Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 เมษายน 2550
รับมือสงครามยานยนต์             
 


   
search resources

Automotive




ขั้นตอนของการทำสงครามนับตั้งแต่ยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบันดูจะไม่แตกต่างกัน เริ่มกันตั้งแต่ขั้นตอนการระดมสรรพกำลังและอาวุธ การฝีกซ้อมเพื่อให้เกิดความเคยชินกับการสู้รบ การสะสมเสบียงเอาไว้ใช้ในยามที่ต้องทำสงคราม และมีแรงงานไม่พอเพียงสำหรับการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งทีต้องกระทำหากจะกระโจนเข้าสู่สงคราม

ทางด้านธุรกิจทั้งหลายก็เช่นกัน การที่จะกระโจนลงมาในวังวนแห่งธุรกิจก็เป็นเช่นเดียวกันกับการกระโจนเข้าสู่สงคราม แถมสงครามทางธุรกิจยังเป็นสงครามที่ยากจะจำกัดคู่ต้อสู้และสนามรบ แม้ว่าหลายครั้งหลายสงครามที่แม่ทัพนายกอง ได้กำหนดแผนการรบและกำหนดคู่ต่อสู้เอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว

แต่พอเริ่มประกาศสงคราม หรือเมื่อเริ่มเปิดตัวสินค้าเข้าสู่สนามรบหรือเข้าสู่ตลาด ผลตอบรับจากบรรดาผู้บริโภคหรือผู้ที่นั่งชม และเก็บเกี่ยวผลพลอยได้จากสงครามที่สะท้อนกลับมา กลับส่อให้เห็นว่าคู่ต่อสู้และสนามรบที่เลือกเอาไว้และเตรียมการไว้เป็นอย่างดี ถูกสถานการณ์ต่างๆทำให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างคาดไม่ถึงก็มี

นัยแห่งสงครามทางเศรษฐกิจนั้นสามารถจับตาดูได้จากการขยับปรับตัวของบรรดาสินค้าในรูปแบบหรือชนิดเดียวกัน หรือแม้แต่การขยับตัวของสินค้าที่เกี่ยวพันแต่มีอิทธิพลในเชิงการนำ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องสำคัญทั้งสิ้น เช่นหากคุณประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้กับรถยนต์ หากไม่จับตาดูการเคลื่อนไหวของตลาดรถยนต์ให้ดีและคาดเดาให้แม่นยำ โอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จก็มีอยู่สูงด้วยเช่นกัน

การขยับปรับตัวของสินค้าโดยเฉพาะสินค้ารายใหญ่ระดับผู้นำในตลาด ย่อมส่งผลกระทบไปถึงรายย่อยหรือตลาดรวมอย่างหลีกไม่พ้น ใครที่เผลอเรอหรือขาดความรู้ความเข้าใจในตลาดอย่างจริงจัง โอกาสที่จะถูกทิ้งห่างช่องว่างของตัวเลขการจำหน่ายย่อมมีมากขึ้น โอกาสที่จะพ่ายแพ้จนถึงขั้นต้องถอนตัวออกจากตลาดก็มีมากขึ้น

เป็นที่ยอมรับกันในวงการธุรกิจยานยนต์ทั่วโลกว่า โตโยต้า คือขาใหญ่หรือผู้เล่นระดับนำในตลาดทั้งตลาดโลกและตลาดประเทศไทย การขยับตัวแต่ละครั้งของ โตโยต้า จึงหมายถึงการเตรียมทำสงครามทางการตลาดที่มีผลกระทบเกิดขึ้น หรือหมายถึงการเตียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่กำลังจะมาถึง

