต่างๆ ทำให้สามารถสร้างความแตกต่างและโดดเด่นได้อย่างดี ขณะที่คู่แข่งขัน อย่าง สิงคโปร์มีจุดแข็งด้านการบริหารจัดการก็จริงแต่ใช้บุคลากรซึ่งเป็นฐานของธุรกิจมาจากประเทศไทย ส่วนอินโดนีเซีย กับมาเลเซีย ยังมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนเท่ากับสปาไทย

นอกจากนี้ ภาครัฐยังพยายามหาโอกาสธุรกิจให้มากขึ้น อย่างเช่น กรมส่งเสริมการส่งออกมีการจัดโรดโชว์อย่างต่อเนื่องในหลายระดับทั้งระดับใหญ่และระดับย่อย ทั้งด้านบริการและตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาจัดปีละ 10 กว่าแห่งในหลายประเทศ ส่วนปีนี้จะยังทำต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วงวันที่ 10-12 เมษายนนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะนำทีมไปอินเดีย ส่วนสถานทูตไทยในต่างประเทศก็ช่วยหาลูกค้าอีกด้วย รวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ช่วยประชาสัมพันธ์และสนับสนุน และกระทรวงสาธารณสุขที่เข้ามาดูแล จึงนับเป็นข้อได้เปรียบและโอกาสของสปาไทยในการเติบโตในต่างประเทศ

"เราออกไปประกาศตัวมาหลายปีแล้ว เป็นการกระตุ้นตลาดใหม่ สร้างให้เกิดความต้องการขึ้นมา บาร์เรนห์กับดูไบเห็นได้ชัดเจนว่าเราทำได้สำเร็จ ตอนนี้เราเป็น Capital Spa in Asia นี่คือช่วงที่เราต้องสานต่อให้สปาไทยก้าวไกลยิ่งขึ้น ทั้งรับบริหารให้โรงแรมและการไปลงทุนเองให้มากขึ้น"

อย่างไรก็ตาม สปาไทยยังต้องเพิ่มศักยภาพในด้านการบริหารจัดการให้สูงขึ้น เพราะคนไทยยังขาดระบบบริหารและการปฎิบัติการที่ดี ไม่มีคู่มือที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งประสบการณ์ด้านธุรกิจระหว่างประเทศยังน้อย ทำให้การเจรจาต่อรองหรือนำเสนอธุรกิจไม่ดีเท่ากับคู่แข่ง

แต่เนื่องจากผู้ประกอบการสปามีการรวมตัวกันค่อนข้างเข้มแข็งเหนียวแน่น ในสมาพันธ์ฯ มีสมาชิก 400 กว่ารายหรือประมาณ 50%จากสปาทั้งหมด 1,000 กว่าราย และมีจำนวนผู้ใช้มากถึงปีละประมาณ 5-6 ล้านคนครั้ง ปี 2549 มีมูลค่าธุรกิจสปารวมประมาณ 8,500 ล้านบาท แบ่งเป็น บริการ 7,500 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์ 1,000 กว่าล้านบาท และการคาดว่าปี 2550 จะมีมูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้น การขอความช่วยเหลือจากภาครัฐจึงมักจะได้รับการดูแลทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ซึ่งในเร็วๆ นี้จะมีโครงการใหญ่พัฒนา Spa Operator เพื่อสกัดจุดอ่อนและเสริมเขี้ยวเล็บให้ผู้ประกอบการสปาไทย

นอกจากนี้ ภายในปีนี้จะมีการจัดอันดับสปาโดยให้ดาวเหมือนโรงแรม เพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐาน ซึ่งในส่วนของหลักเกณฑ์ได้จัดทำเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการหาเจ้าภาพมาร่วม โดยเฉพาะเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ในวงกว้างและยอมรับในตราสัญลักษณ์ ปัจจุบันมีสปา 1,000 แห่ง หากมีผู้เข้าร่วม 100-200 แห่งแรกจะช่วยกระตุ้นให้แห่งอื่นๆ มาเข้าร่วมได้ และมองว่าค่าใช้จ่ายในการวัดมาตรฐานซึ่งผู้ประกอบการสปาต้องจ่ายจะมีความเหมาะสมเพราะเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์

อภิชัยกล่าวว่า โดยสรุปแล้ว สปาไทยยังมีจุดขายที่แตกต่างและโดดเด่น แต่ผู้ประกอบการต้องรักที่จะทำธุรกิจนี้จริงๆ เพื่อจะสามารถดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เรื่องการแข่งขันเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่สามารถเกาะกลุ่มกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันและผลักดันการเติบโตในต่างประเทศ สร้างให้สปาไทยแข็งแกร่งมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us