ในตลาดยานยนต์ของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนหรือสนามรบที่มีความสำคัญ สนามรบแรกคือสนามรบด้านรถยนต์กระบะ ซึ่งมี โตโยต้า และ อีซูซุ เป็นผู้เล่นรายสำคัญ ดังนั้นหากใครไม่ต้องการตกขบวนรถก็ต้องจับตาดูการวางหมาก หรือการขยับตัวของทั้งคู่เอาไว้ให้ดี ในขณะที่ตบาดรถเก๋งนั้น โตโยต้า ดูจะทิ้งห่างรายอื่นๆไปมาก การขยับตัวของ โตโยต้า จึงมีผลต่อตัวของ โตโยต้า เอง มากกว่าที่จะเกิดผลกระทบไปสู่วงกว้าง แต่การขยับตัวของบรรดาผู้เล่นระดับรองต่างหาก ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนไหวในตลาดที่รุนแรงมากหรือน้อยตามมาได้

ในตลาดรถยนต์รวมของประเทศไทยหากมองย้อนหลังไปเพียงแค่ชั่วเวลาสองปีจะพบว่า กองทัพของ โตโยต้า นั้นเรียกระดมกำลังสำรองเข้าประจำการทำการฝึกซ้อมเตรียมทำสงครามอย่างโจ่งแจ้ง นั่นคือการประกาศรับผู้แทนจำหน่ายรายใหม่ๆขึ้นมาเป็นจำนวนมากอย่างเปิดเผย ทั้งที่ปริมาณของผู้แทนจำหน่ายและขีดความสามารถของผู้แทนจำหน่ายเดิมที่สังกัด โตโยต้า ก็อยู่ในระดับที่วางใจเชื่อมือได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว การขยายตัวเพิ่มกำลังพลครั้งนั้นจึงสร้างความฉงนฉงายให้กับหลายคน

มาถึงวันนี้จึงได้เห็นผลแห่งการขยายตัวแทนจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นจนแทบจะครอบคลุมพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ยอดจำหน่ายของโตโยต้าเพิ่มมากขึ้นในทุกตลาดอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้แทนจำหน่ายของ โตโยต้า ต่างต้องทำการแข่งขันทั้งกับคู่แข่งต่างยี่ห้อ แข่งขันกับผู้แทนจำหน่ายยี่ห้อเดียวกันรายใหม่ที่ขยับเข้ามาในพื้นที่ หรือแม้แต่ต้องแข่งขันกันกับตัวเองมากขึ้น

ในบางพื้นที่เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง นิยมพาณิชย์ ผูกสมัครรักใคร่กับ โตโยต้า มานานนับสิบปี จนไม่มีใครกล้าคาดการณ์ล่วงหน้าว่า โตโยต้า จะมีการแต่งตังคนอื่นเข้ามาทำตลาดในเขตเชียงใหม่ แต่ก็มีการแต่งตั้งกำลังทัพเข้ามาเสริมดังที่ทราบกันดี และก็ทำให้ตัวเลขการจำหน่ายของ โตโยต้า ในจังหวัดเชียงใหม่กระเตื้องขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในช่วงเวลาอันสั้น

ปลายปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน โตโยต้า ได้เปิดระดมกำลังสำรองของกองทัพธุรกิจขึ้นมาอีกหนึ่งกองพลหลัก นั่นคือการเร่งเปิดตัวธุรกิจใหม่ภายใต้ชื่อ โตโยต้า ชัวร์ ซึ่งหมายถึงการให้ผู้แทนจำหน่ายของ โตโยต้า ที่มีความพร้อม เร่งเปิดแนวขยายธุรกิจไปสู่การทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสองยี่ห้อ โตโยต้า ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดขึ้นให้แตกต่างไปจากผู้จำหน่ายรถยนต์มือสองรายย่อยอื่นๆที่มีอยู่ในตลาด แต่คงแนวคิดและรูปแบบคล้ายกันกับผู้ผลิตและจำหน่ายรถยต์รายใหญ่เคยทำกันมาเช่น สตาร์ซิตี้ ของเบนซ์, วอลโว่ ยูสด์คาร์ และ บีเอ็มดับเบิ้ลยู แอพพรูฟคาร์ เป็นต้น

ผู้คนที่อยู่ในสนามรบและคิดว่าการที่ โตโยต้า เปิด โตโยต้า ชัวร์ ขึ้นมา ก็เพียงแค่เป็นการหารายได้เสริมจากธุรกิจรถยนต์เท่านั้นพึงระวังไว้ให้ดี เพราะธุรกิจรถยนต์ใช้แล้วที่ดำเนินการโดยผู้จำหน่ายรถยนต์นั้น โดยเนื้อหาความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงกลไกอันหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมฝ่ายการตลาดและขายรถยนต์ใหม่เป็นหลัก ผลพลอยได้จากกำไรของรถยนต์มือสองเป็นเพียงเรื่องรองเท่านั้น

การเปิด โตโยต้า ชัวร์ ขึ้นมาจึงพอจะมองเค้าโครงและทางเดินได้อย่างหนึ่งว่า สองปีที่ผ่านมาที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ของโตโยต้าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าย่อมจะมีลูกค้าเดิมของโตโยต้าจำนวนไม่น้อยที่ย้อนกลับมาเป็นลูกค้าใหม่ ด้วยการเอารถยนต์ โตโยต้า คันเดิมขายออกไปหรือนำมาตีราคาแลกซื้อ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีรถยนต์มือสองออกสู่ตลาดจำนวนมากๆ ราคาของรถยนต์ยี่ห้อและรุ่นนั้นๆ ย่อมมีการเพิ่มสูงของราคาซื้อขายที่ลดน้อยลง โตโยต้า ชัวร์ จึงน่าจะเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นตัวพยุง และคอยประคองระดับราคาของรถยนต์มือสองยี่ห้อ โตโยต้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถส่งผลบวกต่อการตัดสินใจซื้อรถใหม่ยี่ห้อ โตโยต้า ได้ง่ายขึ้น

มุมมองที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันกันอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ ยุทธวิธีที่ถูกนำออกมาใช้และได้ผลอีกประการหนึ่งคือ การลดจำนวนเงินงวดแรกหรือเงินดาวน์ให้ต่ำลงมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และการลดจำนวนเงินที่ลูกค้าจะต้องจ่ายในแต่ละเดือนให้น้อยลง

การใช้กลยุทธ์ดาวน์ต่ำผ่อนนานและดอกเบี้ยน้อยอย่างนี้ เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักการตลาดรถยนต์ที่รอบคอบว่า โอกาสที่จะต้องมีการยึดรถคืนกลับมาเมื่อผ่านการซื้อขายไปได้ระยะหนึ่ง หรือโอกาสที่ลูกค้าผู้ซื้อรถไปจะตัดสินใจขายทิ้งคืนกลับมาในชั่วระยะเวลาอันสั้น ย่อมมีเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น

การเตรียมตั้งรับเพื่อพยุงราคารถมือสองในตลาด และการชะลอปริมาณการออกสู่ตลาดของรถยนต์มือสองในรุ่นและยี่ห้อเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคาในตลาดเปลี่ยนแปลงทางลบจึงต้องถูกระดมแผนการออกมาเตรียมพร้อมเอาไว้

การตั้งศูนย์รับซื้อและจำหน่ายรถยนต์มือสองเฉพาะยี่ห้อ การเอารถยนต์มือสองเฉพาะยี่ห้อมาทำการฟื้นฟูปรับสภาพโดยผู้จำหน่ายรถยนต์มือหนึ่ง แล้วจึงปล่อยกลับคืนสู่ตลาดในราคาที่แพงกว่าท้องตลาดทั่วไป เช่นที่ โตโยต้า เตรียมการในลักษณะของ โตโยต้า ชัวร์ เอาไว้

จึงเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับสงครามอีกรูปแบบหนึ่งที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ ดูหัวขบวนปรับตัวเตรียมทัพให้เห็นๆชนิด “เปิดถ้วยแทง” กันแบบนี้ ท้ายขบวนที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคาแบบเดียวกัน มีแผนสำรองฉุกเฉินเตรียมกันเอาไว้บ้างหรือยัง ถ้ายังก็เตรียม “เก็บของ” รอไว้ได้เลยครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us